การดำเนินการในปีที่ 2 (2561-2562) เน้นไปที่การสนับสนุนงานวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ใน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย
- การวิจัยการนำSDGsไปปฏิบัติในพื้นที่ (Localizing the SDGs)
- การวิจัยเชิงนโยบายเพื่อการบรรลุSDGs (Policy Research on SDGs – PRO SDGs)
- การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (STI for SDGs)
1) Localizing the SDGs(ปัจจุบันปิดรับข้อเสนอแล้ว)
การส่งเสริมการวิจัยด้านการนำSDGsไปปฏิบัติในพื้นที่ หรือ Localizing the SDGsนั้น มีเป้าหมายเพื่อผลิตองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบและกระบวนการ Localizing SDGs ที่มีประสิทธิผลในบริบทประเทศไทย ผ่านการทำงานของตัวกลางแบบต่าง ๆ นอกจากนี้ เรายังมุ่งให้งานวิจัยชุดนี้เป็นการค้นหาวิธีในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาของภาครัฐที่มักทำงานแบบแยกส่วน ให้สามารถทำงานอย่างบูรณาการมากยิ่งขึ้น
ลักษณะของข้อเสนอโครงการวิจัย กลุ่มนี้มี2ลักษณะ
ลักษณะที่ 1 – งานวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อถอดบทเรียนเพื่อเป็นฐานไปสู่การขับเคลื่อนในอนาคต งานวิจัยกลุ่มนี้ถูกเสนอโดยภาคประชาสังคม ทั้ง NGOsและวิสาหกิจเพื่อสังคม และภาควิชาการบางส่วน ซึ่งโดยมากผู้เสนอข้อเสนอโครงการวิจัยเหล่านี้เคยทำงานในพื้นที่นั้นหรือกับกลุ่มเป้าหมายนั้นอยู่ก่อนแล้ว และมีการดำเนินการขับเคลื่อนบางอย่างมาก่อนหน้านี้ที่มีบางส่วนประสบความสำเร็จ งานวิจัยปีแรกจึงเน้นไปที่การเรียนรู้ว่าการทำงานที่ผ่านมาสอดคล้องกับ SDGsหรือไม่ และส่วนที่สำเร็จนั้นปัจจัยความสำเร็จคืออะไร SDGs จะมาเติมเต็มในส่วนที่ยังขาดหายไปอย่างไร
ลักษณะที่ 2 – งานวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อน SDGsในส่วนนี้ทาง สกว. เลือกพื้นที่ 2 จังหวัดเป็นพื้นที่ตัวอย่างคือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดสตูล ปัจจุบันเริ่มดำเนินงานที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนไปแล้ว งานวิจัยส่วนนี้เป็นการทดลองนำ SDGsไปใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาระดับจังหวัด และใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการและแนวทางการ Localizing SDGs เสนอโดย UN Habitat ในการดำเนินการ
การดำเนินการในช่วงที่ผ่านมานั้น คือ การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการกับภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาคประชาสังคม ภาครัฐและภาคเอกชนพอสมควร และขณะนี้กำลังประสานกับทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในเขตภาคเหนือและจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในการทำงานร่วมกันเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอนตามแนว SDGsสำหรับจังหวัดสตูลยังไม่เริ่มดำเนินการ (เขียน ณ วันที่ 28 ก.ค.61)
โครงการวิจัย SDGs ต่างจากโครงการวิจัยอื่นอย่างไร
โครงการวิจัยSDGs ที่ สกว. สนับสนุนนั้นมีความแตกต่างบางประการกับงานวิจัยอื่น ๆ ของ สกว. ดังนี้
- Multi-stakeholder Action Research:เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ต้องทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ กล่าวคือ สกว. พยายามจะสนับสนุนงานวิจัยที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งการทำงานวิจัยกับทุกภาคส่วนและทำงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) จะช่วยให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเรียนรู้ไปพร้อมกันผ่านกระบวนการวิจัย นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
- SDGs Interlinkage:เป็นงานวิจัยที่ต้องเชื่อมกับมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมตามกรอบ SDGsหมายความว่า จะเป็นงานที่โฟกัสที่ประเด็นหนึ่ง ๆ อย่างเดียวมิได้ แต่ต้องเห็นความเชื่อมโยงกับประเด็นในเป้าหมาย/เป้าประสงค์อื่น ๆ ตามกรอบ SDGsด้วย การกำหนดการเชื่อมโยงลักษณะนี้น่าจะช่วยให้งานวิจัยมีลักษณะที่บูรณาการมากยิ่งขึ้น และข้อเสนอของนักวิจัยน่าจะเป็นข้อเสนอที่คำนึงถึงมิติต่าง ๆ อย่างรอบด้านแล้ว
- Baseline data and Indicators:ให้ความสำคัญกับการทำข้อมูลฐาน (Baseline) การกำหนดเป้าหมายของท้องถิ่น และการพัฒนาตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
- Area-based Sustainable Development Plan:ควรนำไปสู่แผนพัฒนาพื้นที่อย่างบูรณาการตามกรอบ SDGs ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ และปฏิบัติจริงได้
รายช่ือข้อเสนอโครงการ
- ชุดโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการภาคประชาสังคมร่วมขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการ พัฒนาท่ียั่งยืน (SDGs) – กป.อพช.
- ชุดโครงการการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาท่ียั่งยืนจากฐานรากเพื่อการ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนจนเมือง” สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
- โครงการแนวทางการประยุกต์ใช้เป้าหมายการพัฒนาท่ียั่งยืนเพื่อการพัฒนา เมืองยั่งยืนสําหรับประเทศไทย สถาบันส่ิงแวดล้อมไทย
- ชุดโครงการขับเคลื่อนและงานวิจัยถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหาปลูกพืช เชิงเด่ียวในพื้นท่ีต้นน้ํา กรณีศึกษาโมเดลแก้ปัญหาโดย บริษัท เชียงใหม่ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด
- แนวทางการพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและ ยกระดับคุณภาพชีวิต (Mae Hong Son: The Valley of Charm)
2) การวิจัยเชิงนโยบายเพื่อSDGs (Policy Research On SDGs)
การสนับสนุนงานวิจัยเชิงนโยบายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1: การเปิดรับข้อเสนอโครงการสำรวจสถานะเป้าหมายSDGs ฯ ระยะที่ 2
ส่วนที่ 2: การเปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยเชิงนโยบายเพื่อSDGs
ส่วนที่ 1 การเปิดรับข้อเสนอโครงการสำรวจสถานะเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในบริบทประเทศไทย และมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ สังคม และกฎหมาย ระยะที่ 2
การสนับสนุนส่วนนี้มีเป้าหมายเพื่อสำรวจสถานะของ SDGsที่ยังไม่ได้สำรวจให้ครบถ้วนและลงลึกถึงระดับเป้าประสงค์อย่างเป็นวิชาการและเป็นระบบ
ระยะที่ 2 นี้ ครอบคลุม 5 เป้าหมาย แต่จะให้การสนับสนุนรวมทั้งหมด 7 โครงการ ประกอบด้วย
- SDG 3: Good Health and Well-being
- SDG 6: Clean Water and Sanitation
- SDG 10: Reduced Inequality
- SDG 11: Sustainable Cities and Communities
- SDG 17: Partnership for the Goals (1): Finance and Trade
- SDG 17 Partnership for the Goals (2): Systemic Issue and Capacity Building
- SDG 17 Partnership for the Goals (3): Science Technology and Innovation
ส่วนนี้จะเปิดรับข้อเสนอราวเดือนกันยายน 2561 และขึ้นสัญญาประมาณเดือนพฤศจิกายน 2561
ส่วนที่ 2 การเปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนSDGs
การสนับสนุนส่วนนี้มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนงานวิจัยที่จะสนับสนุนการขับเคลื่อนSDGs ในประเทศไทย โดยเน้นให้เป็นข้อเสนอการวิจัยที่ออกแบบร่วมกับผู้ใช้ผลงานวิจัยด้วย
ประเภทหัวข้อที่สนใจให้การสนับสนุน
- กลไกเชิงสถาบัน (Institutional Arrangement)ระบบการจัดการ (Governance)และระบบการกำกับดูแล (Regulatory System)เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เน้นที่ระดับภูมิภาคอาเซียน และระดับชาติ
- การพัฒนาตัวชี้วัดSDGs ในระดับภูมิภาคอาเซียน และระดับชาติ และตัวชี้วัดที่เชื่อมโยงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและSDGs
- การวิจัยความเชื่อมโยงระหว่างเป้าประสงค์SDGs (SDG Interlinkages) เพื่อหาจุดคานงัดสำหรับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
- การวิจัยเพื่อทบทวน วิพากษ์และเสนอแนะนโยบายด้านความรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาควิชาการกับภาคนโยบาย (Science-Policy Interface)
- การศึกษาลงลึกในประเด็นเป้าประสงค์ที่ยังขาดข้อมูลในการเข้าใจสถานการณ์(Blind-Spot Targets)
โปรดติดตามการประกาศโจทย์เพื่อรับข้อเสนอต่อไป
3) การวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อ SDGs (STI for SDGs)*
การสนับสนุนการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อ SDGsนั้น มีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาและใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ SDGsของประเทศ รวมถึงเพื่อเป็นการดึงนักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ เข้ามาสู่การร่วมกันผลักดันเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย
ประเภทหัวข้อที่สนใจให้การสนับสนุน
- นวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน (Innovation for Transformation to Sustainability):เน้นข้อเสนอเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรม การประยุกต์ใช้นวัตกรรมที่มีอยู่หรือเทคโนโลยีที่พลิกผัน (Disruptive Technology) กับโจทย์ด้านความยั่งยืน การประเมินค่าและ/หรือประเมินผลกระทบของนวัตกรรมต่อSDGsหรือการขยายผล (Scale-up) ของนวัตกรรมนั้น สำหรับประเด็นหรือโจทย์ด้านความยั่งยืนนั้นให้ใช้เป้าประสงค์ SDG (SDG Targets)เป็นแนวทางพื้นฐานในการพิจารณาข้อเสนอ
- นวัตกรรมเพื่อการติดตามและทบทวนผลการดำเนินการSDGs (Innovation for Monitoring and Reviewing SDG Outcome): เน้นข้อเสนอเกี่ยวกับการพัฒนาและหรือประยุกต์ใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่พลิกผัน (Disruptive Technology) เพื่อติดตามและทบทวนผลการดำเนินการของ SDGs ข้อต่าง ๆ ตามกรอบตัวชี้วัดระดับโลกและระดับชาติ
โปรดติดตามการประกาศโจทย์เพื่อรับข้อเสนอต่อไป
หมายเหตุ* : การสนับสนุนในหัวข้อนี้โครงการประสานงานฯ ทำหน้าที่ในระดับต้นน้ำเท่านั้น คือ กำหนดโจทย์ หานักวิจัยและร่วมพัฒนาข้อเสนอ ส่วนกลางน้ำคือการเสนอและรับทุน และการนำไปใช้นั้น จะร่วมมือกับหน่วยงานอื่นที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยตรง