ที่มา : prachachat.net
อ.ต.ก.จัดโครงการเมืองเกษตรสีเขียว (Green Agriculture City) ขึ้นในปี 2559 เพื่อให้ประชาชนเข้าใจโครงการเมืองเกษตรสีเขียวและเห็นความสำคัญของความปลอดภัยของสินค้าเกษตรในทุกด้านตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภค และให้เกษตรกรได้มีโอกาสนำเสนอผลผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้จากการจำหน่ายสินค้าด้วยกระบวนการและช่องทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการสร้างฐานรายได้ที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกรต่อไป
โดยหัวใจสำคัญของการพัฒนาเมืองเกษตรสีเขียว คือ 1. พัฒนาพื้นที่ให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย ปราศจากมลพิษรบกวน มีการจัดการของเสียอย่างเป็นระบบ 2. พัฒนาตัวสินค้าให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานด้านความปลอดภัย ไม่มีสารพิษตกค้าง มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต 3. พัฒนาคนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายสินค้าที่มีคุณภาพ สามารถทำการผลิต และอาศัยอยู่ในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน
“สิ่งสำคัญในการดำเนินการของแต่ละหน่วยงาน คือ การส่งเสริม สนับสนุน การให้คำแนะนำ เพื่อพัฒนากระบวนการในการทำเกษตรกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่การผลิตและการบริโภค และมีความปลอดภัย มีคุณภาพได้มาตรฐาน เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น”
ด้วยหลักการของการพัฒนาเมืองเกษตรสีเขียวจึงเป็นการพัฒนาตามเป้าหมายที่ 2 คือการบรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และที่สำคัญคือเป็นการส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ในเป้าประสงค์ที่ 2.3 2.4 2.5 2.a 2.b และ 2.c
ลิ้งค์เกี่ยวข้องที่น่าสนใจ
- โครงการเมืองเกษตรสีเขียวต้นแบบ กรมพัฒนาที่ดิน (green agriculture city)
- รายละเอียดโครงการ 6 เมืองเกษตรสีเขียวต้นแบบ กรมพัฒนาที่ดิน
- 6 เมืองเกษตรสีเขียวต้นแบบ จ.เชียงใหม่ จ.หนองคาย จ.ศรีสะเกษ จ.ราชบุรี จ.จันทบุรี จ.พัทลุง
Last Updated on มกราคม 4, 2022