Site icon SDG Move

Focus group “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน”

การประชุมกลุ่มเฉพาะ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน” ภายใต้ โครงการการปรับปรุงดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย เมื่อวันอังคารที่ 13 ธันวาคม 2559 เวลา 9:00-12.30 น. ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วยการนำเสนอในหัวข้อ “เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความสุขและประโยชน์สุขสำหรับทุกคนและประเทศชาติ” โดย ศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม และ หัวข้อ “แนวทางการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการปรับปรุงดัชนีอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย” โดย อาจารย์ ชล บุนนาค อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(ดาวน์โหลดเอกสารงานประชุม:ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน  อ.ชล บุนนาค  รายชื่อผู้เข้าร่วมงาน)

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจาเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีจิตสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล พร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว้างขวาง ทั้งทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ทั้งยังได้กล่าวถึงดัชนีความสุขของภูฏานหรือ GNH ที่ได้รับความนิยมกว่าเศรษฐกิจพอเพียง (“Gross National Happiness is more important than Gross National Product”) เนื่องจากในกรณีของภูฏานได้กำหนดให้มี “sufficiency” cutoff point คือ จุดพอเพียงที่จะช่วยไม่ให้เกิดความทุกข์ ถ้าต่ำกว่านั้นถือว่ายังมีปัญหาหรือความทุกข์ จะต้องมีนโยบายที่เข้าไปช่วยแก้ไข

ในตอนท้าย ศ.ดร อภิชัย ได้กล่าวฝากนักวิจัยและองค์กรที่ให้การสนับสนุนงานวิจัยนี้จะมีประโยชน์ถ้าหากสามารถสร้างตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงความสุขและประโยชน์สุขเข้าด้วยกัน การพัฒนาในระดับบุคคล องค์กร และประเทศชาติโดยรวม ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงได้ว่าปัญหาที่ทำให้เกิดความไม่ร่มเย็นเป็นสุขนั้นเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องใดบ้าง หรืออย่างน้อยควรจะบอกได้ว่าอะไรเป็นความทุกข์ของสังคมที่จาเป็นจะต้องแก้ไขและควรจะแก้อย่างไร เหมือนกรณีการสร้าง GNH ของภูฏาน

อาจารย์ชลได้เปิดประเด็นการพูดคุยด้วยการมองต่างมุมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง โดยการตั้งโจทย์ที่สำคัญคือ

1. การสร้างสมดุลระหว่างการพึ่งพาตนเองและฐานทรัพยากร กับการพึ่งพาตลาด
– เพราะการพึ่งพาตลาดอย่างเดียวย่อมเผชิญกับความผันผวนของตลาดทาให้ไม่มั่นคง ในขณะที่พึ่งพาตนเองและฐานทรัพยากรอย่างเดียวก็ย่อมเผชิญกับพลวัตรทางสังคมและนิเวศในท้องถิ่น

2. มิใช่การสร้าง “ชุมชน” ที่พอเพียงเท่านั้นแต่จะสร้างให้ “รัฐ” และ “ตลาด” ที่พอเพียงด้วยได้อย่างไร
– ชุมชนที่เข้มแข็งและพอเพียงเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ทุกชุมชน สังคมเมืองเองก็ยากที่จะสร้างให้เกิด “ชุมชน”
– กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชนมิได้ปฏิสัมพันธ์กับชุมชนเท่านั้น แต่กับตลาดและรัฐด้วย ต้องทาให้ทุกกลไกมีลักษณะที่ส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วย

เพื่อเป็นการท้าทายความคิดในสิ่งที่เรากำลังคิดและยึดกระทำกันอยู่ นอกจากนั้นยังได้ให้ข้อสังเกตเพื่อการปรับปรุงดัชนีอยู่เย็นเป็นสุข ดังนี้
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับประเด็นด้านคุณภาพชีวิต ในมิติต่าง ๆ ค่อนข้างครอบคลุม
•ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับประเด็นภูมิคุ้มกันทั้งจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะที่มีต่อผู้คนในระดับจุลภาคยังไม่ได้ถูกให้ความสาคัญและพิจารณาอย่างรอบด้านมากนัก
• ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับประเด็นคุณธรรม เน้นหนักที่การทุจริตคอรัปชันในภาครัฐ มีตัวชี้วัดด้านคุณธรรมที่เกี่ยวกับภาคเอกชนอยู่บ้าง และไม่พบตัวชี้วัดด้านคุณธรรมของภาคประชาสังคม/ชุมชนเลย
• ตัวชี้วัดด้านความพอประมาณ/ความมีประสิทธิภาพ ยังขาดการประเมินกลไก/กติกาของรัฐที่ส่งเสริมด้านความพอประมาณ/ความมีประสิทธิภาพด้วย
•ตัวชี้วัดด้านความมีเหตุผลและการใช้ความรู้ยังไม่พบในดัชนี
• ตัวชี้วัดดูจะมอบภาระหน้าที่ด้านความ “พอเพียง” และการสร้าง “ความอยู่เย็นเป็นสุข” ให้กับครอบครัวและชุมชนมากเป็นพิเศษ แต่ไม่ชี้วัดความพอเพียงหรือกลไกการส่งเสริมความพอเพียงจากกลไกรัฐและตลาดที่จะมีให้กับคนที่ไม่มีชุมชนหรือไม่มีครอบครัวอบอุ่น

และได้กล่าวปิดท้ายการนำเสนอไว้ว่า ดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขฯ กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีทั้งความซ้อนเหลื่อมกันอยู่และส่วนต่าง ดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขฯ ต้องการวัดระดับความอยู่เย็นเป็นสุขฯ ของสังคมในขณะหนึ่ง ๆ ในขณะที่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเน้นไปในทางองค์ประกอบและกระบวนการที่จะทาให้ชีวิตผู้คนมีความพออยู่พอกินและรับมือกับความผันผวนของโลกได้ เราควรนาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการปรับปรุงดัชนีมากน้อยเพียงใด ?

Author

Exit mobile version