SDG Updates | เปิดรายงานพันธมิตรบริษัทยักษ์ใหญ่ชี้ LGBT+ เป็นกลุ่มคนสำคัญที่มีผลต่ออนาคตธุรกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน

แม้ในระดับตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) จะไม่ได้ระบุประเด็นเกี่ยวกับผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT+) เอาไว้อย่างตรงไปตรงมาด้วยความละเอียดอ่อนในกระบวนการเจรจา เนื่องจากยังมีหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติยังคงมีความอ่อนไหวเชิงความเชื่อเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ  เพื่อให้ประเทศเหล่านี้ยินดีที่จะลงนามเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเป้าหมาย SDGs จึงมิได้มีการระบุถ้อยคำอย่าง ‘LGBT+’ อย่างชัดเจน แต่ประเด็นเหล่านี้ล้วนถูกแฝงอยู่ภายใต้หลักการเบื้องหลังไม่ว่าจะเป็น หลักการพัฒนาที่ครอบคลุม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Leave no one behind) ที่ต้องการให้ทุกการดำเนินงานคำนึงถึงคนทุกกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มเปราะ กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และแน่นอนว่าผู้มีความหลากหลายทางเพศก็เป็นกลุ่มคนที่โลกต้องคำนึงถึงด้วย    

เนื่องในเดือนแห่งความหลากหลายทางเพศ SDG Move ขอเริ่มต้นเดือนด้วยการอัปเดตสิ่งที่บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่างกูเกิล ไมโครซอฟท์ อีเกีย และอีก 29 บริษัทที่รวมตัวกันในนาม Open For Business กลุ่มพันธมิตรที่เกิดจากการรวมตัวของบริษัทระดับโลกเพื่อบอกกับทุกคนว่าการทำให้โลกยอมรับในความหลากหลาย และทุกคนเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียมนั้นเป็นวิถีทางที่ดีกว่าสำหรับธุรกิจ และการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยพวกเขาได้เผยแพร่รายงาน BUSINESS PRIMER LGBT+ Inclusion and the UN Sustainable Development Goals ซึ่งนอกจากจะสำรวจสถานการณ์ ความท้าทายที่ผู้มีความหลากหลายทางเพศต้องเผชิญพร้อมเชื่อมโยงประเด็นความเกี่ยวข้องกันของ LGBT+ กับ SDGs เป้าหมายต่าง ๆ แล้ว รายงานฉบับนี้ยังได้นำเสนอสถิติที่น่าสนใจ และอาจช่วยให้ภาคธุรกิจหันมาจริงจังกับการส่งเสริมความหลากหลายทางเพศมากขึ้น

01  LGBT+ เป็นกลุ่มคนที่ต้องเผชิญกับความยากจน ความไม่มั่นคงทางอาหาร และการตกงานสูง

LGBT+ เป็นกลุ่มคนที่ต้องเผชิญกับความยากจน ความไม่มั่นคงทางอาหาร และการตกงานสูง ผลการศึกษาจากรายงาน Sexuality and Poverty Synthesis Report โดยสถาบัน Institute of Development Studies[1] ความต้องการทางเพศที่ไม่เป็นบรรทัดฐาน กล่าวคือ ความสัมพันธ์ที่ไม่ใช่ระหว่างหญิงชายตามขนบนั้น มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมหรือประสบการณ์เผชิญกับความยากจน ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการเลือกปฏิบัติ การจำกัดการเข้าถึง หรือการมีส่วนร่วมของ LGBT+ โดยทุกประเทศที่ทีมวิจัยได้ศึกษาความรุนแรง การเลือกปฏิบัติและการตีตราทางสังคมอันนำมาสู่การจำกัดการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ของ LGBT + ในระบบเศรษฐกิจนั้นเป็นการลดผลผลิตทางเศรษฐกิจลง

