รายงานข้อมูลเชิงลึกด้านสภาพอากาศ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง Future Earth, Earth League และ World Climate Research Programme ซึ่งรวมนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยด้านความยั่งยืนล่าสุดให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนวิทยาศาสตร์และนโยบายนานาชาติ
รายงานฉบับปี 2020 ภายใต้หัวข้อ “10 ข้อมูลเชิงลึก เรื่องวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศ ปี 2020” (10 New Insights in Climate Science 2020) จัดทำโดยกลุ่มนักวิจัยชั้นนำ 57 คนจาก 21 ประเทศ โดยนำเสนอต่อ Patricia Espinosa, UNFCCC Executive เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2021 ที่ผ่านมา
10 อันดับ ข้อมูลเชิงลึกเรื่องวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศ ปี 2020 ได้แก่
- ความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับความไวของโลกต่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ว่าอุณหภูมิโลกสูงขึ้นเท่าใดเมื่อมีการปล่อยมลพิษเพิ่มขึ้น ช่วยสนับสนุนแนวคิดที่ว่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างทะเยอทะยานมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (ambitious emission cuts) เท่านั้นจึงจะบรรลุ Pasis Agreement ได้
- ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (permafrost) ที่กำลังละลาย ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่กักเก็บไว้ในอัตราที่เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้
- ป่าไม้เขตร้อนอาจถึงจุดอิ่มตัวในการช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงการทำลายป่าไม้ทำให้มีพื้นที่ดูดซับก๊าซลดลง
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้วิกฤตน้ำรุนแรงและก่อความเสียหายมากขึ้น ผลจากวิกฤตน้ำส่งผลกระทบต่อผู้คนอย่างไม่เท่าเทียมกัน โดยผู้ที่มีความเปราะบางจะได้รับผลกระทบก่อนและมากกว่าคนบางกลุ่ม
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของมนุษย์ ควรมีการสนับสนุนให้มีพื้นที่สีเขียวและสีฟ้าในนโยบายการวางผังเมือง ไปพร้อมกับการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ธรรมชาติ เพื่อประโยชน์ร่วมด้านสุขภาพจิตและสร้างชุมชนที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
- รัฐบาลไม่ได้ใช้โอกาสนี้ในการลงทุนในการฟื้นฟูจาก COVID-19 อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green recovery) ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการตาม Paris Agreement ตั้งแต่ปี 2020-2024 มีมูลค่าประมาณครึ่งหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สืบเนื่องจากการระบาดของ COVID-19
- COVID-19 และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการทำสัญญาประชาคมของโลกใหม่ เพราะความเสี่ยงข้ามพรมแดนเช่นนี้ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกับกลุ่มคนที่เปราะบางที่สุด
- การกระตุ้นเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นเฉพาะการเติบโตเป็นหลัก และความยั่งยืนเป็นรอง จะทำให้การดำเนินงานเพื่อบรรลุ Pasis Agreement ล้มเหลว
- การใช้เทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าแทนที่แหล่งพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในเมือง เป็นหัวใจสำคัญสำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน มลพิษทางอากาศและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจะเป็นประโยชน์ร่วมที่จับต้องได้ของการเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้า
- การขึ้นศาลในคดีความที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน อาจเป็นการดำเนินการที่จำเป็นเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สามารถเข้าถึงวิดีโองานเปิดตัวรายงานฉบับนี้ได้ด้านล่าง
อ้างอิง http://sdg.iisd.org/commentary/guest-articles/researchers-name-top-10-insights-from-climate-science-in-2020/
https://10nics2020.futureearth.org
Last Updated on กุมภาพันธ์ 12, 2021