ประชากรที่อยู่ทำงานในภาคการเกษตร 2.5 พันล้านคนทั่วโลก ที่ส่วนใหญ่เป็นประชากรที่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ต่ำ ต้องเผชิญกับความเสี่ยงมหันต์จากภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายต่อผลผลิตอาหาร ทำลายชีวิตและการดำรงชีพของผู้คน ข้อมูลที่มีแสดงให้เห็นว่าภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นและรุนแรงมากขึ้นกลายเป็นความปกติใหม่ที่โลกต้องเผชิญ
รายงานดิจิทัลจาก องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) “Damage and Losses in Agriculture 2021” แสดงข้อมูลว่าภัยพิบัติทั้ง ภัยแล้ง อุทุกภัย พายุ แมลงศัตรูพืชและโรคระบาด และไฟป่าที่สร้างความเสียหายในภาคการเกษตรทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและโภชนาการอย่างไร เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อสร้างระบบการเกษตรที่ความสามารถในการฟื้นตัวจากภัยพิบัติ โรคระบาด และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในภาคการเกษตรเป็นกุญแจสำคัญในการขจัดความยากจน ยุติความหิวโหย และบรรลุความมั่นคงทางอาหารโลก
ผู้อ่านสามารถจะได้รับข้อมูลสรุป ภัยพิบัติและผลกระทบทางเศรษฐกิจ และ ภัยพิบัติและผลกระทบทางโภชนาการ และสามารถรับฟังบทสัมภาษณ์จากเกษตรกรในพื้นที่เพิ่มเติม รวมถึงเปิดเสียงประกอบเพื่อเพิ่มประสบการณ์ในการรับข้อมูลได้
เข้าถึง รายงานดิจิทัล “Damage and Losses in Agriculture 2021”
เนื้อหาดังกล่าวโดยเป็นส่วนหนึ่งของรายงานฉบับเต็ม FAO: The impact of disasters and crises on agriculture and food security: 2021 ซึ่งเผยแพร่อย่างเป็นทางการเมื่อ 18 มีนาคม 2021
ภัยพิบัติในภาคการเกษตร เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน, เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน และเป้าหมายที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น
Last Updated on มกราคม 12, 2022