เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาตัวแทนจากทีม SDGMove ได้เข้าร่วมสัมมนา นวัตกรรมด้านวิชาการและนโยบายเพื่อฝ่าข้ามความเหลื่อมล้ำ โดยในเวทีสัมนามีนักวิชาการที่มานำเสนอเรื่องน่าสนใจมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ ผศ.ดร.อรอร ภู่เจริญ
ดร.อรอร นำเสนอกรณีศึกษาเครื่องมือ นโยบายสาธารณะของทางประเทศสิงคโปร์ ผ่านหลักคิดแนวทางเรื่อง 3D คือ Design Default Deliberation ที่จะมาแทน 3P เดิม คือ Process Planning Participation โดยเฉพาะเรื่อง Planning ที่ภาครัฐมักจะใช้เวลา 90% ในการพัฒนาแผนที่สุดท้ายแล้วประชาชนไม่ได้รับผลมากนัก และเกิดผลกระทบทางลบตามมา
กรณีศึกษาที่ประเทศสิงคโปร์ ทำอย่างไรให้คนเป็นเจ้าของกับพื้นที่สีเขียวเอง ไม่ได้ทำแค่วัดผลอย่างเดียวต้องมี Expertise ที่มาร่วมออกแบบ และลองทำ Prototype เช่น เด็กก็ต้องมาลองใช้ ออกแบบตามความจำเป็นต่างๆ พวกห้องน้ำ ที่พัก ความปลอดภัย ให้โรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วม และสะท้อนผลเพื่อการปรับปรุงจากทุกภาคส่วน แล้วก็นำไปออกแบบเพิ่มเติม ปรับปรุงต่อไปเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่ครอบคลุม
หลัก Default คือ อย่างปกติในมือถือที่จะมีการตั้งค่าพื้นฐาน ที่ผู้ผลิตมีการคิดวิจัยมาแล้วจากพฤติกรรมผู้บริโภค และผู้บริโภคสามารถกำหนดได้ว่าต้องการปรับแต่งอะไรเพิ่มเติมตามความต้องการตนเองได้ แต่เมื่อReset เครื่องก็จะกลับมาเป็นค่า Default ของเครื่องตามปกติ โดยแนวคิดนี้ ทำให้รัฐเช่นกัน จำเป็นต้องกำหนดให้ประชาชนมีมาตรฐาน แนวทางปฏิบัติอะไรบางอย่าง ให้เป็น Default เช่นกัน ตัวอย่างเรื่องกองทุน CPF (Central Provident Fund) ภายใต้การดูแลของกระทรวงกำลังคน ประเทศสิงคโปร์ ที่จะบังคับอัตโนมัติให้รายได้ประชาชนเข้าสู่เรื่องการออมโดยอัตโนมัติ เพื่อพัฒนาเรื่องประกันสุขภาพ โดยที่สามารถไปซื้อประกันเพิ่มเติมได้ ซึ่งเป็นระบบ Default รูปแบบหนึ่ง นอกจากนั้นในเรื่องการให้อวัยวะ จะถือว่าเป็นการบริจาคอัตโนมัติเลยเช่นกัน แต่ใครที่ไม่อยากบริจาคสามารถ off-out จากระบบนี้ได้ ว่าไม่อยากบริจาค แต่คนก็จะไม่ค่อยอยากให้ตนเองเป็นคนไม่มีศีลธรรม ซึ่ง Default หรือเรื่องแนวทางปฏิบัติที่สร้างค่านิยมเช่นนี้ จำเป็นมากที่จะเข้าไปกำหนดให้เกิดแนวทางที่เป็นประโยชน์กับคนในประเทศ
หลักสุดท้าย เรื่อง Deliberation ต้องมีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมที่มากกว่าการทำ Participation อย่างกลุ่ม Black Box ของประเทศสิงคโปร์ ที่จะช่วยรัฐบาลทำงานวิจัย เช่น การสร้างสนามเด็กเล่นให้เด็กพิการ โดยปกติหากจัดประชุมให้อนุมัติเรื่องการสร้างสนามเด็กเล่นให้คนพิการโดยการยกมือโหวต ว่าใครส่งเสริมให้ทำสนามเด็กเล่น อาจไม่มีคนยกมือ แต่หากกระบวนการ Deliberative Process จะเริ่มที่มีการศึกษาก่อน ร่วมกันกับคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เก็บข้อมูลนำมาออกแบบ และสุดท้ายถึงจะเป็นโพลให้โหวตในตอนท้าย ว่าจะให้สร้างหรือไม่ให้สร้างสนามเด็กเล่นคนพิการ
ประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างคนให้มีแนวคิดเรื่องนี้มากขึ้นโดยเฉพาะภาครัฐ เพราะเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ที่จะสร้างความเข้าใจ ให้เขาเข้าใจ เท่าทันก่อนนำไปสู่นโยบายใดของภาครัฐ ที่จะช่วยสร้าง Default ดีๆ อะไรบางอย่าง ที่จะช่วยลดเรื่องความเหลื่อมล้ำที่กระจุกอยู่ในเมือง ผ่านแนวคิดเรื่อง 3D ที่จะเป็นแนวทางที่สร้างสรรค์และช่วยพัฒนาคนในชาติผ่านเครื่องมือนี้
สุดท้ายการใช้คำพูดง่ายๆที่สร้างความรู้สึกเท่าเทียมมากขึ้น อย่างชื่อเรียกว่า ชาวบ้าน รากหญ้า ไม่ควรเรียก แต่ควรเรียกเป็น พลเมือง ประชาชน ที่แสดงให้เห็นว่าเราเป็นกลุ่มเดียวกันทุกคน ไม่มีความแตกต่างใดๆ
— Team SDGMove
Photos from: Tripadvisor.com & ChannelNewsAsia