รายงานจาก Islamic Research and Training Institute (IRTI) เผยว่ากลุ่มประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามมีความก้าวหน้าที่น่าพอใจสำหรับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ภายในปี 2030 คือมีการบรรลุ SDGs ทั้ง 17 เป้าหมายไปแล้วถึง 61% แต่หนทางไปสู่การบรรลุ SDGs นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ได้ก้าวหน้าไปพร้อมกันทุกประเทศ
รายงานฉบับใหม่นี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2021 IRTI ได้ทำการประเมินการดำเนินการเพื่อบรรลุ SDGs ของ 54 ประเทศสมาชิกกลุ่มธนาคารพัฒนาอิสลาม (Islamic Development Bank: IDB) โดยใช้ข้อมูลจาก Bertelsmann Stiftung และ Sustainable Development Solutions Network (SDSN) เป็นหลัก
ในภาพรวม 54 ประเทศสมาชิกมีความคืบหน้าใน SDG 13 (Climate Action – รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) และ SDG 12 (Responsible Consumption and Production – การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน) มากที่สุด
และมีความคืบหน้าช้าที่สุดใน SDG 9 (Industry, Innovation and Infrastructure อุตสาหกรร มนวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน) SDG 5 (Gender Equality – ความเท่าเทียมทางเพศ) และ SDG 10 (Reduced Inequalities ข ลดความเหลื่อมล้ำ)
จากทั้ง 54 ประเทศ ไม่มีประเทศใดที่มีความคืบหน้าในระดับที่ถือว่าไม่น่าพอใจ (บรรลุ SDGs ต่ำกว่า 40%) แต่มีประเทศเกือบครึ่งหนึ่ง คือ 25 ประเทศที่มีความคืบหน้าต่ำกว่าระดับที่ถือว่าน่าพอใจ (บรรลุ SDGs ต่ำกว่า 60%)
การบรรลุ SDGs ในแต่ละประเทศมีระดับความก้าวหน้าที่แตกต่างกันอย่างมาก เช่น สาธารณรัฐชาด (Chad) มีความก้าวหน้าเพียง 43.8% ในชณะที่สาธารณรัฐคีร์กีซ (Kyrgyzstan) มีความก้าวหน้าถึง 73% ซึ่งแต่ละประเทศก็ให้ความสำคัญกับแต่ละเป้าหมายต่างกันไป
ข้อค้นพบของ IRTI แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่ IDB จะต้องใช้แนวทางการดำเนินงานที่มุ่งเน้นประเด็นปัญหาของแต่ละประเทศเพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการดำเนินงานเพื่อบรรลุ SDGs ให้ทันเวลาในปี 2030
- 10 ประเทศสมาชิก IDB ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุด ตามลำดับ คือ คีร์กีซสถาน อาเซอร์ไบจาน แอลจีเรีย อิหร่าน มาเลเซีย ตูนิเซีย โมร็อกโก คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน และ แอลเบเนีย
ที่มา: Salaam Gateway