Site icon SDG Move

Design Default Deliberation: กรณีศึกษานโยบายสาธารณะของประเทศสิงคโปร์

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาตัวแทนจากทีม SDGMove ได้เข้าร่วมสัมมนา นวัตกรรมด้านวิชาการและนโยบายเพื่อฝ่าข้ามความเหลื่อมล้ำ โดยในเวทีสัมนามีนักวิชาการที่มานำเสนอเรื่องน่าสนใจมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ ผศ.ดร.อรอร  ภู่เจริญ

ดร.อรอร นำเสนอกรณีศึกษาเครื่องมือ นโยบายสาธารณะของทางประเทศสิงคโปร์ ผ่านหลักคิดแนวทางเรื่อง 3D คือ Design Default Deliberation ที่จะมาแทน 3P เดิม คือ Process Planning Participation โดยเฉพาะเรื่อง Planning ที่ภาครัฐมักจะใช้เวลา 90% ในการพัฒนาแผนที่สุดท้ายแล้วประชาชนไม่ได้รับผลมากนัก และเกิดผลกระทบทางลบตามมา

หลัก Design จะเน้นเรื่องการออกแบบการแทรกแซงนโยบาย (Policy Intervention) จะต้องคิดเรื่องสุ่มตัวอย่าง (Random) ที่เป็นความผันผวน การเปลี่ยนแปลง อย่างกรณีเรื่องสมาร์ทซิตี้  (Smart City) จะต้องมาจากการ Design Thinking ที่จะต้องเน้นที่ผู้บริโภคใครบ้าง ที่จะได้รับผลประโยชน์ มีความต้องการอะไร ที่ผ่านมาเป็นการออกแบบตามๆกัน เหมือนกันหมด แบบไม่เข้าใจที่มาที่ไป และไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบมากนัก (เป็นจุดขาว จุดดำ แบบนักวิชาการศึกษาพูดกัน) โดยแนวคิดนี้ ต้องนำเรื่องพลวัตร ที่จะมีเรื่องการเปลี่ยนแปลง และการกำหนดกรอบเวลาว่าเมื่อไหร่จะหมดเวลา เลิกใช้การออกแบบที่กำหนดไว้ด้วย

กรณีศึกษาที่ประเทศสิงคโปร์ ทำอย่างไรให้คนเป็นเจ้าของกับพื้นที่สีเขียวเอง ไม่ได้ทำแค่วัดผลอย่างเดียวต้องมี Expertise ที่มาร่วมออกแบบ และลองทำ Prototype เช่น เด็กก็ต้องมาลองใช้ ออกแบบตามความจำเป็นต่างๆ พวกห้องน้ำ ที่พัก ความปลอดภัย ให้โรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วม และสะท้อนผลเพื่อการปรับปรุงจากทุกภาคส่วน แล้วก็นำไปออกแบบเพิ่มเติม ปรับปรุงต่อไปเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่ครอบคลุม

เรื่อง Park Connector ในการเชื่อมเส้นทางจักรยาน ก็มีการให้อาสาสมัครช่วยกันขี่จักรยานพับได้ขี่ไปทั่ว ที่สามรรถให้ข้อมูลกับภาครัฐได้ว่า ควรปรับปรุงอะไรตรงส่วนไหน หรือแก้ปัญหาเรื่องอะไร โดยมีการสะท้อนถึงการยกจักรยานข้ามถนน พื้นที่ตรงไหนสะดวก ตรงไหนไฟไม่สว่าง ทำให้เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องการ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาได้ และทุกคนได้เข้าถึงสวัสดิการ

หลัก Default คือ อย่างปกติในมือถือที่จะมีการตั้งค่าพื้นฐาน ที่ผู้ผลิตมีการคิดวิจัยมาแล้วจากพฤติกรรมผู้บริโภค และผู้บริโภคสามารถกำหนดได้ว่าต้องการปรับแต่งอะไรเพิ่มเติมตามความต้องการตนเองได้ แต่เมื่อReset เครื่องก็จะกลับมาเป็นค่า Default ของเครื่องตามปกติ โดยแนวคิดนี้ ทำให้รัฐเช่นกัน จำเป็นต้องกำหนดให้ประชาชนมีมาตรฐาน แนวทางปฏิบัติอะไรบางอย่าง ให้เป็น Default เช่นกัน ตัวอย่างเรื่องกองทุน CPF (Central Provident Fund) ภายใต้การดูแลของกระทรวงกำลังคน ประเทศสิงคโปร์ ที่จะบังคับอัตโนมัติให้รายได้ประชาชนเข้าสู่เรื่องการออมโดยอัตโนมัติ เพื่อพัฒนาเรื่องประกันสุขภาพ โดยที่สามารถไปซื้อประกันเพิ่มเติมได้ ซึ่งเป็นระบบ Default รูปแบบหนึ่ง นอกจากนั้นในเรื่องการให้อวัยวะ จะถือว่าเป็นการบริจาคอัตโนมัติเลยเช่นกัน แต่ใครที่ไม่อยากบริจาคสามารถ off-out จากระบบนี้ได้ ว่าไม่อยากบริจาค แต่คนก็จะไม่ค่อยอยากให้ตนเองเป็นคนไม่มีศีลธรรม ซึ่ง Default หรือเรื่องแนวทางปฏิบัติที่สร้างค่านิยมเช่นนี้ จำเป็นมากที่จะเข้าไปกำหนดให้เกิดแนวทางที่เป็นประโยชน์กับคนในประเทศ

หลักสุดท้าย เรื่อง Deliberation ต้องมีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมที่มากกว่าการทำ Participation  อย่างกลุ่ม Black Box ของประเทศสิงคโปร์ ที่จะช่วยรัฐบาลทำงานวิจัย เช่น การสร้างสนามเด็กเล่นให้เด็กพิการ โดยปกติหากจัดประชุมให้อนุมัติเรื่องการสร้างสนามเด็กเล่นให้คนพิการโดยการยกมือโหวต ว่าใครส่งเสริมให้ทำสนามเด็กเล่น อาจไม่มีคนยกมือ แต่หากกระบวนการ Deliberative Process จะเริ่มที่มีการศึกษาก่อน ร่วมกันกับคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เก็บข้อมูลนำมาออกแบบ และสุดท้ายถึงจะเป็นโพลให้โหวตในตอนท้าย ว่าจะให้สร้างหรือไม่ให้สร้างสนามเด็กเล่นคนพิการ

ประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างคนให้มีแนวคิดเรื่องนี้มากขึ้นโดยเฉพาะภาครัฐ เพราะเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ที่จะสร้างความเข้าใจ ให้เขาเข้าใจ เท่าทันก่อนนำไปสู่นโยบายใดของภาครัฐ ที่จะช่วยสร้าง Default ดีๆ อะไรบางอย่าง ที่จะช่วยลดเรื่องความเหลื่อมล้ำที่กระจุกอยู่ในเมือง ผ่านแนวคิดเรื่อง 3D ที่จะเป็นแนวทางที่สร้างสรรค์และช่วยพัฒนาคนในชาติผ่านเครื่องมือนี้

สุดท้ายการใช้คำพูดง่ายๆที่สร้างความรู้สึกเท่าเทียมมากขึ้น อย่างชื่อเรียกว่า ชาวบ้าน รากหญ้า ไม่ควรเรียก แต่ควรเรียกเป็น พลเมือง ประชาชน ที่แสดงให้เห็นว่าเราเป็นกลุ่มเดียวกันทุกคน ไม่มีความแตกต่างใดๆ 

— Team SDGMove

Photos from: Tripadvisor.com & ChannelNewsAsia

Author

Exit mobile version