3 มีนาคม 2564 วันการได้ยินโลก – เมื่อประชากรโลก 1 ใน 4 อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินภายในปี 2593

‘การได้ยินสำคัญต่อการใช้ชีวิตของคนตลอดทั้งชีวิต – การสื่อสาร การเรียน การทำงาน รวมไปถึงสุขภาพจิตและความสัมพันธ์กับผู้อื่น – การสูญเสียการได้ยินสามารถป้องกันและรักษาได้ แต่หากไม่มีการเร่งแก้ปัญหา ภายในปี 2593 ประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรโลกหรือประมาณ 2.5 พันล้านคนเผชิญกับปัญหาการสูญเสียการได้ยิน’

วันนี้ (3 มีนาคม 2564) เป็น ‘วันการได้ยินโลก (World Hearing Day)’ พร้อมกับที่องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยแพร่รายงานฉบับแรกของโลกเรื่องการได้ยิน (World Report on Hearing) รณรงค์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ครอบคลุมประเด็นสุขภาพหูและการได้ยิน ให้ประเทศต่าง ๆ ผนวก ‘การดูแลหูและการได้ยินโดยมีคนเป็นศูนย์กลาง (People-centered ear and hearing care: IPC-EHC)’ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนสุขภาพระดับชาติ

เพราะประเทศต่าง ๆ ยังอาจไม่มีทรัพยากร การให้บริการด้านสุขภาพที่ครอบคลุมกับประชาชนกลุ่มนี้ อาจไม่มีการวินิจฉัยหรือมีข้อมูลเพียงพอที่จะนำไปสู่การรักษา รวมทั้งอาจไม่มีกำลังคนทั้งบุคลากรทางการแพทย์และภาคส่วนอื่น อาทิ ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ และนักโสตสัมผัสวิทยา (audiologist) ที่จะรองรับและอำนวยความสะดวกให้กับประชากรที่ประสบปัญหานี้

โดยเฉพาะประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางควรให้ความใส่ใจ ด้วยการตระหนักรู้ของคนในสังคม ทรัพยากร โครงสร้างพื้นฐาน และการให้บริการสุขภาพอาจยังไม่ครอบคลุมประชากรทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่มีปัญหาการสูญเสียการได้ยิน

‘เมื่อวินิจฉัยว่ามีภาวะเรื่องการได้ยินดังกล่าว การช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention) เป็นหัวใจสำคัญ’

แม้การรักษาทางการแพทย์สามารถรักษาโรคที่เกี่ยวกับหูได้เกือบทั้งหมด แต่กับกรณีการได้ยิน เมื่อสูญเสียไปแล้วก็ไม่สามารถนำกลับมาได้ การฟื้นฟู (rehabilitation) จึงสำคัญเพราะเป็นการช่วยป้องกันผลกระทบด้านลบจากการสูญเสียการได้ยิน โดยมีทางเลือกที่หลายทางอย่างการนำเทคโนโลยีเพื่อช่วยการได้ยินมาใช้ อาทิ เครื่องช่วยฟัง (Hearing aids) และประสาทหูเทียม (Cochlear implant) โดยต้องมีหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเสมอภาค รวมไปถึงการให้บริการอื่นสำหรับคนหูหนวกอย่างการแปลภาษามือ (sign language interpretation) และการแทนที่ของระบบสัมผัส (sensory substitution) เช่น การอ่านเร็ว เป็นต้น

เข้าถึง Key Facts : Deafness and hearing loss

#SDG3 สุขภาพและสุขภาวะที่ดี

ติดตามกิจกรรมรณรงค์สุขภาพหู ‘Hearathon 2021’ ที่:
https://www.facebook.com/Hearathon2021/

แหล่งอ้างอิง:
https://www.who.int/activities/highlighting-priorities-for-ear-and-hearing-care?utm_source=miragenews&utm_medium=miragenews&utm_campaign=news
https://www.who.int/news/item/02-03-2021-who-1-in-4-people-projected-to-have-hearing-problems-by-2050?utm_source=miragenews&utm_medium=miragenews&utm_campaign=news
https://news.un.org/en/story/2021/03/1086212?utm_source=miragenews&utm_medium=miragenews&utm_campaign=news

#SDGWatch #HealthandWellbeing #WorldHearingDay2021 #SDG3

Last Updated on มีนาคม 3, 2021

Author

  • Thiraphon Singlor

    Editor | อยากรู้ความคิดของคนต่างพื้นเพ ต่างสังคมและวัฒนธรรม สนใจความเป็นไปของโลก ความมั่นคง และการพัฒนา แล้วนำมาถ่ายทอดร้อยเรียงเรื่องราวเล่าให้ฟัง

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น