สถานการณ์ SDGs ในประเทศไทย ประจำปี 2018

สถานการณ์SDGs ระดับโลกและการประเมินสถานการณ์แต่ละประเทศ มีการทำการประเมินมาเป็นปีที่ 3แล้วโดยเครือข่าย UNSDSN (UN Sustainable Development Solution Network) ร่วมมือกับมูลนิธิ Bertelsmann Stiftung วิธีการประเมินคือ ผู้ประเมินจะเลือกตัวชี้วัดเพียงบางตัวที่สื่อสารสาระสำคัญของเป้าหมายนั้นและสามารถหาข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น FAO WHO World Bank และงานวิชาการที่มีการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ จากนั้นจึงนำมาคำนวณและเปรียบเทียบกับประเทศทั้งหมดที่ทำการประเมิน เพื่อให้ได้สถานะของแต่ละตัวชี้วัด แล้วจึงนำสถานะตัวชี้วัดมาประเมินสถานะของเป้าหมาย และคำนวณคะแนนรวมของประเทศนั้น ๆ ซึ่งนำมาใช้ในการจัดลำดับ

ในปี 2018 ประเทศไทยถูกจัดอันดับเป็นอันดับที่59 จาก 156 ประเทศ ได้คะแนนรวม 69.2 คะแนน ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้64.1 คะแนน โดยเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้านี้ พบว่าประเทศไทยมีอันดับระดับใกล้เคียงกัน โดยในปี 2016 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 61 ต่อมาในปี 2017 อันดับ 55 และปี2018 อันดับ 59

ในระดับเป้าหมาย ประเทศไทยมี 2 เป้าหมายที่ถูกพิจารณาว่าบรรลุSDGs แล้ว (สีเขียว) คือ เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน และเป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน ส่วนเป้าหมายที่ความท้าทายหลักยังคงมีอยู่ (สถานการณ์วิกฤติ – สีแดง) คือ เป้าหมายที่ 2  3 9 10 13 14 และ 16 โดยเป้าหมายที่ 13 เป็นเป้าหมายที่ท้าทายและมีแนวโน้มคะแนนที่ลดลง และเป้าหมายที่ 16 มีแนวโน้มคะแนนคงที่หรือเพิ่มเล็กน้อย

