รัฐเท็กซัสต้องเผชิญกับภัยพิบัติร้ายแรงจากอากาศหนาวที่สุดในรอบกว่า 30 ปี ซึ่งเป็นผลจากมวลอากาศหนาวจากขั้วโลก (Arctic outbreak) ทะลักเข้าสู่สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อน ทำให้เกิดพายุหิมะถล่มพื้นที่รัฐเท็กซัสซึ่งมีภูมิประเทศบางส่วนเป็นทะเลทรายเป็นครั้งแรก พายุหิมะครั้งนี้ทำให้อุณหภูมิในพื้นที่ลดต่ำลงถึง -18 องศาเซลเซียส อากาศหนาวจัดทำให้โรงงานไฟฟ้าหลักของรัฐไม่สามารถทำงานได้ ส่งผลให้ประชากรเกือบ 4 ล้านคนไม่มีไฟฟ้าและเครื่องทำความร้อนใช้ รวมถึงประสบปัญหาไม่มีน้ำสะอาดใช้ เนื่องจากระบบประปาได้รับความเสียหายจากน้ำที่กลายเป็นน้ำแข็งและทำให้ท่อประปาบางส่วนระเบิด ส่งผลให้มีผู้เสีย
สภาพภูมิอากาศสุดขั้ว (extreme weather) นี้เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อชีวิตประชาชนหากเมืองไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือผลกระทบที่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นนี้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลของกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกาที่เผยแพร่ในเดือนกันยายน 2020 พบว่า มีเหตุการณ์ไฟฟ้าดับที่สาเหตุมาจากสภาพอากาศเพิ่มขึ้น 67% นับตั้งแต่ปี 2000 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้เกิดคลื่นความร้อน พายุฤดูหนาว และเฮอริเคนที่รุนแรงมากขึ้นในทศวรรษต่อๆ การดำเนินการเพื่อรับมือผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศนี้เป็นเรื่องที่รออีกไม่ได้
ปัญหาด้านพลังงานเป็นอันตรายต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ คนยากจน ผู้พิการมากที่สุด เมื่อ PG&E บริษัทผลิตไฟฟ้าใหญ่สุดของสหรัฐฯ เริ่มปิดระบบไฟฟ้าล่วงหน้าในช่วงฤดูไฟป่าเมื่อปี 2019 เพื่อความปลอดภัย ทำให้ผู้พิการจำนวนมากต้องตกอยู่ตกอยู่ในสถานการณ์ที่มีความสุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพ หลังจากไม่มีไฟฟ้าจ่ายให้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น และยารักษาโรคที่ต้องแช่ตู้เย็นเริ่มเสื่อมคุณภาพ ในปี 2020 เมื่อคลื่นความร้อนจากไฟป่าทำให้ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างในรัฐแคลิฟอร์เนีย โรงบำบัดน้ำเสียในโอ๊คแลนด์ไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็น แรงงานผิวสีในพื้นที่ใกล้โรงบำบัดต้องเลือกระหว่างเปิดหน้าต่างที่พักเพื่อบรรเทาความร้อน หรือปิดหน้าต่างเพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นจากน้ำเสียกว่า 50,000 แกลลอนที่ไหลลงในอ่าวใกล้เคียง ในทำนองเดียวกันกับเหตุการณ์พายุหิมะถล่มในรัฐเท็กซัส ผู้คนที่อยู่ในย่านที่ยากจนที่สุดจะได้รับผลกระทบเป็นกลุ่มแรก และในระดับรุนแรงที่สุดเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับเป็นเวลานาน
เพื่อแก้ไขปัญหานี้ นักวิทยาศาสตร์และกลุ่มนักเคลื่อนไหวเสนอให้มีการพัฒนาระบบไฟฟ้าแบบกระจายอำนาจมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนสามารถสร้างและจัดเก็บพลังงงานจากแหล่งพลังงานสะอาดไว้ใช้ได้ด้วยตนเองหากเกิดเหตุฉุกเฉิน และสนับสนุนให้รัฐลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยให้แต่ละพื้นที่สามารถแบ่งปันแหล่งพลังงานกันในเมื่อเกิดภัยพิบัติเช่นนี้
สภาพอากาศที่หนาวจัดอย่างผิดปกติในครั้งนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในสหรัฐฯ แล้วเกือบ 60 ราย โดยมีสาเหตุจากอาการช็อกเนื่องจากอุณหภูมร่างกายต่ำกว่าปกติ และจากการสูดก๊าซคาร์บอกมอนอกไซด์เนื่องจากกการติดเครื่องยนต์รถและเครื่องปั่นไฟเพื่อสร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย ยังมีรายงานผู้เสียชีวิตจากไฟไหม้จากการก่อไฟเพื่อบรรเทาความหนาวอีกด้วย
'ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาเมืองที่ไม่พร้อมรับมือกับภัยพิบัติ เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 11 ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน และ เป้าหมายที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น'
อ้างอิง
https://www.theguardian.com/environment/2021/feb/19/power-outages-texas-california-climate-crisis
https://www.bbc.com/thai/international-56139436
https://time.com/5940491/texas-power-outage-climate/