มหาลัยคอกหมู-รากแก้วกสิกรรมเพื่อชีวิตที่ยั่งยืน

รับชมรายการ ปิดทองแผ่นดิน : ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง โดย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ

ดาวน์โหลดข้อมูล ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง

juthnet_mabaungnaturalagriculturecenter260141

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ว่า เศรษฐกิจของเราขึ้นอยู่กับการเกษตรมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว รายได้ของประเทศได้มาใช้สร้างความเจริญด้านต่าง ๆ เป็นรายได้จากการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจกล่าวได้ว่าความเจริญของประเทศต้องอาศัยความเจริญของการเกษตรเป็นสำคัญและงานทุก ๆ ฝ่ายจะดำเนินก้าวหน้าไปได้ ก็เพราะการเกษตรของเราเจริญ

ด้วยเหตุนี้ อาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร ผู้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท โดยรับราชการใกล้ชิดกับพระองค์ท่านฯ ในหน่วยงานสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) สำนักนายกรัฐมนตรีกว่า ๑๖ ปี ได้สัมผัสกับชีวิตของเกษตรกรในทั่วภูมิภาคของประเทศ ซึ่งได้พบกับปัญหาต่างๆ ของเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดินทำกิน ความยากจน ความรู้ในเรื่องการเกษตร ตลอดจนปัญหาสุขภาพ การศึกษา และอื่น ๆ ประกอบกับที่ได้ถวายการรับใช้พระองค์ท่าน ได้เห็นพระองค์ท่านทุ่มเทพระวรกาย กำลังทุนทรัพย์ อีกทั้งเวลาโดยส่วนใหญ่กับการพัฒนาค้นคว้าและทดลองในสิ่งต่าง ๆ ภายใต้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ทั้งการเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืช การทำนาข้าว การปรับปรุงดิน และน้ำ การศึกษาการปลูกป่า และพืชสมุนไพร การปลูกแฝก โรงสี และเทคโนโลยีชีวภาพ การวิจัยเรื่องพลังงาน และโครงการ  อื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งทรงลงมือปฏิบัติการด้วยพระองค์เอง

พระองค์ท่านทรงเน้นให้ประชาชน และเกษตรกรรู้จักพึ่งตนเอง จึงได้พระราชทานแนวคิดเรื่อง “ทฤษฎีใหม่เศรษฐกิจพอเพียง”  เพื่อเป็นหลักคิดให้กับทุก ๆ คน ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อาจารย์วิวัฒน์  ศัลยกำธร  จึงได้รวบรวมกลุ่มคนในหลาย ๆ อาชีพ ที่มีแนวคิด แนวอุดมการณ์ ในการที่จะฟื้นฟูประเทศ โดยการนำแนวคิดเรื่องทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ ให้ใช้กับการทำการเกษตร และการดำรงชีวิตให้อยู่รอดได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งการรณรงค์ให้เกษตรกรเลิกใช้สารเคมี หยุดการพึ่งพาชาติตะวันตกและหันกลับมาพึ่งพาตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่เคยสืบทอดกันมาเพื่อเน้นการทำเกษตรที่ยั่งยืนบนผืนแผ่นดินไทย

การรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาทำการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง  ตามแนวพระราชดำริฯนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติให้เกษตรกรได้เห็นจริงจึงจะเข้าใจแนวคิดในการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้องจึงเกิดขึ้น  ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการเผยแพร่แนวความคิดและดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ต่อไป

(ศูนย์การเรียนรู้จากประสบการณ์ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนี้ เป้าหมายที่ 1: ขจัดความยากจน เป้าหมายที่ 2: ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการสำหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 12: สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 13: เร่งต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น เป้าหมายที่ 15: ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟิ้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป้าหมายที่ 16: ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรมและสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผลรับผิดชอบและครอบคลุมในทุกระดับ และ เป้าหมายที่ 17: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน)

juthnet_mabaungnaturalagriculturecenter260004

วัตถุประสงค์

1.   เพื่อเป็นศูนย์ค้นคว้าวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการกสิกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์  การปศุสัตว์  การพลังงาน  การแพทย์เภสัชกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อม  โดยใช้ภูมิปัญญาตะวันออก

2.   เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรม ถ่ายทอด และเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ ให้กับเกษตรกร นักเรียนนักศึกษา ข้าราชการและประชาชน

3.    เพื่อเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบลภายใต้โครงการของกระทรวงเกษตร  และสหกรณ์