sdgstatus 2018.pngสถานะ SDGs ของประเทศไทยประจำปี 2018

ที่มา: sdgindex.org

สำหรับระดับเป้าประสงค์ (Targets)นั้น ประเด็นที่ยังเป็นปัญหามากมีดังนี้

  • SDG 2 – ความชุกของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่มีภาวะแคระแกร็น คิดเป็นร้อยละ 3 ของเด็กในช่วงอายุดังกล่าว มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเพียงเล็กน้อย
  • SDG 2 – ดัชนีการจัดการไนโตรเจนอย่างยั่งยืนซึ่งสื่อให้เห็นว่าเกษตรกรไทยใช้ปุ๋ยมากเกินจำเป็นและปุ๋ยที่ใช้นำมาซึ่งผลิตภาพที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ค่าของดัชนีเท่ากับ 9
  • SDG 3 – จำนวนผู้ป่วยวัณโรค (Incidence of Tuberculosis)172 คนต่อประชากร 100,000 คน มีแนวโน้มคงที่หรือดีขึ้นเพียงเล็กน้อย
  • SDG 3 – อัตราการตายบนท้องถนน7 คนต่อประชากร 100,000 คน มีแนวโน้มคงที่หรือดีขึ้นเพียงเล็กน้อย
  • SDG 3 – อัตราการเกิดจากแม่วัยใส (Adolescent Fertility Rate)8การเกิดต่อผู้หญิงอายุ 15-19 ปี 1000 คน มีแนวโน้มที่แย่ลง
  • SDG 4 – จำนวนปีเฉลี่ยที่นักศึกษาอยู่ในโรงเรียน9 ปี แนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย
  • SDG 5 – สัดส่วนของที่นั่งของผู้หญิงในรัฐสภาคิดเป็นร้อยละ8และมีแนวโน้มแย่ลง
  • SDG 9 – สัดส่วนของประชากรที่ใช้อินเตอร์เน็ตคิดเป็นร้อยละ5และมีแนวโน้มในการพัฒนาที่ดีและจะบรรลุภายในปี 2030
  • SDG 9 – สัดส่วนรายจ่ายด้านวิจัยและพัฒนาต่อ GDPคิดเป็นร้อยละ 6
  • SDG 10 – ค่า Gini Coefficient (สะท้อนระดับความเหลื่อมล้ำ)มีค่าเท่ากับ 1 แย่ลงเมื่อเทียบกับการประเมินปีก่อน
  • SDG 11 – ค่าเฉลี่ยรายปีของความเข้มข้นของฝุ่นขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอนในเขตเมือง26.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาสก์เมตร
  • SDG 12 – สัดส่วนของน้ำเสียที่เกิดจากมนุษย์ที่ได้รับการบำบัดคิดเป็นร้อยละ 1 มีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย
  • SDG 13 – การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากพลังงานต่อประชากร6 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อประชากรต่อปี
  • SDG 13 – ดัชนีความเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้คะแนน2
  • SDG 14 – ดัชนีสุขภาพมหาสมุทร (น้ำสะอาด)ได้คะแนน3และมีแนวโน้มลดลง
  • SDG 14 – สัดส่วนของปริมาณปลา (Fish Stock) ที่ถูกจับเกินศักยภาพและอยู่สภาวะวิกฤติเนื่องจากเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone: EEZ)คิดเป็นร้อยละ 6
  • SDG 15 – การเปลี่ยนแปลงรายปีของพื้นที่ป่าลดลงร้อยละ0
  • SDG 16 – อัตราคดีฆาตกรรมต่อประชากร 100,000 คนเท่ากับ 5
  • SDG 16 – จำนวนนักโทษต่อประชากร 100,000 คนเท่ากับ 2
  • SDG 16 – ดัชนีการรับรู้เกี่ยวกับการทุจริตได้คะแนน0จาก 100

 

สำหรับระดับเป้าประสงค์ (Targets)ที่ไม่ได้อยู่ในสถานะที่เป็นปัญหาแต่มีแนวโน้มแย่ลงมีดังนี้

  • SDG 2 – ความชุกของภาวะผอมแห้ง (Wasting) ของเด็กอายุต่ำกว่า5 ปีคิดเป็นร้อยละ 7 และมีแนวโน้มแย่ลง
  • SDG 4 – อัตราการเข้าเรียนระดับประถมศึกษาสุทธิคิดเป็นร้อยละ6และมีแนวโน้มแย่ลง
  • SDG 9 – คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานในภาพรวมคะแนนเต็ม7คะแนน ประเทศไทยได้คะแนน 1 คะแนน และมีแนวโน้มแย่ลง
  • SDG 14 – ปริมาณปลาที่ถูกจับโดยการใช้อวนลากคิดเป็นร้อยละ7และมีแนวโน้มแย่ลง
  • SDG 15 – ดัชนี Red List Index of Species Survival(สะท้อนสถานะของพันธุ์สัตว์ใกล้สูญพันธุ์) (คะแนนระหว่าง 0-1) ประเทศไทยได้ 8 คะแนน และมีแนวโน้มแย่ลง
  • SDG 16 –สัดส่วนประชากรที่รู้สึกปลอดภัยเมื่อเดินเพียงลำพังยามค่ำคืนในเขตเมืองหรือพื้นที่ที่เขาอยู่อาศัยคิดเป็นร้อยละ 66 และมีแนวโน้มแย่ลง
  • SDG 16 ประสิทธิภาพการทำงานภาครัฐ (คะแนน 1-7)ประเทศไทยได้คะแนน 7 คะแนน และมีแนวโน้มแย่ลง

Author

  • Chol Bunnag

    ผู้อำนวยการศูนย์ และนักเศรษฐศาสตร์ ที่หันมาสนใจเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านมุมของกลไกการบริหารจัดการ (Governance) และนโยบายสาธารณะ (Public Policy)