ร้อยละ 50 ของประชากรประเทศออสเตรเลียเคยประสบกับการป่วยทางจิต (mental illness) ในบางช่วงเวลาของชีวิต โดยมีเด็กอายุระหว่าง 4-11 ปีประมาณ 314,000 คน หรือร้อยละกว่า 14 ที่เคยประสบความผิดปกติทางจิต (mental disorder)
มหาลัย South Australia ร่วมกับมหาวิทยาลัย Canberra ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพจิตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา Current Psychology (เผยแพร่เมื่อตุลาคม 2563) เพื่อศึกษาธรรมชาติและเงื่อนไขของสุขภาพจิต (mental health) ที่มีความซับซ้อน มีปัจจัยความเสี่ยง หรือมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป
เดิมมีการอธิบายว่าประสบการณ์และเหตุการณ์ในระยะแรกเริ่มของชีวิตหรือในวัยเด็ก มีผลต่อพัฒนาการของชีวิตเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากมีประสบการณ์ด้านลบหรือคาดการณ์ไม่ค่อยได้ (unexpected) อาจส่งผลให้มีปัญหาการป่วยทางจิต หรือความผิดปกติทางสุขภาพจิตได้ในภายหลัง ขณะที่ภูมิหลังในวัยเด็กที่มีความสุข อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และผู้คนสนับสนุน จะช่วยปกป้องเด็กเหล่านั้นไม่ให้มีปัญหาด้านสุขภาพจิต
ทว่าทีมผู้วิจัยมีสมมติฐานว่า แม้แต่เด็กที่โตมาในสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนและมั่นคง ก็ยังสุ่มเสี่ยงต่อการเผชิญกับความกังวลใจ (anxiety) โรคซึมเซร้า (depression) และอาการหวาดระแวง (paranoia) ได้ในวัยผู้ใหญ่ จึงต้องค้นหาปัจจัยอื่น ซึ่งน่าจะเป็นเรื่อง “ความสามารถในการปรับตัว” ในกรณีที่ไม่คาดคิดหรือเมื่อการคาดหวังไม่เป็นไปตามหวังที่นำมาซึ่งความทุกข์ และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต ซึ่งจากข้อสมมติฐานดังกล่าวทางทีมผู้วิจัยจะทำการศึกษาต่อไป
ดังนั้น ถ้าวัยเด็กสามารถเรียนรู้ที่จะปรับตัว เปลี่ยนแปลง จัดการกับทุกสิ่งเมื่ออะไรไม่เป็นดั่งหวัง เด็กที่โตไปเป็นผู้ใหญ่ก็จะอยู่ในจุดสามารถรับมือกับความเครียดและมีภูมิคุ้มกันจากปัจจัยความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตได้ – ซึ่งประเด็นเรื่องสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี เป็นหนึ่งในเป้าประสงค์ของ #SDG3
แหล่งที่มา:
https://www.news-medical.net/news/20210208/Happy-and-secure-childhood-does-not-always-guarantee-for-good-mental-health.aspx
https://link.springer.com/article/10.1007/s12144-020-01062-y
#SDGWatch #HealthandWellbeing #SDG3
Last Updated on กุมภาพันธ์ 15, 2021