การศึกษาเดิมชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของ ‘สุขภาพจิต’ (mental health) กับ ‘สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด’ (cardiovascular health) โดยให้ความสนใจไปที่ปัจจัยเสี่ยงอย่างการมีอารมณ์ด้านลบหรือโรคซึมเศร้า ทำให้ในบางกรณีของการรักษาโรคหัวใจมีการรักษาโรคซึมเศร้าร่วมด้วย
ทว่าจุดบอดของการรักษา ‘กลุ่มโรคซึมเศร้า’ (major depressive disorders) พ่วงกับคนไข้โรคหัวใจที่สัมพันธ์กันเพียง 15% ไม่อาจครอบคลุมคนไข้โรคหัวใจทั้งหมดที่ไม่เข้าข่ายโรคซึมเศร้าได้ บทบาทของ ‘จิตแพทย์’ จึงมีความท้าทายขยายออกไปเพื่อรักษาคนไข้โรคหัวใจทั้งที่มีและไม่มีโรคซึมเศร้า เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพกาย สภาพจิตใจ และอารมณ์ที่ดีขึ้น
‘สุขภาวะหรือความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being)’ เป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญของการเสริมสร้างการมีสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดที่ดี ส่งผลสัมพันธ์ทั้งในมุมชีวภาพ (ปราศจากโรคหัวใจ) และพฤติกรรมทางกายภาพ (การหันมารับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ไปจนถึงการหยุดสูบบุหรี่)
โดยบทบาทการรักษาและบำบัดของจิตแพทย์อย่างผสมผสานแบบ ‘การแทรกแซงทางจิตวิทยาเชิงบวก’ (Positive Psychology Interventions) ได้รับความนิยมมากขึ้นและเกี่ยวข้องกับ ‘สุขภาวะทางจิต’ (Mental Well-being)’ ที่ดี นอกเหนือจากสุขภาวะในมิติทางกาย ทางสังคม และทางปัญญา โดยเป็นการช่วยลดความเครียด ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและสงบ ให้ตระหนักถึงความเข้มแข็งของตวเอง เลือกมองโลกในด้านดีและรู้สึกขอบคุณ รู้สึกถึงการมีเป้าหมายในชีวิต ไปจนถึงปรับเปลี่ยน ‘พฤติกรรมสุขภาพ’ (Health Behavior) ให้รักและดูแลสุขภาพ อาทิ การหันมาใส่ใจกับการออกกำลังกาย ซึ่งล้วนมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดและรักษาโรคหัวใจ และในท้ายที่สุดเป็นการลดจำนวนคนไข้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วย
‘#SDG3 สุขภาพและสุขภาวะที่ดีสำหรับทุกคนในทุกวัย เป้าประสงค์ที่ 3.4 พูดถึงการป้องกันโรคไม่ติดต่อ การสนับสนุนสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี’
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมที่:
SDG Updates | “Good Health and Well-being: เมื่อนิยามของสุขภาพดี’ ไม่ได้หยุดอยู่แค่ร่างกายแข็งแรง”
แหล่งที่มา:
https://www.psychiatrictimes.com/view/positivism-heart-health-issues-for-psychiatrists
#SDGWatch #HealthandWellbeing #SDG3