บทความวิจัย Leaving no one behind in prison: improving the health of people in prison as a key contributor to meeting the Sustainable Development Goals 2030 ที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ BMJ Global Health เมื่อเดือนมีนาคม 2021 นำเสนอการวิเคราะห์ว่าการพัฒนาสุขภาพของผู้คนในเรือนจำ นำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs ถึง 15 เป้าหมายได้อย่างไร โดยมีเนื้อหาโดยสังเขป คือ
- ทั่วโลกมีผู้ต้องขังประมาณ 11 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเรือนจำ โดยตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ศตวรรษที่ 21 โดยที่ประชากรในเรือนจำมีแนวโน้มจะมีความเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ เนื่องจากปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคมและวิถีชีวิตที่เป็นผลร้ายต่อสุขภาพพวกเขาตั้งแต่ก่อนถูกจองจำ และส่งผลกระทบมาถึงระหว่างอยู่ในที่คุมขัง
- ไม่มีการพูดถึง ‘คนในเรือนจำ’ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ให้คำมั่นว่าจะ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” บทวิเคราะห์จะแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาสุขภาพของผู้ถูกคุมขังสามารถนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs ได้ถึง 15 เป้าหมาย ตั้งแต่การยุติความยากจนทุกรูปแบบ (SDG 1) จนถึงการสร้างสันติภาพ ความยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง (SDG 16) ใขณะเดียวก็ช่วยให้รัฐต่างๆ สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานระหว่างประเทศด้านสุขภาพของผู้ต้องขังในเรือนจำที่มีอยู่ได้
- จากรผลการวิเคราะห์พบว่า มีทั้งโอกาสและอุปสรรคในการพัฒนาสุขภาพของคนในเรือนจำเพื่อการบรรลุ SDGs เนื่องจากเงื่อนไขของเรือนจำที่มีความเฉพาะ (ความแออัดยัดเยียด) เช่นเดียวกับเงื่อนไขทางการเมือง (นโยบายประชานิยม) และ เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ เช่น การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทั่วโลกที่ขยายอุปสรรคในการบรรลุ SDGs หลายๆ เป้าหมายได้ในเวลาที่กำหนด
- การวิเคราะห์นี้ยังรายงานการพัฒนามาตรฐานและตัวชี้วัดในเรือนจำซึ่งสามารถนำไปใช้กับขอบเขตอื่นๆ ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและการให้บริการสุขภาพได้ในภายหลัง
สุขภาพของคนในเรือนจำ เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวั
ที่มา: BMJ Global Health
Last Updated on มีนาคม 29, 2021