สรุปการประชุมระดมความคิดเห็นบทบาทภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคต่อเนื่อง)

 

โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้จัดให้มีการประชุมองค์กรและเครือข่ายภาคประชาสังคม (ภาคต่อเนื่อง) เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของภาคประชาสังคมต่อเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกครั้ง โดยการประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นในวันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2559 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ศูนย์สันติภาพและความขัดแย้ง สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และอื่นๆ ซึ่งข้อสรุปที่ได้จากการประชุมองค์กรและเครือข่ายภาคประชาสังคมนั้น อาจแบ่งออกเป็น 5 ประเด็นที่สำคัญ คือ (1) โครงสร้างการทำงานของภาคประชาสังคมต่อเรื่อง SDGs (2) กลไกการทำงานระหว่างภาคประชาสังคม ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่นๆ ต่อเรื่อง SDGs (3) รูปแบบการเปิดพื้นที่สาธารณะสำหรับการแลกเปลี่ยนแนวทาง หรือทางเลือกในการพัฒนา (4) รูปแบบการทำงานเชื่อมร้อยกับภาคประชาสังคมในแต่ละภูมิภาค และ (5) กลไกที่สามารถหนุนเสริมความเข้มแข็ง

สรุปการประชุมระดมความคิดเห็นบทบาทภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

จัดโดย โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2559 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดาวน์โหลดเอกสารสรุปการประชุม CSO forum
แบบฟอร์มการให้ข้อมูลเครือข่ายภาคประชาสังคม

สรุปประเด็นการประชุมระดมความเห็นตามวาระการประชุมของ ศ.ดร.สุริชัย หวันแก้ว

  1. โครงสร้างการทำงานของภาคประชาสังคมต่อเรื่อง SDGs
  • เสนอให้แบ่งเป็นสองรูปแบบ คือ (1) การทำงานเชิงประเด็น เช่น ประเด็นการเกษตร ทรัพยากร ป่าไม้ สิทธิสตรี สิทธิเด็ก และอื่นๆ และ (2) การทำงานเชิงพื้นที่ โดยในแต่ละพื้นที่มีการทำงานหลายประเด็น เช่น ที่จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดกระบี่ เป็นต้น
  1. กลไกการทำงานระหว่างภาคประชาสังคม ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่นๆ ต่อเรื่อง SDGs
  • มีการทำงานในเรื่อง SDGs กันอย่างหลากหลาย แต่ภาคประชาสังคมยังไม่มีการลงทะเบียนระบุการดำเนินงานต่อเป้าหมาย SDGs ได้อย่างชัดเจน และยังไม่มีการร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง เนื่องจากขาดแคลนข้อมูลเครือข่าย
  1. รูปแบบการเปิดพื้นที่สาธารณะสำหรับการแลกเปลี่ยนแนวทาง หรือทางเลือกในการพัฒนา
  • มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นโดยหน่วยงานต่างๆ จากทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคม โดยมีภารกิจที่ทำให้เกิดความร่วมมืออย่างชัดเจนในระดับโลกจากการประชุม High Level Political Forum ซึ่งมีการจัดเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกรกฎาคม
  • ทางสภาพัฒน์ คุณวรรณภา แจ้งว่าในวันที่ 24 -25 พ.ย. 2559 มีการจัดเวที SDG Open forum ที่จะเชิญให้ทาง CSO เข้าร่วม เพื่อสร้างการทำงานร่วมกันในการขับเคลื่อน SDG
  1. รูปแบบการทำงานเชื่อมร้อยกับภาคประชาสังคมในแต่ละภูมิภาค
  • เป็นรูปแบบการทำงานของภาคประชาสังคมในเชิงพื้นที่ ที่มีความร่วมมือกันเองในด้านต่างๆ ระดับภูมิภาค เนื่องจากความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์ที่สืบเนื่องกับทางสังคมและเศรษฐกิจ
  1. กลไกที่สามารถหนุนเสริม หรือสนับสนุนให้ภาคประชาสังคม มีความเข้มแข็ง
  • นอกจากการทำ Alternative Report ของภาคประชาสังคมแล้ว ควรสร้างให้เกิดระบบการทำงานที่มีตัวเชื่อมประสานในชื่อ “กลไกคู่ขนาน” โดยให้ทุกภาคส่วนที่ดำเนินการอยู่มีบทบาทในการทำหน้าที่ของตนเองอย่างต่อเนื่อง แต่มีการเพิ่มหน่วยงานประสานจุดต่างๆ อย่างเป็นระบบ ดังภาพbanner-cso-2ประเด็นเพิ่มเติม
    • ผู้เข้าร่วมที่เป็น CSO เสนอการสร้างเวทีการทำงานร่วมกันที่เน้นในระดับพื้นที่ (Collective Advocate) เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างความเข้าใจ และการสื่อสารสาธารณะที่นำไปสู่การผลักนโยบายสาธารณะ

    ส่วนสรุป อ.บัณฑูร

    1. ให้ SDG Move เป็นคนกลางในการรวบรวมข้อมูล รายงาน และเป็นช่องทางสื่อสารการทำงานของแต่ละคณะทำงานของภาคประชาสังคม โดยในเวที SDG Open Forum ทาง SDG Move จะประสานรวบรวมรายชื่อผู้ที่จะเข้าร่วมเวทีภาคประชาสังคม ที่จัดโดยสภาพัฒน์ฯ ในวันที่ 24-25 พ.ย. โดยแบ่งตามราย P ของ 4P ที่จะจัดขึ้น
    2. จะมีกลไกที่เป็นทางการ ผ่านทางแนวทางการทำงานของสภาพัฒน์ฯ กับ SDG Open forum ที่จะเคลื่อนกันตามประเด็นของแต่ละคณะทำงานของภาคประชาสังคม
    3. SDG Open Platform ก็แล้วแต่ความพร้อมของคณะทำงานของภาคประชาสังคม โดยเริ่มต้นขับเคลื่อนตามข้อเสนอของผู้เข้าร่วม คือ 1)ทรัพยากรชายฝั่ง ดิน น้ำ ป่า 2) เกษตร และความมั่นคงทางอาหาร 3) Gender
    4. หัวข้อที่จะใช้ในวงคุย (SDG Open forum) ในการทำงานแต่ละคณะทำงานของภาคประชาสังคม เช่น 1) แนวทางการบรรลุที่มาจากงานวิจัย หรือข้อเสนอในพื้นที่ 2) ประเด็นบทบาทของ Stakeholders ที่เกี่ยวข้องแต่ละประเด็น 3) มาตรการการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง 4) ตัวชี้วัด 5) การติดตามและตรวจสอบ

    ———————————————————————

     

Last Updated on ธันวาคม 20, 2021

Author

One thought on “สรุปการประชุมระดมความคิดเห็นบทบาทภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคต่อเนื่อง)

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น