Site icon SDG Move

อ่านรายงานล่าสุด ‘สถานะสภาพภูมิอากาศของโลก 2563’: ดู Climate Change ว่าเป็นอย่างไรในช่วง 28 ปีที่ผ่านมา

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization) เคยได้ออก ‘สถานะของสภาพภูมิอากาศ’ เอาไว้เมื่อปี 2536 และล่าสุดปีนี้ ได้เผยแพร่ ‘สถานะของสภาพภูมิอากาศ 2563’ (State of the Global Climate 2020) โดยข้อมูลซึ่งเก็บมาร่วม 28 ปีบนฐานของภูมิอากาศวิทยาและกฎธรรมชาติ ตลอดจนตัวชี้วัดหลักและข้อมูลผลกระทบที่ปรากฎในรายงานเล่มนี้ ได้เผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญและหนักหน่วงตลอดช่วงเวลาหลายปี อาทิ อุณหภูมิทางบกและทะเลสูงขึ้น ระดับน้ำทะเลสูงขี้น ความเป็นกรดในทะเลสูงขึ้นอันเป็นผลมาจากการดูดซับก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ ธารน้ำแข็งและน้ำแข็งทะเลละลาย รูปแบบการเกิดหยาดน้ำฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงว่าภัยพิบัติที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะน้ำท่วม ภัยแล้ง หรือไฟป่า ที่ทำให้มีการสูญเสียและความเสียหายร้ายแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อผู้คน การพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ การอพยพโยกย้ายถิ่นฐานและการพลัดถิ่น ความมั่นคงทางอาหาร และระบบนิเวศทางบกและทางทะเล

ข้อมูลจากรายงานโดยสังเขป มีดังนี้

1 – ก๊าซเรือนกระจก

2 – อุณหภูมิโลก



เข้าถึงรายงานได้ที่ : State of Global Climate 2020

3 – เหตุการณ์รุนแรงขึ้น

4 – ความร้อนของมหาสมุทร

5 – ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น

เข้าถึงรายงานได้ที่ : State of Global Climate 2020

6 ธารน้ำแข็งละลาย

7 ความเป็นกรดในมหาสมุทร

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแต่ละมิติที่มีต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เข้าถึงรายงานได้ที่ : State of Global Climate 2020

โดยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้คนต้องอพยพโยกย้ายถิ่นฐานหรือพลัดถิ่นจากพื้นที่ที่เปราะบางจากสภาพภูมิอากาศหรือภัยพิบัติที่รุนแรง ซึ่งในช่วงปี 2553 – 2562 เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับอากาศเป็นเหตุให้คนต้องพลัดถิ่นราว 23.1 ล้านคนต่อปีโดยเฉลี่ย โดยประมาณ 9.8 ล้านคนที่พลัดถิ่นอยู่ในบริเวณเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแหลมแอฟริกา (ข้อมูลครึ่งปีแรกของ 2563)

อ่านต่อเรื่อง Climate Migration ที่ : https://www.sdgmove.com/2021/03/18/anyone-can-face-climate-migration/

และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติยังเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่กระทบทำให้เกิด ‘ความไม่มั่นคงทางอาหาร’ ด้วย

ดังนั้น เพื่อที่จะลดผลกระทบเชิงลบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประชากรโลกจะต้องช่วยกันประคองอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอยู่นี้ให้คงที่ระดับ 1.5 องศาเซลเซียสจากปีก่อนยุคอุตสาหกรรม หมายถึงทั่วโลกจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 45% จากระดับในปี 2553 ภายในปี 2573 และผลักดันไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2593

‘เรามีเทคโนโลยีที่จะช่วยเราได้ แต่ความมุ่งมั่นและการลงมือทำของโลกตอนนี้ยังคงช้ากว่าที่จำต้องทำ’ – António Guterres, เลขาธิการ UN

● เข้าถึง Climate Indicators Storymap

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG13 ในด้านสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภุมิอากาศและภัยพิบัติมีความเสี่ยงและผลกระทบต่อ #SDG1 ความยากจนที่เพิ่มขึ้น #SDG2 ความไม่มั่นคงทางอาหาร #SDG3 ปัญหาสุขภาพ #SDG6 ขาดแคลนน้ำ #SDG9 โครงสร้างพื้นฐานได้รับความเสียหาย #SDG10 ความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้น #SDG11 กระทบต่อเมืองและทำให้เกิดการพลัดถิ่นของประชากร #SDG14 น้ำทะเลสูงขึ้น-ความเป็นกรดในทะเลย่อมกระทบกับระบบนิเวศในทะเล #SDG15 การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต และ #SDG16 อาจนำมาซึ่ง ‘ความขัดแย้ง’

แหล่งที่มา:
https://reliefweb.int/report/world/state-global-climate-2020
https://public.wmo.int/en/our-mandate/climate/wmo-statement-state-of-global-climate
https://knowledge4policy.ec.europa.eu/publication/state-global-climate-2020_en

Author

  • Editor | อยากรู้ความคิดของคนต่างพื้นเพ ต่างสังคมและวัฒนธรรม สนใจความเป็นไปของโลก ความมั่นคง และการพัฒนา แล้วนำมาถ่ายทอดร้อยเรียงเรื่องราวเล่าให้ฟัง

Exit mobile version