โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้จัดให้มีการประชุมองค์กรและเครือข่ายภาคประชาสังคม (ภาคต่อเนื่อง) เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของภาคประชาสังคมต่อเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกครั้ง โดยการประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นในวันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2559 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ศูนย์สันติภาพและความขัดแย้ง สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และอื่นๆ ซึ่งข้อสรุปที่ได้จากการประชุมองค์กรและเครือข่ายภาคประชาสังคมนั้น อาจแบ่งออกเป็น 5 ประเด็นที่สำคัญ คือ (1) โครงสร้างการทำงานของภาคประชาสังคมต่อเรื่อง SDGs (2) กลไกการทำงานระหว่างภาคประชาสังคม ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่นๆ ต่อเรื่อง SDGs (3) รูปแบบการเปิดพื้นที่สาธารณะสำหรับการแลกเปลี่ยนแนวทาง หรือทางเลือกในการพัฒนา (4) รูปแบบการทำงานเชื่อมร้อยกับภาคประชาสังคมในแต่ละภูมิภาค และ (5) กลไกที่สามารถหนุนเสริมความเข้มแข็ง
สรุปการประชุมระดมความคิดเห็นบทบาทภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
จัดโดย โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2559 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดาวน์โหลดเอกสารสรุปการประชุม CSO forum
แบบฟอร์มการให้ข้อมูลเครือข่ายภาคประชาสังคม
สรุปประเด็นการประชุมระดมความเห็นตามวาระการประชุมของ ศ.ดร.สุริชัย หวันแก้ว
- โครงสร้างการทำงานของภาคประชาสังคมต่อเรื่อง SDGs
- เสนอให้แบ่งเป็นสองรูปแบบ คือ (1) การทำงานเชิงประเด็น เช่น ประเด็นการเกษตร ทรัพยากร ป่าไม้ สิทธิสตรี สิทธิเด็ก และอื่นๆ และ (2) การทำงานเชิงพื้นที่ โดยในแต่ละพื้นที่มีการทำงานหลายประเด็น เช่น ที่จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดกระบี่ เป็นต้น
- กลไกการทำงานระหว่างภาคประชาสังคม ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่นๆ ต่อเรื่อง SDGs
- มีการทำงานในเรื่อง SDGs กันอย่างหลากหลาย แต่ภาคประชาสังคมยังไม่มีการลงทะเบียนระบุการดำเนินงานต่อเป้าหมาย SDGs ได้อย่างชัดเจน และยังไม่มีการร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง เนื่องจากขาดแคลนข้อมูลเครือข่าย
- รูปแบบการเปิดพื้นที่สาธารณะสำหรับการแลกเปลี่ยนแนวทาง หรือทางเลือกในการพัฒนา
- มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นโดยหน่วยงานต่างๆ จากทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคม โดยมีภารกิจที่ทำให้เกิดความร่วมมืออย่างชัดเจนในระดับโลกจากการประชุม High Level Political Forum ซึ่งมีการจัดเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกรกฎาคม
- ทางสภาพัฒน์ คุณวรรณภา แจ้งว่าในวันที่ 24 -25 พ.ย. 2559 มีการจัดเวที SDG Open forum ที่จะเชิญให้ทาง CSO เข้าร่วม เพื่อสร้างการทำงานร่วมกันในการขับเคลื่อน SDG
- รูปแบบการทำงานเชื่อมร้อยกับภาคประชาสังคมในแต่ละภูมิภาค
- เป็นรูปแบบการทำงานของภาคประชาสังคมในเชิงพื้นที่ ที่มีความร่วมมือกันเองในด้านต่างๆ ระดับภูมิภาค เนื่องจากความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์ที่สืบเนื่องกับทางสังคมและเศรษฐกิจ
- กลไกที่สามารถหนุนเสริม หรือสนับสนุนให้ภาคประชาสังคม มีความเข้มแข็ง
- นอกจากการทำ Alternative Report ของภาคประชาสังคมแล้ว ควรสร้างให้เกิดระบบการทำงานที่มีตัวเชื่อมประสานในชื่อ “กลไกคู่ขนาน” โดยให้ทุกภาคส่วนที่ดำเนินการอยู่มีบทบาทในการทำหน้าที่ของตนเองอย่างต่อเนื่อง แต่มีการเพิ่มหน่วยงานประสานจุดต่างๆ อย่างเป็นระบบ ดังภาพ
ประเด็นเพิ่มเติม- ผู้เข้าร่วมที่เป็น CSO เสนอการสร้างเวทีการทำงานร่วมกันที่เน้นในระดับพื้นที่ (Collective Advocate) เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างความเข้าใจ และการสื่อสารสาธารณะที่นำไปสู่การผลักนโยบายสาธารณะ
ส่วนสรุป อ.บัณฑูร
- ให้ SDG Move เป็นคนกลางในการรวบรวมข้อมูล รายงาน และเป็นช่องทางสื่อสารการทำงานของแต่ละคณะทำงานของภาคประชาสังคม โดยในเวที SDG Open Forum ทาง SDG Move จะประสานรวบรวมรายชื่อผู้ที่จะเข้าร่วมเวทีภาคประชาสังคม ที่จัดโดยสภาพัฒน์ฯ ในวันที่ 24-25 พ.ย. โดยแบ่งตามราย P ของ 4P ที่จะจัดขึ้น
- จะมีกลไกที่เป็นทางการ ผ่านทางแนวทางการทำงานของสภาพัฒน์ฯ กับ SDG Open forum ที่จะเคลื่อนกันตามประเด็นของแต่ละคณะทำงานของภาคประชาสังคม
- SDG Open Platform ก็แล้วแต่ความพร้อมของคณะทำงานของภาคประชาสังคม โดยเริ่มต้นขับเคลื่อนตามข้อเสนอของผู้เข้าร่วม คือ 1)ทรัพยากรชายฝั่ง ดิน น้ำ ป่า 2) เกษตร และความมั่นคงทางอาหาร 3) Gender
- หัวข้อที่จะใช้ในวงคุย (SDG Open forum) ในการทำงานแต่ละคณะทำงานของภาคประชาสังคม เช่น 1) แนวทางการบรรลุที่มาจากงานวิจัย หรือข้อเสนอในพื้นที่ 2) ประเด็นบทบาทของ Stakeholders ที่เกี่ยวข้องแต่ละประเด็น 3) มาตรการการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง 4) ตัวชี้วัด 5) การติดตามและตรวจสอบ
———————————————————————