Global Tuna Alliance ย้ำความร่วมมือและวิสัยทัศน์ที่รับผิดชอบร่วมกันจะทำให้ทะเลไม่บอบช้ำและมีทูน่าพอสำหรับโลก

ด้วยความที่ทูน่าสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากวิธีทำให้เป็นที่ต้องการทั่วโลก ซึ่งไม่เพียงเป็นอาหารทะเลยอดนิยมเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศทางทะเลด้วย

ทว่าความต้องการจำนวนมากนำมาซึ่งการแข่งขันการทำประมงทูน่า สังเกตได้จากการที่ไม่จำกัดพื้นที่การจับทูน่าที่ย่อมสุ่มเสี่ยงต่อการประมงที่มากเกินกำลังการผลิต (overfishing) ซ้ำการขาดมาตรการอนุรักษ์ทูน่าจะยิ่งทำให้เกิดภาวะไร้การควบคุม (unregulated) การบริหารจัดการประมงปลาทูน่าดังกล่าวมีปัญหามาก เพราะคำนึงถึงเรื่องของ ‘เงินทุน’ ซึ่งหน้ามากกว่า‘ความยั่งยืน’ ของสิ่งแวดล้อมระยะยาว ขณะที่การทำประมงอวนลากมักได้สัตว์น้ำรวมถึงลูกปลาที่นอกเหนือไปจากทูน่าด้วย เป็นผลพลอยได้ทางการประมงที่ไม่ส่งผลดีนักต่อท้องทะเล

Global Tuna Alliance จึงได้พัฒนา ‘2025 Tuna Alliance towards Sustainable Tuna (25PST)’ เป็นกรอบการทำงานระดับโลกที่สนับสนุนให้บรรดาบริษัทในห่วงโซ่การผลิตตระหนักถึงปัญหาและลงมือให้มีการบริหารจัดการทูน่าและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนขึ้นภายในปี 2568 รวมทั้งสนับสนุนให้รัฐบาลและภาคประชาสังคมลงนามแล้วนำไปผลักดัน ผ่าน 3 หัวใจสำคัญ ดังนี้

  1. ความโปร่งใสและสามารถตรวจย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของทูน่า (traceability)
  2. ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ โดยจะต้องมียุทธศาสตร์การประมงทูนาที่ครอบคลุมรอบด้าน
  3. ความรับผิดชอบต่อสังคม ข้อนี้เป็นประเด็นเกี่ยวกับการใช้แรงงานในภาคการประมงทูน่าและสิทธิมนุษยชนเพื่อการปกป้องคุ้มครองแรงงานกลุ่มนี้

โดยขณะที่ภาคประชาสังคมมีหน้าที่คอยเป็นหูเป็นตา สอดส่องและสื่อสารประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ภาครัฐและภาคธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อทูน่าและท้องทะเลมากขึ้น รัฐบาลในฐานะท่าเรือ รัฐชายฝั่ง และรัฐเจ้าของธง มีบทบาทสำคัญมากที่สุดที่จะผลักดันสามหัวใจสำคัญนี้

และการที่จะบริหารจัดการประมงให้มีทูน่าเพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ที่ทรัพยากรทางทะเลและระบบนิเวศเป็นศูนย์กลางนั้น สุดท้ายแล้วจะต้องมี ‘แผนการ ความร่วมมือ และวิสัยทัศน์ที่รับผิดชอบร่วมกันของทุกภาคส่วน’ ด้วย

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG2 มีที่กล่าวถึงความมั่นคงทางอาหาร
#SDG12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
#SDG14 การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเลและทรัพยากรทางทะเล ซึ่งมีที่กล่าวถึงการประมง IUU การอนุรักษ์และใช้มหาสมุทรตามกรอบ UNCLOS

แหล่งอ้างอิง:
https://www.weforum.org/agenda/2021/03/collaborative-action-can-secure-responsible-tuna-fisheries/

Last Updated on มีนาคม 27, 2021

Author

  • Thiraphon Singlor

    Editor | อยากรู้ความคิดของคนต่างพื้นเพ ต่างสังคมและวัฒนธรรม สนใจความเป็นไปของโลก ความมั่นคง และการพัฒนา แล้วนำมาถ่ายทอดร้อยเรียงเรื่องราวเล่าให้ฟัง

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น