หลักสูตร Gender Equality in Transportation จะทำให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการพัฒนาการขนส่งที่มองผ่านเลนส์เรื่องเพศ โดยเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เป็นประโยชน์เพื่อเพิ่มความครอบคลุมและความเท่าเทียมในภาคขนส่ง ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนการวางแผนการขนส่งแบบเดิมๆ ที่ “มืดบอดด้านเพศ” หรือมีวางแผนอย่างไม่คำนึงถึงความต้องการและเงื่อนไขของผู้ใช้ที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะเด็กและผู้หญิง
อุปสรรคในการเคลื่อนที่เคลื่อนย้ายของผู้หญิง ทำให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานยากขึ้น ส่งผลกระทบอย่างมากต่อศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ
นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นความยากลำบากที่ผู้หญิงต้องเผชิญในการเข้าทำงานและไต่ต้าวด้านอาชีพในภาคการขนส่ง ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีผู้ชายเป็นส่วนใหญ่
หลักสูตรนี้จะแบ่งปันแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรมซึ่งออกแบบมาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงภาคขนส่งให้ไปสู่ความเท่าเทียมทางเพศมากขึ้น โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้ว่า:
- เราจะใส่ประเด็นเรื่องเพศในการขนส่งเข้าไปในบริบทการพัฒนาอย่างไร
- ใครจะได้รับประโยชน์จากความเท่าเทียมทางเพศในการขนส่ง
- ระบบขนส่งสามารถเพิ่มความคล่องตัวในการขนส่งและเคลื่อนย้ายของผู้หญิงและเด็กผู้หญิงได้อย่างไร
- ผู้หญิงจะมีส่วนร่วมในงานภาคการขนส่งได้มากขึ้นอย่างไร
- ความท้าทายและโอกาสในอนาคตในประเด็นเรื่องเพศและการขนส่ง
หลักสูตร Gender Equality in Transportation เหมาะสำหรับผู้มีความรู้พื้นฐานเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และจะเป็นประโยชน์ต่อผู้กำหนดนโยบายและผู้ผลักดันการพัฒนาในประเด็นเรื่องเพศ โดยเปิดให้เรียนได้ตลอดทั้งปีและมีการวัดผลความรู้ผู้เรียนด้วยควิซเมื่อจบหลักสูตร
ลงทะเบียนเรียนได้ฟรี ที่ https://trainingcentre.unwomen.org/portal/product/gender-equality-transportation/
ความเท่าเทียมทางเพศในภาคขนส่ง เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิงทุกคน และ เป้าหมายที่ 11 ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน เป้าประสงค์ที่ 11.2 จัดให้ทุกคนเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืน เข้าถึงได้ปลอดภัย ในราคาที่สามารถจ่ายได้พัฒนาความปลอดภัยทางถนน ขยายการขนส่งสาธารณะและคำนึงถึงกลุ่มคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง ผู้หญิง เด็กผู้พิการ และผู้สูงอายุ ภายในปี 2030
Last Updated on มีนาคม 10, 2021