4.   เพื่อเป็นสถานที่จัดทำแปลงสาธิต ในเรื่องของการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้กับสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับพืชผักสวนครัวและนาข้าวเพื่อให้ความรู้ และเป็นแปลงตัวอย่างให้กับกลุ่มเกษตรกรในท้องถิ่นและเกษตรกรอื่นๆ ที่สนใจ

5.   เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมอุปกณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการเกษตรในอดีต  โดยจะตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ชาวนาต่อไป

6.    เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้กับผู้ที่สนใจทางด้านการเกษตรแบบธรรมชาติเข้าแวะชม  และแสวงหาความรู้

7.   เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมที่เปิดให้กับหน่วยงานองค์กรภาครัฐ  และภาคเอกชนต่างๆ  ที่สนใจใช้เป็นสถานที่จัดอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรทุกประเภท

juthnet_mabaungnaturalagriculturecenter260137

9 ฐานเรียนรู้ (ที่มา: Juth)

  1. คนรักษ์แม่ธรณี
    “…การปรับปรุงที่ดินนั้น ต้องอนุรักษ์ผิวดินซึ่งมีความสมบูรณ์ไว้ ไม่ให้ไถหรือลอกหน้าดินทิ้งไปสงวนไม้ยืนต้นที่ยังเหลืออยู่ เพื่อที่จะรักษาความชุ่มชื้นของผืนดิน…”
    พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการอนุรักษ์ดิน
  2. คนรักษ์ป่า
    “…สมควรที่จะปลูกแบบป่าสําหรับใช้ไม้หนึ่ง ป่าสําหรับใช้ผลหนึ่ง ป่าสําหรับใช้เป็นฟืนอย่างหนึ่ง อันนี้แจกออกไปเป็นกว้างๆ ใหญ่ๆ การที่จะปลูกต้นไม้ สําหรับได้ประโยชน์ดังนี้ ในคําวิเคราะห์ของกรมป่าไม้ รู้สึกว่าจะไม่ใช่ป่าไม้ จะเป็นสวนมากกว่าเป็นป่าไม้ แต่ว่าในความหมายของการช่วยเพื่อต้นน้ําลําธารนั้น ป่าไม้เช่นนี้จะเป็นสวนผลไม้ก็ตาม หรือเป็นสวนไม้ฟืน ก็ตาม นั่นแหละเป็นป่าไม้ที่ถูกต้อง เพราะทําหน้าที่ เป็นป่า คือเป็นต้นไม้และทําหน้าที่เป็นทรัพยากร ในด้านสําหรับเป็นผลที่มาเป็นประโยชน์ แก่ประชาชนได้…”
    พระราชดํารัสบางตอนเกี่ยวกับป่า 3 อย่าง โยชน์ 4 อย่าง ณ โรงแรมรินคํา จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 7 มกราคม 2523
  3. คนรักษ์น้ำ
    “…หลักสําคัญว่า ต้องมีน้ํา น้ําบริโภคและน้ําใช้ น้ําเพื่อการเพาะปลูก เพราะชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ําคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ํา คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้า คนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้า ไม่มีน้ํา คนอยู่ไม่ได้…”
    พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 17  มีนาคม 2539
  4. คนรักษ์แม่โพสพ
    “…ขอบใจที่นําสิทธิบัตรนี้ ซึ่งถือว่าเป็นการประกันว่า การข้าวไทยเป็นของไทยแท้ ซึ่งคนหนักใจว่า เราเป็น ข้าวไทยมานานแล้วจะกลายเป็นต้องไปกินข้าวฝรั่ง เพราะว่าสิทธิบัตรนี้เป็นของฝรั่ง แต่ว่ามาอย่างนี้ ก็ถือว่า เป็นว่าเราได้รับประกันว่าเราเป็นข้าวไทย และจะกิน ข้าวไทยต่อไป ฉะนั้นการที่มีสิทธิบัตรนี้ ก็เป็นสิ่งที่สําคัญ และก็หวังว่า จะต้องทุกคนจะรักษาความเป็นไทยได้ด้วย รับประทานกินข้าวไทย ไม่ต้องกินข้าวฝรั่ง…”
    พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระตําหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2552
  5. คนเอาถ่าน
