เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ที่ผ่านมา เม็กซิโกได้จัดการเลือกตั้งกลางเทอม (midterm election) และในครั้งนี้มีผู้สมัครจากชุมชน LGBTQ มากกว่า 100 คน เพื่อชิงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 500 ที่นั่ง ผู้ว่าการรัฐ 15 แห่ง และผู้นำท้องถิ่นอีกหลายพันตำแหน่ง โดยมีชาวเม็กซิโกมีสิทธิ์ลงคะแนนโหวตประมาณ 93.5 ล้านคน
ผู้สมัครทั้งหมด 117 คนหรือเกือบ 2% ของผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งทั้งหมด 6,000 คนได้ตอบแบบสอบถามโดยสถาบันการเลือกตั้งแห่งชาติ INE ระบุว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ โดยมีทั้งเกย์ เลสเบี้ยน และบุคคลข้ามเพศ ซึ่งเป็นจำนวนตัวเลขที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งของเม็กซิโก
ประเทศละตินอเมริกาส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก จำนวนตัวเลขผู้สมัครรับเลือกตั้งจากชุมชน LGBTQ ในครั้งนี้ ทำให้นักเคลื่อนไหว นักวิเคราะห์ และสมาชิกชุมชน LGBTQ กล่าวว่านี่เป็นการส่งสัญญาณว่าการซ่อนอัตลักษณ์ทางเพศเพื่อประกอบอาชีพทางการเมืองได้จบสิ้นแล้ว
เมื่อปี 2014 รัฐบาลกลางเม็กซิโกเปลี่ยนแปลงกฎหมายการเลือกตั้งทั้งในระดับส่วนกลางและระดับท้องถิ่นให้พรรคการเมืองต้องเสนอรายชื่อผู้สมัครลงสมัครทั้งเพศชายและเพศหญิงในจำนวนที่เท่ากัน และกฎใหม่เมื่อเดือนมกราคม 2021 ได้เพิ่มข้อกำหนดว่าต้องเสนอชื่อผู้สมัครจากกลุ่มประชากรที่เปราะบาง เช่น ชนพื้นเมือง และกลุ่ม LGBT ด้วย
พรรคการเมืองขนาดเล็ก เช่น Citizen Movement, Progressive Social Networks และ Democratic Revolution มีผู้สมัคร LGBTQ ลงรับเลือกตั้งหลายสิบคน สูงกว่าจำนวนขั้นต่ำที่กำหนดโดยหน่วยงานเลือกตั้ง ในขณะที่พรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่สุดมีจำนวนผู้สมัคร LGBTQ ถึงจำนวนที่กำหนดเท่านั้น
โดยพรรค Citizen Movement มีผู้สมัคร LGBTQ มากที่สุด ประกอบด้วย ผู้สมัครที่เป็นเกย์ 51 คน เลสเบี้ยน 26 คน บุคคลข้ามเพศ 16 คน และผู้หญิงที่เป็นไบเซกชวล 4 คน
ตัวแทนทางการเมืองจากชุมชน LGBTQ เกี่ยวข้องกับ SDGs ในเป้าหมาย ..
- SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ ในประเด็น การมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และมีประสิทธิผลในการเป็นผู้นำและการตัดสินใจในทุกระดับ (5.5)