แม้แต่ในประเทศที่มีรายได้สูง ซึ่งมีกฎหมายและนโยบายที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของ LGBT+ กลุ่มคนเหล่านี้ก็ยังถูกเลือกปฏิบัติทางสังคมกลายเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผลักให้คนกลุ่มนี้มีโอกาสที่ต้องเผชิญความยากจนสูงกว่าเมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป ผลการศึกษาของสหรัฐอเมริการะบุว่า รายได้ของชายผู้รักเพศเดียวกัน มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนของรัฐบาลกลางมากกว่าชายรักต่างเพศ ขณะที่อัตราความยากจนของผู้หญิงในคู่รักเพศเดียวกันนั้นสูงกว่าเมื่อเทียบกับเพศตรงข้ามผู้ชาย ในแคนาดาผลการวิจัยพบว่าเกย์มีรายได้ส่วนตัวต่ำกว่า 12% มากกว่าผู้ชายรักต่างเพศ ส่วนการศึกษาทั่วสหภาพยุโรปเปิดเผยว่าอัตราการว่างงานในกลุ่ม LGBT+ อยู่ที่ 15%  ซึ่งสูงกว่าประชากรทั่วไป 4.5% ในเวลานั้น

ตัวเลขเหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นว่า LGBT+ เป็นกลุ่มที่ต้องเผชิญกับความยากจนหรือมีโอกาสที่จะถูกผลักให้กลายเป็นคนจนได้ง่ายกว่าคนรักต่างเพศ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการบรรลุ SDG 1.1 ขจัดความยากจนทั้งหมด ซึ่ง ในปัจจุบันวัดจากคนที่มีค่าใช้จ่ายดำรงชีพรายวันต่ำกว่า 1.25 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 60 บาทต่อวัน ภายในปี 2573

02  โควิด 19 ทำให้ LGBT+ หลายกลุ่มดูแลสุขภาพได้ยากขึ้นและเสี่ยงที่ต้องเผชิญกับภาวะสุขภาพจิตไม่ดี

การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ทำให้กลุ่ม LGBT+ มีคุณภาพชีวิตและความสามารถทางเศรษฐกิจที่เลวร้ายกว่าเดิมซึ่งมักได้รับความไม่เท่าเทียมอยู่แล้ว เมื่อพวกเขามีสูญเสียรายได้ ขาดความมั่นคงทางอาหารสิ่งที่จะตามมาคือ สุขภาพจิตไม่ดี ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความยุ่งยากในการเข้ารับการรักษามากขึ้น ส่งผลให้ขาดความต่อเนื่อง ประกอบกับโครงสร้งที่กดทับและการตีตราของสังคมว่า LGBT+ เป็นผู้แพร่เชื้อเอชไอวีอยู่ทุนเดิมก็ยิ่งกลายเป็นปัจจัยที่บีบคั้นกลุ่มคนเหล่านี้มากขึ้น การศึกษาจำนวนมากพบว่าในหมู่ LGBT+ มีภาระสุขภาพจิตที่ไม่ดีในระดับที่เข้มข้นกว่าเมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป จากการตรวจสอบอย่างเป็นระบบพบว่าเลสเบี้ยน เกย์และ
ไบเซ็กชวลมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล มีความคิดฆ่าตัวตายและทำร้ายตัวเองโดยเจตนา

ประเด็นเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบโดยตรงต่อ SDG 3.3 ยุติการแพร่กระจายของโรคเอดส์ วัณโรค มาลาเรียและโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และยับยั้งการแพร่เชื้อ โรคตับอักเสบ โรคติดต่อทางน้ำลาย และโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี 2573 และ SDG 3.4 ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อให้ลดลงหนึ่งในสามผ่านทางการป้องกันและการรักษาโรคและส่งเสริมสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี ภายในปี 2573

03 นักเรียน LGBT+ ยังต้องเผชิญกับการถูกกลั่นแกล้งและเลือกปฏิบัติ หากไม่ปฏิบัติตนตามบรรทัดฐานทางเพศ

หลายประเทศยังคงมีนโยบายทางการศึกษาที่ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติและทัศนคติทางสังคมที่ไม่เป็นมิตรยังคงมีอยู่ในบริบทการศึกษา ดังนั้น นักเรียน LGBT+ ต้องเผชิญกับการถูกเลือกปฏิบัติและความรุนแรงในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของทั้งจากเพื่อนและครู ซึ่งอาจเกิดขึ้นทั้งในแบบที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์และ การจงใจ Global Education Monitoring Report โดย UNESCO  ระบุว่ามีสถานศึกษาในระดับประถมศึกษา 66% ของประเทศที่มีความยืดหยุ่น และนักเรียนได้รับความเท่าเทียมทางเพศ  ต่ำกว่า 45% ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและ 25% ในมัธยมศึกษาตอนปลาย  ขณะเดียวกันก็มีผู้ชายที่มีฐานะยากจนเพียง 12% ของผู้ชายที่ยากจนที่สุดและ 8% ของผู้หญิงที่ยากจนที่สุดเท่านั้นท่ามารถเรียบจบระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3)

