Site icon SDG Move

การใส่ใจออกแบบนวัตกรรมจะช่วยลด ‘มลพิษทางเสียง’ ที่กระทบสัตว์น้ำและระบบนิเวศในมหาสมุทร

‘มลพิษทางเสียง’ เป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเล ถิ่นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร และระบบนิเวศในมหาสมุทร กระทบกับการทำงานตามปกติของร่างกายของสัตว์ทะเลไปจนถึงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างการสืบพันธุ์หรือการล่าเหยื่อ ซึ่งส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพและจำนวนประชากร

แต่ถึงกระนั้น มลพิษทางเสียงทั้งจากการขนส่งของเรือสินค้า การขุดเจาะน้ำมัน การทำประมงที่มีการระเบิดในทะเล รวมถึงโครงสร้างการจราจรทางบกและชายฝั่ง ล้วนมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ดังนั้น จึงสามารถลดผลกระทบจากการจราจรทางน้ำ อาทิ ด้วยการเปลี่ยนเส้นทางไม่ให้ผ่านพื้นที่สัตว์น้ำใกล้สูญพันธุ์ หรือการเดินเรือที่ใช้ความเร็วช้าลงในบางพื้นที่ รวมถึงพัฒนาออกแบบเทคโนโลยีและนวัตกรรม อย่างการออกแบบใบพัดเรือใหม่จากเดิมที่เป็นแหล่งเพาะมลพิษทางเสียงกว่า 85% ให้สามารถช่วยลดปริมาณมลพิษทางเสียงได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าการกำจัดมลพิษและขยะของเสียประเภทอื่น

ภาพจาก ngthai.com

ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงบริบทของการจราจรทางน้ำ ประเภทของเรือ และโครงสร้างพื้นฐาน ภูมิทัศน์ของมหาสมุทรและชีวิตสัตว์ทะเล ตลอดจนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถใช้งานได้จริงอย่างกว้างขวางในราคาถูก และที่สำคัญควรต้องมีนโยบาย กฎระเบียบ และแนวปฏิบัติฟื้นฟูสุขภาพและภูมิทัศน์ทางเสียง (soundscape) สนับสนุนด้วย

‘#SDG14 การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน ซึ่งมีการพูดถึงการลดมลพิษทางทะเลทุกประเภท และการปกป้องระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง’

แหล่งที่มา:

https://www.scientificamerican.com/article/a-few-fixes-could-cut-noise-pollution-that-hurts-ocean-animals/
https://www.greenery.org/articles/special-soundscape-ocean-noise/

#SDGWatch #ihpp #SDG14

Author

  • Editor | อยากรู้ความคิดของคนต่างพื้นเพ ต่างสังคมและวัฒนธรรม สนใจความเป็นไปของโลก ความมั่นคง และการพัฒนา แล้วนำมาถ่ายทอดร้อยเรียงเรื่องราวเล่าให้ฟัง

Exit mobile version