ในวงสนทนาเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนเรามักเห็นบทบาทของคนทำงานในสายสังคมศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักธุรกิจ ภาคประชาสังคม หน่วยงานรัฐเข้ามาร่วมสนทนาแสดงความเห็น และนำเสนอองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นความท้าทาย เช่น ความยากจน การเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ ส่วนวงสนทนาที่เป็นประเด็นเชิงวิทยาศาตร์ สิ่งแวดล้อมแม้จะมีการพูดคุยผ่านงานเสวนา การประชุมเชิงวิชาการอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเนื้อหาที่เป็ประเด็นทางเทคนิคเฉพาะศาสตร์สูงทำให้การแลกเปลี่ยนสนทนาถูกจำกัดอยู่ในวงผู้เกี่ยวข้องเป็นที่รับรู้ของสำคัญน้อยกว่า อย่างไรก็ดี ในโลกปัจจุบันการผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้แบบสหศาสตร์ หรือที่เรียกกันว่า ความรู้ข้ามศาสตร์ เข้ามีอิทธิพลและเป็นที่ยอมรับว่าจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้การบูรณาการนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ไปสู่การพัฒนา หรือแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญได้
งานเสวนาครั้งนี้จึงได้สร้างพื้นที่สนทนาให้คนทำงานในสายวิทยาศาสตร์ได้มาสนทนาบอกเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์-สังคมศาสตร์ เพื่อให้ทุกคนขยับมามองสองศาสตร์ที่ดูเหมือนจะต่างกันสุดขั้วให้แนบชิดและเชื่อมโยงกันมากขึ้น โดยชุดเสวนานี้จะชวนทุกคนมองความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) กับ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Cultural diversity) ในหัวข้อ
สิ่งที่หายไปในการบูรณาการความรู้เพื่ออนาคต
ร่วมเสวนาโดย;
- รองศาสตราจารย์ ดร. นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตว์แพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รองศาสตราจารย์ ดร.นฤมล อรุโณทัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คุณสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ ที่ปรึกษากระทรวงวัฒนธรรมและผู้ทรงคณวุฒิในคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วย UNESCO
ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภวรรณ วิเศษน้อย อาจารย์ประจำสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประเด็น/กลไกใดบ้างที่ขาดหายไป
เริ่มต้นการเสวนาวิทยากรแต่ละท่านได้แบ่งปันมุมมองจากประสบการณ์ทำงาน ว่าในมุมมองที่ตนทำงานอยู่นั้นมีประเด็น ตัวอย่าง หรือกลไกในการเชื่อมโยงและบูรณาการในมิติใดบ้างที่ขาดหายไปบ้าง เริ่มต้นจากรองศาสตราจารย์ ดร. นันทริกา ชันซื่อ ผู้มีบทบาทอย่างมากในการขับเคลื่อนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ SDG 14 ระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งได้แลกเปลี่ยนในมุมของสัตวแพทย์ว่าการทำงานเป็นสัตว์แพทย์มีความรู้ในเรื่องของ SDGs และการบริหารจัดการในเชิงนโยบายค่อนข้างจะจำกัดมาก แต่มุมมองที่มีต่อ SDGs ถือว่าดีมาก เพราะเป็นการให้แนวทางการพัฒนาว่าเราควรจะเดินไปทางไหน และโดยส่วนตัวคิดว่าการจะพัฒนาอะไรที่สำคัญ คือ ต้องมี “ใจ” ดังนั้น อันดับแรกเราจะต้องปลูกความรู้สึกของทุกคนในประเทศหรือทุกคนในองค์กรก่อนว่าอะไรคือเป้าหมายที่เราจะทำให้ชัดเจน
