Site icon SDG Move

‘การตายมากกว่า 1 ใน 100 รายทั่วโลก เป็นการฆ่าตัวตาย’ ตัวเลขการประมาณล่าสุดของ WHO ในปี 2019

การฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกที่ร้ายแรง มีผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายมากถึง 703,000 คน ทั่วโลก โดยเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตสูงกว่ามาลาเรีย เอชไอวี/เอดส์ มะเร็งเต้านม หรือสงครามและการฆาตกรรม ในปี 2019 การเสียชีวิตมากกว่า 1 ใน 100 ราย (1.3%) เป็นผลมาจากการฆ่าตัวตาย

องค์การอนามัยโลกเผยแพร่เอกสาร Suicide worldwide in 2019Global Health Estimates ซึ่งประมาณการอัตราการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายล่าสุด สำหรับปี 2000-2019

การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 4 ในประชากรอายุ 15-29 ปี ในปี 2019 รองจาก การบาดเจ็บบนท้องถนน วัณโรค และความรุนแรงระหว่างบุคคล

เมื่อพิจารณาตามเพศ ข้อมูลล่าสุดพบว่า ผู้ชายเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายมากกว่าผู้หญิงมากกว่าสองเท่า (12.6 ต่อประชากรชาย 100,000 คน เทียบกับ ผู้หญิง 5.4 ต่อประชากรหญิง 100,000 คน) อัตราการฆ่าตัวตายในผู้ชายโดยทั่วไปจะสูงกว่าในประเทศที่มีรายได้สูง (16.5 ต่อประชากรชาย 100,000 คน) สำหรับผู้หญิง อัตราการฆ่าตัวตายสูงสุดพบได้ในประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงต่ำ (7.1 ต่อประชากรหญิง 100,000 คน)

ในระดับภูมิภาค อัตราการฆ่าตัวตายในภูมิภาคแอฟริกา (11.2 ต่อประชากร 100,000 คน) ยุโรป (10.5 ต่อประชากร 100,000 คน) และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (10.2 ต่อประชากร 100,000 คน) สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก (9.0 ต่อประชากร 100,000 คน) ในปี 2019 การฆ่าตัวตายต่ำสุดอยู่ในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก (6.4 ต่อประชากร 100,000)

อัตราการฆ่าตัวตายปรับมาตรฐานอายุ ของประเทศไทย อยู่ที่ 8.0 ต่อ ประชากร 100,000 คน

ในช่วงเวลา 20 ปี ระหว่าง ปี 2000 – 2019 อัตราการฆ่าตัวตายทั่วโลก ลดลง 36% โดยอัตราส่วนการลดลงมีตั้งแต่ 17% ในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก ไปจนถึง 47% ในภูมิภาคยุโรปและ 49% ในภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคเดียวที่มีออัตราการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้น คือ ภูมิภาคอเมริกา ที่สูงขึ้นถึง 17%

การฆ่าตัวตายป้องกันได้ พร้อมกันนี้ องค์การอนามัยโลกได้ออกเอกสาร LIVE LIFE implementation guide for suicide prevention in countries คำแนะนำที่ครอบคลุมสำหรับการดำเนินการป้องกันการฆ่าตัวตายเพื่อนำไปใช้ในแต่ละประเทศ โดยมีสี่กลยุทธ์ที่สำคัญคือ

ประเด็นสุขภาพจิต การฆ่าตัวตาย อยู่ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ใน SDG3.4 ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อและสนับสนุนสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี

ที่มา : WHO

Author

  • Social Media Manager - ตัวแทน 'คนธรรมดา' ในชุมชนนักวิชาการ อ่าน แปล และสื่อสารเรื่องความยั่งยืน

Exit mobile version