Site icon SDG Move

บทเรียนการดำเนินการเพื่อลดอันตรายจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากสามประเทศในยุโรป

การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคยุโรป (WHO European Region) (WHO European Region) สูงที่สุดในโลก ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 1 ล้านคนในแต่ละปี หรือประมาณ 2,500 คนต่อวัน และสัมพันธ์กับการบาดเจ็บและการเกิดโรคร้ายกว่า 200 ชนิด ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประชาชน เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ และมะเร็ง

นโยบายที่มีความคุ้มทุน (Best-Buy Policies) : มีประสิทธิภาพ แต่ใช้น้อย

องค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคยุโรป เสนอ 3 กลยุทธ์มาตรการที่มีความคุ้มทุน คือ จ่ายได้ เป็นไปได้ และคุ้มค่า เพื่อลดอันตรายจากการบริโภคแอลกอฮอล์ ได้แก่

มาตรการเหล่านี้ยังไม่ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย แต่บางประเทศในภูมิภาคยุโรปก็ได้ดำเนินนโยบายที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อลดลดอันตรายต่อสุขภาพที่เกิดจากแอลกอฮอล์ได้สำเร็จ โดยมีตัวอย่างการดำเนินการจากประเทศ ดังต่อไปนี้

ลิทัวเนีย: ดำเนินการอย่างรวดเร็วและครอบคลุม

สกอตแลนด์: เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค

รัสเซีย: ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมจากการต่อสู้ที่ยาวนาน

ข้อมูลล่าสุดขององค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่าระดับการบริโภคแอลกอฮอล์ต่อหัวในประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคยุโรปลดลง 12.5% จากปริมาณ 11.2 ลิตรในปี 2010 เป็น 9.8 ลิตรในปี 2016 มาตการต่างๆ ที่ทำให้การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลงนั้นมีประโยชน์ต่อทั้งสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และเศรษฐกิจของประเทศ

ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อยู่ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
- SDG 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ในประเด็น การเสริมสร้างการป้องกันและการรักษาการใช้ยาเสพติดและแอลกอฮอล์ (3.5)

ที่มา: WHO/Europe

Author

  • Social Media Manager - ตัวแทน 'คนธรรมดา' ในชุมชนนักวิชาการ อ่าน แปล และสื่อสารเรื่องความยั่งยืน

Exit mobile version