โดย รศ.ดร.นันทริกา ได้อธิบายถึงความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพให้เข้าใจโดยง่าย คือ สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมาอยู่รวมกัน ทั้งนี้ ความหลายหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) มีความสัมพันธ์กับความหลากหลายทางวัฒนธรรมในแง่ที่ต้องมี “ความเห็นอกเห็นใจ” ซึ่งกันและกัน ยกตัวอย่างที่ไม่ดี ในกรณีของประเทศไทยมีคนบางกลุ่มที่เชื่อว่าพะยูนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยมีการนำน้ำตาพะยูนไปทำยาเสน่ห์ หรือการจับปลามาเพื่อสนองความเชื่อว่าด้วยการทำบุญจาการปล่อยปลา สะท้อนให้เห็นว่าความไม่เข้าใจในสิ่งมีชีวิตและวัฒนธรรมสามารถนำไปสู่การเบียดเบียนซึ่งกันและกันได้คนไทยชอบให้น้ำหนักกับความรู้สึกมากกว่าความรู้ และความเสียหายมักเกิดขึ้นเพราะความรู้สึกไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป ดังนั้น การจะแก้ปัญหากับคนไทยจะต้องปรับความรู้สึกกับความรู้ให้สอดคล้องกัน ส่วนการพัฒนาความหลากหลายทางวัฒนธรรม (cultural diversity) ที่สำคัญ คือ การสร้างแนวทางที่มีการใช้ความรู้และภูมิปัญญาและสามารถนำไปสู่ระดับโลกได้ เช่น การฝังเข็มของจีน ที่พัฒนาก้าวหน้าจนประเทศอื่นต้องมาเรียนรู้ เป็นต้น ดังนั้น เราต้องหาว่าจุดแข็งของภูมิปัญญาเราคืออะไร แล้วพัฒนาให้ดีขึ้น อาจใช้แนวทางวิทยาศาสตร์เข้ามาบูรณาการร่วมด้วย
นวัตกรรมและเทคโนโลยีหลายอย่างที่สร้างขึ้นในการแก้ปัญหาทางทะเลของไทยนั้นเป็นเพียงการโฆษณา อาจจะดูน่าตื่นเต้นแต่การนำไปใช้จริงน้อยมาก ดังนั้นในประเด็นนี้เราจึงจำเป็นต้องวางแผนว่าทำอย่างไรให้คนทำด้วยใจจริง ๆ และต้องไม่ใช่การบังคับแต่เป็นการทำให้เข้าใจถึงวิธีการลดปัญหาทางทะเล
พร้อมกันนี้ รศ.ดร.นันทริกา ได้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบตัวอย่างการแก้ปัญหาที่สะท้อนถึงการใช้องค์ความรู้ กับการแก้ปัญหาแบบไม่มีองค์ความรู้ผ่านการแก้ปัญหาการเสียชีวิตของสัตว์ทะเลจากเครื่องมือประมง
ตัวอย่างของแก้ปัญหาที่ไม่มีความรู้ คือ การวางแผนการทำประมง เพื่อลดการเสียชีวิตของสัตว์ทะเลจากการเข้าไปติดเครื่องมือทำการประมง ซึ่งจากข้อมูลที่มีพบว่ามีสัตว์ทะเลถึงร้อยละ 74 ที่เสียชีวิตด้วยสาเหตุดังกล่าว โดยวิธีแก้ปัญหาคือการทำซังเชือกกั้นไว้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสาหร่ายมาเกาะที่ซังเชือกแล้วเต่าทะเลมากิน ก็กลายเป็นอีกสาเหตุให้เต่าทะเลตายเพิ่มขึ้นอีกจากวิธีการแก้ปัญหาที่ขาดความรู้ความเข้าใจ
ตัวอย่างของการแก้ปัญหาแบบมีความรู้ คือ การแก้ปัญหาพะยูนเกยตื้น มีเจ้าหน้าที่กรมอุทยานเข้าไปให้การศึกษาแก่ชาวบ้านว่ามีวิธีการจับพะยูนอย่างไร สะท้อนให้เห็นว่าเป็นการนำความรู้เข้าไปจัดการกับวัฒนธรรมให้ถูกต้อง
มุมมองอีกแง่มุมหนึ่งในมิติทางสังคม: จะมีวิธีการเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างไร
หลังจากได้ให้เห็นตัวอย่างของช่องว่างความรู้ที่มีอยู่ในปัจุบันแล้ว ต่อไปรองศาสตราจารย์ ดร.นฤมล อรุโณทัย จะชวนใช้มองในมิติสังคมศาสตร์มองความสอดคล้องของความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ว่าเราจะมีเชื่อมโยงและบูรณาการองค์ความรู้เหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างไรบ้าง โดยในการแลกเปลี่ยนครั้งนี้ รศ.ดร.นฤมล ได้ยกตัวเอากรณีปัญหาที่ดินกะเหรี่ยงบางกลอยในเป็นกรณีศึกษาชวนทุกคนเรียนรู้ร่วมกัน
รศ.ดร.นฤมล กล่าวว่า ในขณะนี้ สถาบันวิจัยทางสังคมฯ มีนักวิชาการที่ชี้ให้เห็นว่าในยุคของเรามีภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมว่าเป็น Capitalist Culture โดยจะมองพื้นที่ชนบทว่าเป็นว่าการทำการเกษตรขนาดใหญ่ ทำธุรกิจเพื่อกำไร ในขณะที่การทำเกษตรกรรมแบบชาวนาจะมองพื้นที่ชนบทว่าเป็นพื้นที่ชีวิต เพราะฉะนั้นหากนำเป้าหมายทั้ง 17 เป้าหมายไปให้ทั้งสองกลุ่มนี้กำหนดตัวชี้วัด อาจได้ตัวชี้วัดที่แตกต่างกัน และอาจมองได้ไม่เหมือนหรืออาจมองได้เชื่อมโยงกับเราก็ได้ จะเห็นว่าความคุ้นชินกับวัฒนธรรมเดี่ยว (monoculture) ทำให้เราคิดว่าวัฒนธรรมที่หลากหลาย ภาษาที่แตกต่างจะเป็นภัยต่อความมั่นคง ความต่างระหว่างเกษตรอุตสาหกรรมและเกษตรเชิงนิเวศ คือ เกษตรนิเวศจะดูว่าการทำเกษตรนั้นสอดคล้องกับธรรมชาติเป็นหลัก ไม่เอาเรื่องพื้นที่หรือกำไรเป็นตัวตั้ง ยกตัวอย่างเช่น สวนยกร่องในภาคกลาง สวนสมรมในภาคใต้ และสวนผสมผสานในภาคอีสาน เป็นต้น
การออกแบบชีวิตคนเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติ อาจแบ่งได้ 3 กรณี ดังนี้
- อยู่ “ด้วย” ธรรมชาติ : ปัจจุบันเรากำลังทำอยู่ คือต้องพึ่งพาธรรมชาติ
- อยู่ “กับ” ธรรมชาติ : ปัจจุบันเราเริ่มห่างออกไป คือเราดึงเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ด้านพลังงานมากขึ้น ธรรมชาติจึงเริ่มหายไป อยู่กับเราได้อีกไม่นาน
- อยู่ “อย่าง” ธรรมชาติ : ปัจจุบันเราไม่ได้อยู่อย่างธรรมชาติแล้ว เพราะสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรานั้น เป็นสิ่งแวดล้อมเทียมแทบทั้งสิ้น
ตัวอย่างการออกแบบชีวิตในประเทศไทย เช่น การใส่สูท เป็นการแต่งกายที่เราหยิบยืมมาจากต่างประเทศ ไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่ผิด เนื่องจากมีแนวคิดที่มองว่าการใส่สูทเป็นการแต่งกายที่สุภาพและเหมาะสม ดังนั้น การทำความเข้าใจแนวคิดจะทำให้เรารู้ว่าสิ่งต่าง ๆ ถูกประกอบสร้างมาอย่างไร และกลายมาเป็นแนวคิดที่ทุกคนเชื่อได้อย่างไร
ในละตินอเมริกามองขบวนการชาวนาได้อย่างน่าสนใจว่า ไม่ได้เป็นแค่ความเคลื่อนไหวทางสังคมแต่ยังเกี่ยวข้องรวมไปถึงการศึกษาอีกด้วย ซึ่งประเทศไทยอาจจะต้องศึกษาดูตัวอย่างไว้ว่าการให้การศึกษาแก่คนชนบท คนพื้นเมือง หรือคนที่มีความพิเศษ ต้องระวังการถูกเบ้าหลอมให้กลายเป็นคนที่มีความเชื่อว่า ต้องกลายมาเป็นแรงงานในเมือง รวมถึงความหลากหลายทางความรู้นั้นไม่ถูกมองว่าเป็นความรู้
สถานการณ์ที่บางกลอยที่เป็นประเด็น คือ ภาพการตัดต้นไม้ปลูกพืชหมุนเวียนที่ลงข่าวในหนังสือพิมพ์นั้นทำให้เกิดคำถามว่า เป็นส่วนหนึ่งของเกษตรนิเวศหรือเป็นการทำลายป่ากันแน่ ซึ่งผู้ที่ทำไร่หมุ่นเวียนก็มองว่าเป็นพื้นที่ไร่ซาก ประกอบกับถ้ามองในแง่ประวัติศาสตร์จะพบภาพถ่ายดาวเทียมบันทึกไว้ว่าพื้นที่นั้นถูกใช้งานในลักษณะนี้เวียนไปเรื่อย ๆ อยู่แล้ว อีกทั้งความรู้เรื่องการทำไรเลื่อนลอยของชาวพื้นเมืองก็มีไม่มาก ความเชื่อว่าจะต้องเก็บเกี่ยวหาอาหารไว้ให้มากถูกปลูกฝังมาอย่างยาวยาว จนนำไปสู่วิถีชีวิตที่คนพื้นเมืองเป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจมากขึ้น เพื่อที่จะไม่ให้ความรู้ที่เป็นความรู้กระแสหลัก (dominant knowledge) มาครอบงำเราจนทำให้เรามืดบอดต่อเรื่องอื่น ๆ ได้
ทั้งนี้ นักวิชาการมองว่าถึงปัญหานี้ว่าเป็นพื้นที่เดิมที่คนพื้นเมืองเคยอยู่ แล้วถูกรัฐเข้ามาจัดการทำให้คนพื้นเมืองถูกบีบให้ออกจากพื้นที่ ซึ่งปัญหานี้เกิดเข้ากับทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะที่บางกลอย ทาง IUCN มองว่ารัฐไม่ควรจะจัดการปัญหาแบบเดิม ๆ ควรเปลี่ยนรูปแบบการจัดการ เช่น การเปิดอุทยานเพิ่มให้ความรู้ที่ดูแลโดยเอกชน เป็นต้น ตัวอย่างการสนับสนุนชุมชนให้ร่วมอนุรักษ์ เช่น รัฐบาลและ UNDP ของประเทศอินเดียได้มีการจัดตั้งรางวัล Biodiversity Awards และชุมชนที่ป่าแป๋ในจังหวัดลำพูนร่วมกันสร้างแนวป้องกันไฟป่าเอง ดังนั้น ในกรณีบางกลอยถ้ามองในแง่บวก เราอาจสร้างให้เป็นพื้นที่ศึกษาวิจัยเรื่องไร่หมุนเวียนและการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ ให้นักวิชาการและองค์กรต่าง ๆ เข้ามาศึกษา และขยายโจทย์ว่ารวมความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้หรือไม่
ความหลากหลายทางชีวภาพ – ความหลากหลายทางวัฒนธรรม : มุมมองในระดับสากล
เมื่อเราได้แลกเปลี่ยนถึงช่องว่าง ความสัมพันธ์ และสถานการณ์ที่ประเทศไทยเป็นอยู่แล้ว ในช่วงท้ายของการเสวนา คุณสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ ที่ปรึกษากระทรวงวัฒนธรรมและผู้ทรงคณวุฒิในคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วย UNESCO ในความเป็นจริงความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมนั้นอยู่ร่วมกันมายาวนาน มนุษย์อยู่กับธรรมชาติและปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ธรรมชาติก็ให้ทั้งคุณและโทษได้ มนุษย์จึงได้เรียนรู้ที่จะควบคุมธรรมชาติมากขึ้น เช่น การศึกษาเพื่อแยกมนุษย์กับธรรมชาติออกจากกันเป็นวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ อันนี้จึงเริ่มต้นมีปัญหาขึ้น
ในหลายทศวรรษที่ผ่านมามีนักวิชาการนานาชาติมองเห็นปัญหาในการแยกกัน จึงได้มีความพยายามที่จะรวมกันระหว่างความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม โดยจากตารางจะเห็นว่าเริ่มตั้งแต่อนุสัญญาในปี 1972 ซึ่งเป็นอนุสัญญาแรกที่ว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมอยู่ในอนุสัญญาเดียวกัน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้มีการคุ้มครองมรดกผสมระหว่างธรรมชาติและวัฒนธรรมด้วย ต่อจากนั้นในปี 1988 มีการจัดประชุมและออกแถลงการร่วมกันครั้งแรกระหว่างนักมานุษยวิทยาทั่วโลกและคนพื้นเมือง ซึ่งจากพื้นฐานความรู้ดั้งเดิมของคนพื้นเมืองมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของการอนุรักษ์ตามไปด้วย จนทำให้นานาชาติได้หันมาสนใจและศึกษาเพิ่มเติม ต่อมาในปี 2002 ได้มีการประชุมร่วมกันขององค์กรระหว่างประเทศ คือ UNESCO และ UNDP
ประเด็นที่จะต้องคำนึงถึงในการอนุรักษ์ใน 3 ประเด็น คือ 1) Biodiversity anก ecosystem conversation 2) Social well-being และ 3) Sustainable economy ในการศึกษาต่อมาพบว่าประเด็นของสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจนั้นมีส่วนที่ทับซ้อนกันอยู่ทั้งในเรื่อง Viable, Livable และ Equitable ในขณะเดียวกันก็มีจุดร่วมอยู่ที่การมีเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน
การมองความหลากหลายทางวัฒนธรรมเพื่อผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมอยู่ในรูปของ Culture Services เช่น การขายวัฒนธรรมผ่านการจัดทัวร์เข้าวัด การไม่สืบทอดวัฒนธรรมตนเองแต่รับเอาวัฒนธรรมอื่นเข้าแทน และการถ่ายทอดวัฒนธรรมผ่านสถานที่ท่องเที่ยวหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น กล่าวโดยสรุปคือ การเชื่อมโยงความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรจะทำ และอาจทำได้โดยการใช้ภาษาซึ่งเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมที่สำคัญของมนุษย์