Site icon SDG Move

การวิเคราะห์ข้อมูล เปิดเผยว่าหากต้องการลดความเหลื่อมล้ำในอนาคต ต้องจัดการกับ SDG ใดบ้าง ?

ในงานสัมมนาวิชาการ EconTU Symposium ประจำปี 2564 ครั้งที่ 43 ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้หัวข้อ ‘ก้าวต่อไปเพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน’ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณเฑียร สติมานนท์ จากศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP) ได้นำเสนอบทความ ‘ความเชื่อมโยงระหว่างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมลํ้าและความยั่งยืนในประเทศเอเชียตะวันออก’ ที่นำเสนอผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคำตอบว่า หากต้องการจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องจัดการประเด็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายใด ในลำดับก่อนหรือหลังอย่างไรบ้าง

ผศ. ดร.มณเฑียร ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายแหล่ง ทั้ง SDGs Report 2019-2020, SGDs Database, Oxford Our World in Data, United Nations: WIID Database และ WID: World Inequality Database โดยใช้วิธีการ Supervised Machine Learning เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลปัจจัยที่จะช่วยความลดความเหลื่อมล้ำในหลายๆ ประเทศ

ข้อค้นพบที่สำคัญคือ ในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ จะต้องดำเนินการตาม SDG ในหลายๆ เป้าหมายไปพร้อมกัน เนื่องจากแต่ละเป้าหมายฯ มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยสามารถส่งเสริม ทดแทนกันในการลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำได้ นอกจากการดำเนินงานตามเป้าหมายแบบเดี่ยวแล้ว ผู้วิจัยยังเสนอการจัดการประเด็นตาม SDG แบบจับคู่เป้าหมาย ที่จะลดความเหลื่อมล้ำและส่งเสริมให้เกิดการลดความเหลื่อมล้ำได้ดีที่สุด

การนำเสนอบทความได้วิเคราะห์ข้อมูลโลกก่อนและหลังการเกิดภาวะระบาดใหญ่ของโควิด-19 ซึ่งได้แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของเป้าหมายและการจัดลำดับเป้าหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำให้มีประสิทธิภาพที่สุด

แต่ไม่ว่าจะอยู่ในอนาคตรูปแบบใด เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะประเด็นความเหลื่อมล้ำ จำเป็นต้องโฟกัสที่ #SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ทีดี่ เป็นเป้าหมายในลำดับสำคัญที่สุด

อ่านสรุปฉบับเต็มของบทความ ‘ความเชื่อมโยงระหว่างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมลํ้าและความยั่งยืนในประเทศเอเชียตะวันออก’ รวมทั้งรับชมบันทึกงานสัมมนาวิชาการ EconTU Symposium ประจำปี 2564 ที่ WAY Magazine

Author

  • Social Media Manager - ตัวแทน 'คนธรรมดา' ในชุมชนนักวิชาการ อ่าน แปล และสื่อสารเรื่องความยั่งยืน

Exit mobile version