    “…แต่ป่าไม้ที่จะปลูกนั้น สมควรที่จะปลูกแบบป่าสําหรับ ใช้ไม้หนึ่ง ป่าสําหรับใช้ผลหนึ่ง ป่าสําหรับใช้เป็นฟืน อย่างหนึ่ง อันนี้แยกออกไปเป็นกว้างๆ ใหญ่ๆ การที่จะ ปลูกต้นไม้สําหรับได้ประโยชน์ดังนี้ ในคําวิเคราะห์ของ กรมป่าไม้ รู้สึกว่าจะไม่ใช่ป่าไม้ เป็นสวนหรือจะเป็นสวน มากกว่าเป็นป่าไม้ แต่ว่าในความหมายของการช่วยเพื่อ ต้นน้ําลําธารนั้น ป่าไม้เช่นนี้จะเป็นสวนผลไม้ก็ตาม หรือ เป็นสวนไม้ฟืนก็ตาม นั่นแหละเป็นป่าไม้ที่ถูกต้อง เพราะ ทําหน้าที่เป็นป่าคือเป็นต้นไม้ และทําหน้าที่เป็นทรัพยากร ในด้านสําหรับเป็นผลที่มาเป็นประโยชน์แก่ประชาชนได้…”
    พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการพัฒนาป่าไม้ เมื่อปี พ.ศ. 2523
  6. คนรักษ์สุขภาพ
    “ร่างกายของเรานั้น ธรรมชาติสร้างมาสําหรับให้ออก แรงใช้งาน มิใช่ให้อยู่เฉยๆ ถ้าใช้แรงให้พอเหมาะพอดี โดยสม่ำเสมอ ร่างกายก็เจริญแข็งแรง คล่องแคล่ว และคงทนยั่งยืน ถ้าไม่ใช้แรงเลยหรือใช้ไม่พียงพอ ร่างกาย ก็จะเจริญแข็งแรงอยู่ไม่ได้แต่จะค่อยๆ เสื่อมไปเป็นลําดับ และหมดสมรรถภาพไปก่อนเวลาอันสมควร ดังนั้น ผู้ที่ ปกติทําการงานโดยไม่ได้ใช้กําลังหรือใช้กําลังแต่น้อย จึงจําเป็นต้องหาเวลาออกกําลังกาย ให้พอเพียง กับความต้องการตามธรรมชาติเสมอทุกวัน มิฉะนั้น จะเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ที่เขาจะใช้สติปัญญาความ สามารถของเขาทําประโยชน์ให้แก่ตนเอง และแก่ส่วนรวมได้น้อยเกินไป เพราะร่างกายอัน กลับกลายอ่อนแอลงนั้น จะไม่อํานวยโอกาส ให้ทําการงานโดยมีประสิทธิภาพได้”
    พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  7. คนมีไฟ
    “…น้ํามันปาล์มทราบว่าดีเป็นน้ํามันที่ดีใช้งานได้ ใช้บริโภคแบบใช้น้ํามันมาทอดไข่ได้ มาทําครัวได้ เอาน้ํามันปาล์มมาใส่รถดีเซลได้ กําลังของน้ํามันปาล์มนี้ดีมากได้ผล เพราะว่าเมื่อได้มาใส่รถดีเซล ไม่ต้องทําอะไรเลย ใส่เข้าไป แล่นไป คนที่แล่นตามบอกว่าหอมดี…”
    พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  8. คนมีน้ำยา
    “…การจะเป็นเสือนั้นไม่สําคัญ สําคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่าอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง อันนี้ก็เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอําเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก…”
    พระราชดํารัสพระราชทานแก่บุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม 2550
  9. คนติดดิน
    “…ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียงความหมายคือ ทําอะไรให้ เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง คือทําจากรายได้ ๒๐๐-๓๐๐ บาท ขึ้นไปเป็นสองหมื่น สามหมื่นบาท คนชอบเอาคําพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียงไปพูดกัน เลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือทําเป็น Self-Sufficiency มันไม่ใช่ความหมายไม่ใช่แบบที่ฉันคิด ที่ฉันคิดคือเป็น Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดูทีวี ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจํากัดเขาไม่ให้ซื้อทีวีดู เขาต้องการดูเพื่อความสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกลๆ ที่ฉันไป เขามีทีวีดูแต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า แต่ถ้า Sufficiency นั้น มีทีวีเขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มี สตางค์ไปตัดสูทใส่ และยังใส่เนคไทเวอร์ซาเช่ อันนี้ก็เกินไป…”
    พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระตําหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล 17 มกราคม 2544

Last Updated on มกราคม 4, 2022

Author

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น