ด้วย สกว. ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ภายใต้คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อขับเคลื่อนงานตาม เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติให้เป็นรูปธรรม สกว. ได้สนับสนุนให้มีโครงการประสานงานการ วิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGmove) จัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน 30 เป้าประสงค์ (Targets) และสนับสนุนทุนวิจัยให้มีการศึกษาสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบท ประเทศไทยอย่างเป็นระบบภายใต้“โครงการสำรวจสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทประเทศ ไทย และทางเลือกมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ สังคม และกฎหมาย” โดยมีการประกาศโจทย์ในช่วงเดือน พฤศจิกายน และด าเนินการคัดเลือกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 จากการคัดเลือกทางโครงการ SDG Move ได้คณะนักวิจัยมาทั้งหมด 12 คณะ ทำการศึกษาสถานะของเป้าหมายที่ 1 2 4 5 7 8 9 12 13 14 15 และ 16 ซึ่งเริ่มดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา และมีกำหนดส่งร่างรายงานขั้นสุดท้ายใน เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 รวมระยะเวลาในการดำเนินการศึกษาวิจัย 5 เดือน
บัดนี้ โครงการสำรวจสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนฯ ทั้ง 12 เป้าหมาย ได้ดำเนินการมาแล้ว กว่า 3 เดือน และเพื่อให้การศึกษาสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 12 โครงการมีความครอบคลุม สมบูรณ์และถูกต้อง ทางโครงการจึงจัดให้มีเวทีการน าเสนอรายงานขั้นกลางขึ้น เพื่อให้เป็นเวทีที่คณะนักวิจัย ได้นำเสนอผลการวิจัยขั้นกลางแก่ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคส่วนต่าง ๆ พร้อมทั้งรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา เพื่อนำไปปรับใช้ในการพัฒนารายงานขั้นสุดท้ายให้มีความสมบูรณ์ ยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้โครงการวิจัยทั้ง 12 เป้าหมาย ที่ได้รับทุน นำเสนอรายงานขั้นกลาง
- เพื่อเป็นเวทีให้ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคส่วนต่าง ๆ ให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อมูลอันเป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงการวิจัยทั้ง 12 เป้าหมาย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- นักวิจัย“โครงการสำรวจสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทประเทศไทย และ ทางเลือกมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ สังคม และกฎหมาย” ทั้ง 12 เป้าหมาย ได้เผยแพร่ข้อมูลความก้าวหน้า ผลงานวิจัย
- นักวิจัย 12 คณะ ได้ข้อคิดเห็น และข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคส่วนต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาโครงการวิจัยทั้ง 12 เป้าหมาย ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
วิธีการประชุม
- การเสนอผลงาน
- ประชุมกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม คือ People (1, 2, 4 และ 5) Planet (12, 13, 14 และ 15) และ Prosperity&Peace (7, 8, 9 และ 16)
สถานที่จัดประชุม
ณ ห้องแมนดาริน ซี โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ
ห้องแบ่งกลุ่มประกอบด้วย 1) ห้องประชุมแมนดาริน ซี 2) ห้องประชุมการะเกด และ 3) ห้องประชุมบุษบา
ระยะเวลาของการประชุม
วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม 2560 เวลา 08.30 น.- 16.30 น. ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ
ผู้เข้าร่วมประชุม
นักวิจัย ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง ประมาณ 160 คน