การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 นั้นส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงโลกนับจากนี้ รวมไปถึงบทบาทขององค์ความรู้ ทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลกอนาคตที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ท่ามกลางปัจจัยอื่น ๆ ที่สะท้อนถึงความเปราะบางของสังคมไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะประเด็นด้านความยุติธรรม สันติภาพ และสิทธิมยุษชน ที่เป็นความท้ายหลักในปัจจุบัน
SDG Updates ฉบับนี้ชวนติดตามความสำคัญของ SDG 16 กับบทบาทของเครือข่ายความรู้โดยเฉพาะในแวดวงวิชาการผ่านปาฐกถาของศาสตราจารย์กิตติคุณดร. วิทิต มันตาภรณ์ ศาสตราภิชานคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน ผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์การสหประชาชาติหลายตำแหน่ง โดยล่าสุดท่านได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้แทนพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในกัมพูชา ในหัวข้อ “การกับกับดูแลอนาคตหลังโควิด-19: SDG 16 กับบทบาทของเครือข่ายความรู้”
ซึ่งการปาฐกถานี้เป็นส่วนหนึ่งของการสัมนาวิชาการเรื่องในวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวข้อ “ทิศทางที่ท้าทายประเทศไทย: การบูรณาการความรู้เพื่อกำกับดูแลอนาคต – Roadmap 2030 as Governance for a Shared Future: Role of Knowledge Integration” สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์สันติภาพและความขัดแย้ง และ Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ประเทศไทย
มองภาพรวมทั่วไปเกี่ยวกับโควิด-19 ในกรอบของการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในส่วนแรก โควิด-19 ถือเป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลก (pandemic) ไม่ใช่ขั้นสุดท้ายที่จะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่ฝากไว้กับพวกเรา คือ ให้เตรียมการไว้ให้ดี จากเหตุการณ์นี้ทำให้ผู้คนทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ผมคิดว่าการที่โควิด-19 กระตุ้นให้เราเตรียมการในอนาคตนั้นถือเป็นโอกาส (opportunity) ด้วย พวกเราควรจะตระหนักกับตัวเองอยู่เสมอว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ฟื้นฟู และผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ สำหรับประเทศไทยผมมองว่าเรารับมือกับปัญหานี้ได้ดีพอสมควร เห็นได้จากสถิติที่มีการรายงานว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 4 ของโลกในการแก้ปัญหาและรับมือกับโควิด-19
ถ้ามองในทางวิชาการก็ถือว่า “Not bad, Quite good” ในการรับมือกับสถานการณ์ แต่ในเรื่องเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาครั้งนี้นั้นดีที่สุดหรือไม่ ยังคงเป็นประเด็นที่เราต้องหาคำตอบต่อไป โดยเครื่องมือที่ใช้ในครั้งนี้ คือ พระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ถูกตำหนิในสหประชาติมาหลายปีแล้วว่า เป็นเครื่องมือที่ไม่สมควรและไม่สมดุลต่อสิทธิมนุษยชนมากเกินไป ซึ่งในความจริงกฎหมายไทยมีกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอีกที่สามารถนำมาใช้ได้ เช่น พระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อ พระราชบัญญัติความมั่นคง หรือพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับภัยพิบัติ แต่กลับเลือกใช้พระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน เนื่องจากง่ายต่อการบริหาร แต่ทั้งนี้ก็ยากต่อการพัฒนาระยะยาว ผลลัพธ์ที่ตามมาหลังโควิค-19 มีอยู่ 3 ข้อ ได้แก่
