องค์การอนามัยโลกเผยว่า แม้ในสถานการณ์าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อทุกประเทศทั่วโลก ก็ยังทำให้เราเห็นว่า คนบางกลุ่มยังคงสามารถมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพได้มากกว่าคนกลุ่มอื่น ทั้งหมดนี้มีเหตุมาจากสภาพแวดล้อมที่พวกเขาเกิด เติบโต ทำงาน ดำรงชีวิตอยู่ ที่แตกต่างและได้เปรียบกว่าหลายคน
ทั่วโลกยังคงมีคนที่ลำบากและดิ้นรนเพื่อรายได้รายวัย ต้องอาศัยอยู่ในที่พักที่ไม่ได้มาตรฐาน ได้รับการศึกษาน้อยกว่า มีโอกาสในการจ้างงานน้อยกว่า ต้องเผชิญกับความไม่เท่าเทียมทางเพศมากกว่า ไม่สามารถเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย น้ำและอากาศสะอาด ความมั่นคงทางอาหาร และบริการด้านสุขภาพได้เท่ากับผู้อื่น เหตุเหล่านี้ทำให้ประชาชนเจ็บป่วยที่ป้องกันและหลีกเลี่ยงได้ และยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวันอันควร รวมไปถึงส่งผลเสียต่อสังคมและระบบเศรษฐกิจ
สถานการณ์นี้ไม่เพียงแต่ไม่เป็นธรรม ยังเป็นเรื่องที่ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่องค์การอนามัยโลกเรียกร้องให้ผู้นำโลกดูแลให้ทุกคนมีสิ่งแวดล้อมในการเป็นอยู่และทำงานที่เอื้อให้มีสุขภาพที่ดี ในขณะเดียวกันก็ยังเรียกร้องให้ผู้นำโลกตรวจสอบสถานการณ์ความไม่เท่าเทียมด้านสุขภาพที่เกิดขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพได้ทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการ
เพื่อ “สร้างโลกที่เป็นธรรมและสุขภาพดียิ่งขึ้น (Building a fairer, healthier world)” องค์การอนามัยโลกต้องการให้ผู้นำโลก
- ทำงานร่วมกัน
- รวบรวมและใช้ข้อมูลสุขภาพที่ทันต่อเวลาและเชื่อถือได้
- จัดการกับต้นตอของความไม่เท่าเทียมด้านสุขภาพ
- ดำเนินการทั้งระดับชาติและนานาชาติ
ดาวน์โหลด Campaign materials
วันที่ 7 เมษายน ของทุกปีเป็น “วันอนามัยโลก” (World Health Day) ซึ่งเป็นวันก่อตั้งองค์การอนามัยโลก จึงโอกาสนี้รณรงค์ให้ประชาชนและทุกภาคส่วนของสังคมตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ และส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันตามแนวคิด “Health for All หรือ สุขภาพดีถ้วนหน้า” ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญขององค์การอนามัยโลก
สุขภาพและความไม่เท่าเทียม อยู่ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) - SDG 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี - SDG 10 ลดความเหลื่อมล้ำ
ที่มา: WHO
Last Updated on เมษายน 7, 2021