Site icon SDG Move

อ่าน ‘The Little Book of Green Nudges’ สะกิดให้เปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อสร้างมหาวิทยาลัยสีเขียว

The Little Book of Green Nudges คือ คู่มือในการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มหาวิทยาลัยผ่านการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ด้วยการ ‘สะกิด’ ให้บุคคลเลือกตัวเลือกที่ส่งเสริมความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแแวดล้อมมากขึ้น ด้วยเทคนิกการโน้มน้าวใจอย่างนุ่มนวล การวางกรอบของตัวเลือก รีเซ็ตการตั้งค่าเริ่มต้น (default option) และควบคุมอิทธิพลทางสังคม คู่มือฉบับนี้ จัดทำโดย โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และได้หน่วยศึกษาข้อมูลเชิงลึกด้านพฤติกรรม หรือ Behavioural Insights Team เป็นผู้เขียน

ส่วนหนึ่งของเนื้อหาใน The Little Book of Green Nudges กล่าวว่า ถ้าต้องการ ‘สะกิด’ ให้คนเปลี่ยนพฤติกรรม ต้องทำให้ตัวเลือกนั้น EAST คือ ง่าย (Easy), น่าดึงดูด (Attractive), เป็นที่นิยม (Social), และถูกที่ถูกเวลา (Timely)

หนังสือเล่มนี้จึงสรุปหลักฐานว่า ‘การสะกิด’ แบบใดที่ทำงานได้ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมและรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ยั่งยืนมากขึ้นในหมู่นักศึกษาและเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในประเด็น การอนุรักษ์พลังงานและน้ำ โภชนการที่ยั่งยืน การลดการใช้วัสดุ การขนส่งที่ยั่งยืน การลดขยะอาหาร การรีไซเคิล และการมีส่วนร่วมและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของสมาชิกในมหาวิทยาลัย โดยมีกรณีศึกษาการแทรกแซงพฤติกรรมจากหลายมหาวิทยาลัยจากหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงโครงการจากมหาวิทยาลัยมหิดล ของประเทศไทยด้วย

กรณีศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล คือ โครงการธนาคารขยะรีไซเคิล ที่ให้นักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัย นำขยะรีไซเคิลมาฝากขายที่ธนาคาร โดยสามารถทำธุรกรรมได้คล้ายระบบธนาคารทั่วไป สมาชิกจะได้รับสมุดบัญชีเพื่อบันทึกการฝากขยะและถอนยอดเงินจากการขายขยะได้ ซึ่งวิธีนี้กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจเพื่อฝากขยะเพราะได้เห็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นในสมุดเงินฝากทุกครั้ง โครงการประสบความสำเร็จในการช่วยแก้ปัญหาขยะในพื้นที่มหาวิทยาลัยได้ และมีการต่อยอดไปปรับใช้ในโรงเรียนและชุมชนต่างๆ ด้วย

หนังสือเล่มนี้เสนอ 40 เทคนิกการสะกิดเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม สร้างมหาวิทยาลัยสีเขียวที่ทุกสถาบันศึกษาสามารถทำได้ทันที โดยมีตัวอย่าง ดังนี้

ดาวน์โหลด The Little Book of Green Nudges ในภาษาอังกฤษ

การสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัย เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
- SDG 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ ในประเด็น เน้นให้ทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน (4.7)
- SDG 12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ในประเด็น การจัดการและการใช้ทรัพยากรธรรมธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน (12.2), การลดของเสียที่เป็นอาหาร (food waste) (12.3), ลดการปล่อยสารเคมีและของเสียเป็นพิษออกสู่ธรรมชาติและจัดการอย่างถูกต้อง (12.4), ลดของเสียโดยกระบวนการ reuse และ recycle (12.5) และ การสร้างความตระหนักถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคม (12.8) 

ที่มา: UNEP, IISD SDG Knowledge

Author

  • Social Media Manager - ตัวแทน 'คนธรรมดา' ในชุมชนนักวิชาการ อ่าน แปล และสื่อสารเรื่องความยั่งยืน

Exit mobile version