สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (The Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights: OHCHR) และโครงการด้านสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (UN Environmental Programme: UNEP) ร่วมกันประกาศ 10 Key Messages เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของพันธกรณีและความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ เช่น ภาคธุรกิจเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบร้ายแรงที่เกิดจากสารอันตราย
วงจรของสารเคมีอันตรายส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการใช้สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน รวมถึงสิทธิในการมีชีวิต อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ และการมีมาตรฐานสูงสุดด้านสุขภาพ อาหาร น้ำสะอาดและสุขอนามัย และที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะปัญหามลพิษที่เป็นสาเหตุใหญ่ที่สุดของการเสียชีวิตก่อนวันอันควรของประชากรในประเทศกำลังพัฒนา ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า HIV/AIDS วัณโรคและมาลาเรียรวมกันถึงสามเท่า และส่งผลกระทบรุนแรงกว่าต่อกลุ่มคนเปราะบาง
ในเอกสารยังเรียกร้องให้มีการบังคับใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่สร้างผลกระทบร้ายแรงจากสารอันตรายจะต้องรับผิดตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังขอให้มีมาตรการเพื่อป้องกันผลกระทบที่เป็นอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
โดย 6 Key Messges หลักในเอกสาร มีดังนี้
- สร้าง“ สิ่งแวดล้อมปลอดสารพิษ” สำหรับคนปัจจุบันและคนรุ่นต่อไปในอนาคต
- สร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันและต่อสู้กับอันตรายจากการสัมผัสสารอันตราย
- ป้องกันการสัมผัสสารอันตรายจากกิจกรรมทางธุรกิจ
- รับประกันว่าทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสารอันตรายได้
- สร้างความมั่นใจว่าทุกคนมีการส่วนร่วมที่มีความหมายและมีข้อมูลในกระบวนการตัดสินใจ และ
- สร้างความมั่นใจในความรับผิดชอบและการบรรเทาความเสียหายที่เกิดจากสารอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพ
เข้าถึง Publication: Human Rights and Hazardous Substances: Key Messages
อันตรายจากสารเคมีอันตราย เกี่ยวข้องกับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย ในเป้าประสงค์ 3.9 ลดจำนวนการตายและการเจ็บป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากมลพิษและการปนเปื้อนทางอากาศ น้ำ และดิน ให้ลดลงอย่างมาก ภายในปี 2030
ที่มา: SDG Knowledge Hub
Last Updated on มีนาคม 19, 2021