SDG 101 | รู้หรือไม่? เราไม่จำเป็นต้องใช้ตัวชี้วัดเหมือนที่ UN เสนอทุกอย่างก็ได้

ตัวชี้วัด SDGs ระดับโลกถูกกำหนดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือวัดผลว่าขณะนี้ทั่วโลกขับเคลื่อนไปถึงไหนแล้ว จึงจำเป็นต้องออกแบบวิธีการเก็บข้อมูลที่มีลักษณะกลาง ๆ คือเป็นมาตรฐานที่แต่ละประเทศน่าจะสามารถนำไปประเมินผลได้ 

แต่เนื่องจากบริบทของทุกประเทศมีความแตกต่างกัน บางประเทศอาจมีการเก็บข้อมูลในรูปแบบอื่นอยู่แล้ว มีความพร้อมของข้อมูลต่างกัน หรืออาจมีวิธีการเก็บที่เหมาะสม สามารถสะท้อนสถานการณ์ภายในประเทศได้มากกว่าวิธีการที่ UN นำเสนอก็สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวมาเป็นตัวชี้วัดรายงานได้ ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้การเก็บข้อมูลตามแนวทางที่ UN แนะนำทุกประการก็ได้ แต่ต้องมีความใกล้เคียง กล่าวคือยังสามารถนับมาประเมินสถานการณ์ภาพรวมในระดับภูมิภาค และระดับโลกได้

เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นได้มีการทำแผนภาพจำลองให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูล และตัวชี้วัดที่มีอยู่บนโลกตามภาพ จะเห็นว่าตัวชี้วัดระดับโลกตาม SDGs นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ทั้งโลกมีอยู่เท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติหากแต่ละประเทศจะมีความพร้อม หรือจัดประเภทการเก็บข้อมูลต่างจากที่ UN ประกาศไปบ้าง

SDG 101 เนื้อหารูปแบบใหม่ที่อยากหยิบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาเล่าแบบย่อยง่ายให้คุณรู้จัก SDGs ในมุมที่อาจไม่เคยรู้มาก่อน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sdgmove.com/category/sdg-101/

Last Updated on มกราคม 4, 2022

Author

  • Pimnara Intaprasert

    Editor | คนทำงานข้ามสายที่ชอบมองภาพใหญ่และอยากเห็นงานพัฒนามองทุกศาสตร์อย่างเชื่อมโยง

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น