- อำนาจฝ่ายบริหารเพิ่มมากขึ้น เพราะเมื่อมีคำสั่งออกมาแล้ว ไม่มีใครกล้าประท้วง
- สังคมเปลี่ยนแปลงเป็นดิจิทัล (digitize) มากขึ้น และเผชิญกับความเหลื่อมล้ำทางความรู้ (digital divide) มากขึ้นตามไปด้วย
- ผลกระทบต่อสุขภาพได้รับการตอบสนองอย่างดีจากบริการสาธารณสุข และความจำเป็นพื้นฐานได้รับการช่วยเหลือ เช่น ได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาล แต่ทั้งนี้ก็ต้องแลกมาด้วยภาระหนี้สินของรัฐที่เพิ่มขึ้นด้วย
ยุคโควิดถือเป็นยุคสมัยใหม่อีกรูปแบบหนึ่งที่เข้ามา ประกอบไปด้วย 3A ดังนี้
A1: Automation เป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่การทำด้วยมือจากมนุษย์ไปสู่เครื่องกลทั้งหลาย
A2: Artificial Intelligence เป็นระบบหุ่นยนต์
A3: Algorithm ในปัจจุบันข้อมูลเข้าถึงได้ง่ายและควบคุมได้ยาก อนาคตข้อมูลเหล่านั้นอาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิ์ของเราได้ ซึ่งทั้ง 3A ที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นในอยู่แล้วในปัจจุบันและจะเกิดมากขึ้นอีกหลังโควิด-19 เพราะฉะนั้นเราจึงต้องระมัดระวังให้ดี
มองภาพเกณฑ์พัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านงานล่าสุดของสหประชาชาติ
ส่วนที่สองโลกตอบสนองต่อโควิด-19 ในกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างไร ย้อนไปเมื่อปี 2015 ประชาคมโลกรวมทั้งประเทศไทยได้ร่วมกันตกลงเกณฑ์การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือที่เรียกว่า SDGs ซึ่งตั้งไว้ 17 เกณฑ์ หรือที่เรียกว่า SDG 17 เป้าหมาย นำมาสู่เกณฑ์ที่น่าสนใจที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้ คือ เกณฑ์ที่ 16 เกี่ยวกับสันติภาพ ความยุติธรรม สิทธิและเสรีภาพ (SDG 16) รวมทั้งจะแทรกในเรื่องการรุกรานด้วยไม่มากก็น้อย
ตั้งแต่กำหนดเกณฑ์ที่ยั่งยืนทั้ง 17 เกณฑ์ขึ้นมาแล้ว ประเทศไทยถือว่าดำเนินการตามเป้าหมายได้ดีพอสมควรมาโดยตลอด จนกระทั่งมีโควิด-19 กลายเป็นอุปสรรค์ต่อการดำเนินตามเป้าหมาย โดยจากรายงานของสหประชาชาติรายงานว่า ในเอเชียแปซิฟิกมีความถดถอยในเกณฑ์ที่ 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate action) และเกณฑ์ที่ 14 ทรัพยากรทางทะเล (life below water) แต่ทำได้ดีในการรับมือในเกณฑ์ที่ 4 การศึกษาที่เท่าเทียม (quality education)
ในขณะเดียวกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความถดถอยอยู่แล้วในเกณฑ์ที่ 13 และ 14 และหลังจากโควิด-19 ก็จะถดถอยมากขึ้น รวมทั้งในเกณฑ์ที่ 16 สันติภาพ ความยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง (sustainable Development) ก็คงถดถอยตามไปด้วย ในประเด็นนี้ NGOs ได้พูดถึงไว้ตั้งแต่ก่อนโควิด-19 ว่าพื้นที่ประชาธิปไตยกำลังหด หรือถูกทำให้หด ยกตัวอย่างให้เห็นว่าเกณฑ์ที่ 16 ถดถอยอย่างไร โดยดูที่เป้าหมายย่อย 12 เป้าหมาย และดัชนีที่ต้องเก็บข้อมูลอีก 24 ตัว ซึ่งสถิติการเก็บข้อมูลเพื่อพิสูจน์ดัชนีนั้นมีอยู่ 2 เทียร์ ได้แก่ เทียร์ 1 คือ สามารถเก็บสถิติได้ เช่น สถิติจำนวนของคนที่จำคุกอยู่โดยที่ยังไม่ได้สัดสินลงโทษ พบว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี และเทียร์ 2 คือ ยังไม่สามารถที่จะเก็บสถิติได้ เช่น สถิติการกระทำความรุนแรงกับเด็ก และสถิติของคนเกี่ยวกับความรู้สึกมีส่วนร่วมในการบริหาร เป็นต้น
ในเรื่องของการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมมีเกณฑ์ย่อยอยู่ 3 ส่วน ได้แก่
- เกณฑ์ที่ 16.3 เกี่ยวกับเรื่องการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
- เกณฑ์ที่ 16.7 เกี่ยวกับเรื่องการมีส่วนร่วม
- เกณฑ์ที่ 16.10 การเข้าถึงข้อมูลและเคารพสิทธิเสรีภาพ
สรุปโดยภาพรวมของเกณฑ์ที่ 16 เห็นได้ชัดว่าถอดหลัง ซึ่งในส่วนของการแก้ปัญหาน่าจะทำได้ไม่ยากนัก เช่น คนที่ถูกจำคุกโดยที่ศาลยังไม่ได้ลงโทษก็ควรเปิดโอกาสให้มีการประกันตัว หรือปล่อยตัวได้ เมื่อกล่าวถึงฐานวิชาการที่อาจจะเกี่ยวข้องกับเกณฑ์ที่ 16 โดยดูจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วบริบทของเราอยู่ที่ไหน สามารถตอบได้จาก 3 คำถามต่อไปนี้
Who? : ใครเป็นตัวแสดงหลักในเรื่องฐานความรู้ คำตอบ คือ จะเป็นใครก็ได้ทั้งนั้น แต่ที่อยากฝากให้คิดต่อหลังจากโควิด-19 เป็นเรื่องความเข้าใจในเรื่องตัวแสดงหลักนี้อาจจะต้องกว้างขึ้น อย่ามองว่าเป็นบทบาทของรัฐเพียงอย่างเดียว ในยุคใหม่นี้มีกลุ่มที่น่าสนใจ คือ กลุ่มธุรกิจ เพราะข้อมูลอยู่ที่คนกลุ่มนี้ ฉะนั้นองค์การสหประชาชาติจึงมีเกณฑ์ในเรื่องการปฏิบัติของกลุ่มธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (Guiding Principles on Business and Human Rights) ประกอบไปด้วย 1) รัฐมีหน้าที่คุ้มครองป้องกันสิทธิมนุษยชน กล่าวคือ ต้องมีกรอบของกฎหมายที่ดี 2) กลุ่มธุรกิจมีหน้าที่เคารพกฎหมายเหล่านั้นและมีมาตรการในการตรวจสอบตนเองด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลในทางลบ และหากเกิดเหตุในทางลบก็ต้องดำเนินการรับผิดชอบแก้ไข 3) รัฐและกลุ่มธุรกิจมีหน้าที่ต้องเยียวยา
What? : เก็บข้อมูลอะไรและนำข้อมูลอะไรไปวิเคราะห์ คำตอบที่ง่ายที่สุด คือ เก็บข้อมูลที่วาง SDGs เอาไว้อยู่แล้วทั้ง 17 เกณฑ์ โดยเฉพาะข้อมูลเทียร์ 2 ที่สหประชาชาติยังไม่สามารถเก็บได้ เราก็ไปเก็บมาแล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้น
How? : วิธีการจะเป็นอย่างไร ขอเก็บไว้ตอบในตอนสุดท้าย เพื่อที่จะปิดฉากต่อจากส่วนที่สามว่าจะทำอย่างไรต่อไป
มองภาพมุ่งสู่อนาคตภายหลังโควิด-19
ส่วนสุดท้าย ภาพรวมอนาคตหลังจากโควิด-19 จากที่ได้กล่าวมา จะเห็นได้ว่ามีความท้าทายอย่างมากมีทั้งส่วนที่เป็นวิกฤติและโอกาส โดยจากการคาดการณ์ของสหประชาชาติเมื่อปีที่แล้วเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่า หลังวิด-19 จะต้องตระหนักและวางแผนใน 4 ประเด็น ดังต่อไปนี้
- ประเด็นที่ 1 ความยากจนกับการตกงาน การสร้างในอนาคตจะต้องเปลี่ยนไป ในเรื่องปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตจะไม่ใช่แค่การแจกเงิน แต่ยังรวมไปถึงการสร้างทักษะความรู้ และวิถีชีวิตที่ถูกผลักดันให้เปลี่ยนแปลงไปด้วย