ทั้งนี้ ในการสำรวจดังกล่าวเน้นไปที่ความไม่เสมอภาคตามเพศและความมั่งคั่งของฐานะ ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับรสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ อย่างไรก็ตาม ก็เป็นที่ชัดเจนว่าการจัดการศึกษานั้นยังกำหนดนโยบายที่เอื้อให้เกิดการเลือกปฏิบัติและบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมที่เป็นอันตรายส่งผลนักเรียนเหล่านี้มักเผชิญกับการถูกกลั่นแกล้งและการเลือกปฏิบัติในสถานศึกษาหากพวกเขาไม่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางเพศ ซึ่งส่งผลกระทบในทางลบต่อ SDG 4.3 ให้ชายและหญิงทุกคนเข้าถึงการศึกษาวิชาเทคนิคอาชีวศึกษา อุดมศึกษารวมถึงมหาวิทยาลัยในราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้และมีคุณภาพ ภายในปี 2573 และ SDG 4.5 ขจัดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาระหว่างชายและหญิง และสร้างหลักประกันว่ากลุ่มที่เปราะบาง ซึ่งรวมถึงผู้พิการ ชนพื้นเมือง และเด็ก เข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพทุกระดับอย่างเท่าเทียม ภายใน ปี 2573

04 เลสเบี้ยน หญิงข้ามเพศยังคงเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดทางเพศเพราะเจตนา ‘แก้ไข’ เพศของเหยื่อ

ผู้หญิงเลสเบี้ยน และคนข้ามเพศมีความเสี่ยงสูงสำหรับความรุนแรงหลายรูปแบบทั้งจากครอบครัว และสังคมความรุนแรงทางเพศมักกลายเป็นอาชญากรรมที่มีเหยื่อเป็นผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางเพศ ส่งผลให้เลสเบี้ยนและผู้และคนข้ามเพศต้องเผชิญกับความรุนแรง ที่สำคัญอัตราการล่วงละเมิดทางเพศที่สูงขึ้นในผู้หญิงเลสเบี้ยนและผู้หญิงข้ามเพศมีเจตนาที่ผิดเพื่อ “แก้ไข” เรื่องเพศของเหยื่อ การสำรวจคนข้ามเพศในสหรัฐอเมริกาพบว่า 47% ของผู้ตอบแบบสอบถามถูกล่วงละเมิดทางเพศในช่วงหนึ่งของชีวิตเพิ่มขึ้น และ 53% ในกลุ่มผู้ตอบเป็นทรานส์ที่มีผิวดำ นอกจากนี้ยังมี 42 ประเทศทั่วโลกที่ลงโทษผู้มีความสัมพันธ์เพศเดียวกันอย่างชัดเจนระหว่างผู้หญิงซึ่ งทำให้เลสเบี้ยนและกะเทยเสี่ยงต่อการถูกจับกุมดำเนินคดีด้วยความโหดเหี้ยม

ประเด็นเหล่านี้ล้วนส่งผลลบต่อการบรรลุ SDG 5.2 ขจัดความรุนแรงทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิงทั้งในที่สาธารณะและที่ส่วนบุคคล รวมถึงการขจัดการค้ามนุษย์ การแสวงหาประโยชน์ทางเพศและการแสวงประโยชน์ในรูปแบบอื่น SDG 5.5 สร้างหลักประกันว่าผู้หญิงจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ และมีโอกาสเท่าเทียมในการเป็นผู้นำในทุกระดับของการตัดสินใจในทางการเมือง เศรษฐกิจ และภาคสาธารณะ

05 การได้งานที่เหมาะสมนั้นเป็นเรื่องพื้นฐานของทุกคน แต่สำหรับคนข้ามเพศเพื่อให้ได้รับความเท่าเทียมอาจต้องได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษ

การได้งานที่เหมาะสมนั้นเป็นเรื่องพื้นฐานของทุกคน แต่สำหรับคนข้ามเพศเพื่อให้ได้รับความเท่าเทียมอาจต้องได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษ จากการสำรวจในสหรัฐอเมริกา คนข้ามเพศประสบปัญหาการว่างงานเป็นสองเท่าของอัตราการว่างงานของประเทศ โดยที่คนผิวสีมีโอกาสว่างงานถึงสี่เท่าของอัตราของประเทศโดย 90% มีประสบการณ์ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมหรือการเลือกปฏิบัติในงาน และ 47% มีผลงานที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ถูกไล่ออก ไม่ได้รับการว่าจ้าง หรือปฏิเสธการเลื่อนตำแหน่งเพราะถูกคนข้ามเพศหรือเพศที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด   อย่างไรก็ตาม การศึกษาแบบเปิดสำหรับธุรกิจที่ดำเนินการโดย Boston Consulting Group มีผลการวิเคราะห์ที่น่าสนใจ จาก 96 บริษัทที่เติบโตเร็วที่สุดซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในตลาดเกิดใหม่พบว่า บริษัทต่างๆที่มีนโยบายสนับสนุนเปิดรับ LGBT+ มักจะดึงดูดและรักษาผู้มีความสามารถระดับสูงได้ดีด้วยการสร้างสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย สนับสนุนและไม่เลือกปฏิบัติ

06 ธุรกิจไม่ต้องกลัวที่จะสนับสนุน LGBT+ แต่ควรกังวลหากยังคงต่อต้าน เพราะมุมมองของผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนไป

Open for business ได้รับการมอบหมายให้ทำการสำรวจของทัศนคติผู้บริโภคระหว่างสหรัฐฯ และผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรต่อบริษัท ที่ทำธุรกิจในประเทศที่ต่อต้าน LGB & T ผลลัพธ์ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในรายงานนี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นที่นิยมว่าผู้บริโภคให้การรับรองและสนุบสนุน LGB & T  อีกทั้งยังสนับสนุนการคว่ำบาตรเพื่อให้องค์กรที่ยังมีการเลือกปฏิบัติให้เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการจ้างงาน กล่าวคือ

  • เกือบ 47.5% สนุบสนุนให้คว่ำบาตรบริษัทที่ยังคงทำงานในประเทศที่มีกฎหมายกีดกัน/ต่อต้านผู้มีความหลากหลายทางเพศ
  • กว่าครึ่งหนึ่ง (52.5%) ไม่อยากให้การสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาที่มีกฎหมายต่อต้านผู้มีความหลากหลายทางเพศ
  • 52% ไม่ต้องการทำงานในประเทศที่มีกฎหมายต่อต้านผู้มีความหลากหลายทางเพศ
  • 42.5% จะไม่ซื้อสินค้า เช่น กาแฟ จากประเทศที่มีกฎหมายต่อต้านผู้มีความหลากหลายทางเพศ
  • 51% จะไม่ไปท่องเที่ยว/พักร้อนในประเทศที่มีกฎหมายต่อต้านผู้มีความหลากหลายทางเพศ

ทั้งหมดนี้เป็นสถิติที่เราหยิบยกมาเพื่อแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ ความท้าทายของปัญหาความเท่าเทียมทางเพศที่สังคมโลกเรากำลังเผชิญ ขณะเดียวกันก็ยังมีข้อเท็จจริงที่เป็นสัญญาณที่ดีและสะท้อนว่าโลกยังพยายามเบนเข็มไปในทิศทางที่เปิดรับความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้จะบรรลุผลจริงได้ต้องอาศัยการผลักดันอย่างจริงจังจากทุกภาคส่วน สำหรับภาคธุรกิจเป็นภาคส่วนที่มีศักยภาพทางแหล่งทุน ทรัพยากรและมีความใกล้ชิดกับปัญหากล่าวคือ มีกลุ่ม LGBT+ เป็นทั้งผู้บริโภคเป็นแรงงานที่จะเข้ามาขับเคลื่อนธุรกิจ ข้อมูลจากรายงานฉบับนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยยืนยันถึงความสำคัญของการเอาใจใส่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทาทางเพศที่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

สำหรับผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดของรายงานฉบับเต็มได้ที่ BUSINESS PRIMER LGBT+ Inclusion and the UN Sustainable Development Goals

คำนิยามทางเพศ โดย สสส.

[1] Hawkins, K., Wood, S., Charles, T., He, X., Li, Z., Lim, A., Mountian, I., and Sharma, J., (2014). Sexuality and Poverty Synthesis Report. Institute of Development Studies

Last Updated on มิถุนายน 1, 2021

Author

  • Pimnara Intaprasert

    Editor | คนทำงานข้ามสายที่ชอบมองภาพใหญ่และอยากเห็นงานพัฒนามองทุกศาสตร์อย่างเชื่อมโยง

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น