- ประเด็นที่ 2 ดิจิทัล ทำอย่างไรให้คนที่เข้าไม่ถึงดิจิทัลนั้นสามารถเข้าถึงดิจิทัลได้มากขึ้น
- ประเด็นที่ 3 สิ่งแวดล้อม ในเรื่องความพยายามในการลดภาวะโลกร้อน สำหรับประเทศไทยพบว่า สามารถทำได้ดีในการลดการใช้เชื้อเพลิง แต่ยังปรับตัวไปใช้พลังงานสะอาดได้น้อย ดังนั้นจึงต้องหันกลับไปถามที่ภาครัฐว่าจะทำอย่างไรให้การปรับตัวไปใช้พลังงานอื่นนั้นทำได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องขยะพลาสติก (plastic waste) ที่เห็นได้ชัดคือขยะจากหน้ากากอนามัยยังมีการจัดการได้ไม่ค่อยดี
- ประเด็นที่ 4 สิทธิและเสรีภาพ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่าพื้นที่ประชาธิปไตยลดลง อย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศพม่าแสดงให้เห็นการไม่เคารพสิทธิเสรีภาพ อันจะนำไปสู่ปัญหาผู้ลี้ภัยต่อไป ดังนั้น ประเด็นเกี่ยวกับสิทธิที่ควรตระหนักมากที่สุด คือ สิทธิในการแสดงออก สิทธิในการรวมกลุ่ม สิทธิในการรวมกลุ่ม
ถึงแม้ในการจัดการโควิด-19 จะทำให้บางภาคส่วนพัฒนาในแง่ดีขึ้น แต่ในบางภาดส่วนก็ได้รับผลกระทบในทางลบ ฟื้นฟูได้ช้า และจะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต เช่น ภาคอุตสาหกรรม ภาคการท่องเทียว เป็นต้น
ตอบคำถามสุดท้ายในส่วนของ How? จะมีการแก้ปัญหาได้อย่างไร คำตอบง่าย ๆ คือ มีเครื่องมือที่ดี อันได้แก่
- กฎหมายที่ดี เช่น การแก้ปัญหาให้การทำแท้งถูกกฎหมาย ถือเป็นการแสดงความเคารพต่อสิทธิสตรีได้ดี
- นโยบายที่ดี เช่น SDGs
- โปรแกรมที่ดี เช่น การเรียนออนไลน์
- การปฏิบัติที่ดี เช่น เมื่อแก้ไขให้การทำแท้งถูกกฎหมาย นำไปสู่การปฏิบัติที่ดีต่อสตรี
- กลไกบุคลากรที่ดี เช่น การพัฒนาองค์ความรู้ให้บุคลากร
- ทรัพยากรที่ดี เช่น งบประมาณที่เพียงพอต่อการดำเนินงานในเรื่องที่จำเป็น อาสาสมัครในการปฏิบัติงาน และผู้นำที่มีประชาธิปไตยและเคารพสิทธิเสรีภาพ
- การศึกษาที่ดี เช่น การพัฒนาและสร้างศักยภาพเกี่ยวกับฐานความรู้
- การจัดการข้อมูลที่ดี
- การเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบ
- พื้นที่ประชาธิปไตย จะเอื้อต่อการพัฒนาและปฏิรูป
สุดท้ายนี้ที่อยากจะฝาก คือ เมื่อโควิดนั้นเกิดขึ้นเป็นทั้งวิกฤติและโอกาส เราต้องเชื่อมทั้งสองอย่างนี้ให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยการร่วมมือกันทุกภาคส่วนในความพยายาม ความเอื้อเฟื้อ ความเคารพต่อสันติภาพ เสรีภาพ สิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตย อันจะนำไปสู่ปรัชญาที่องค์การสหประชาชาติได้ฝากไว้ว่า “Let’s recover better together!” เรามาร่วมกันฟื้นฟูให้ดีขึ้นด้วยหุ้นส่วนของเรา
————————————————————————————————————————————————-
รับชมงานเสวนาย้อนหลังได้ที่ https://fb.watch/4Sh2fdx0nq/
Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ประเทศไทย ก่อตั้งโดยความร่วมมือระหว่าง ศูนย์สันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) เพื่อสร้างเครือข่ายนักวิชาการ ภาคประชาสังคมเพื่อทำงานความรู้ขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน