เมื่ออินฟลูเอ็นเซอร์หรือบุคคลสาธารณะบริโภคหรือสนับสนุนสินค้าที่ไม่ดีต่อสุขภาพ อาจส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภค ทัศนคติ และความชอบด้านอาหารของคนที่ติดตามได้อย่างมีนัยยะสำคัญ
ค่าใช้จ่ายเพื่อการโฆษณาสินค้าที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น อาหารและเครื่องดื่มที่มีเกลือ ไขมัน และน้ำตาลสูง จากแบรนด์ใหญ่ ๆ ผ่านการตลาดดิจิทัลยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้ผลิตเน้นดึงดูดบุคคลสาธารณะหรืออินฟลูเอ็นเซอร์บนโซเชียลมีเดียให้เป็นผู้โฆษณาสินค้า โดยอาศัยช่องว่างของการควบคุมการโฆษณาบนพื้นที่ออนไลน์ในการส่งเสริมสินค้าที่ไม่ดีต่อสุขภาพนี้ให้ผู้ติดตามทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นเด็กและเยาวชน
การบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม ทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไป และแม้แต่การบริโภคน้ำอัดลมที่ไม่มีน้ำตาล (sugar free) มากเกินไป ก็อาจทำให้ปริมาณพลังงานโดยรวมที่ได้รับต่อวันสูงเกินค่าที่เหมาะสม และลดสัดส่วนโภชนาการที่จะได้รับจากอาหารที่ดีต่อสุขภาพไป ซึ่งทั้งหมดนี้อาจเป็นสาเหตุการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ทั้งโรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตทั่วโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคยุโรป
การตลาดของอาหารและเครื่องดื่มที่มีไขมันอิ่มตัวสูง กรดไขมันทรานส์สูง มีปริมาณน้ำตาลและเกลือสูง มีอิทธิพลต่อความรู้ ทัศนคติ ความชอบ และพฤติกรรมการทานอาหารของเด็ก นำมาสู่การเกิดโรคอ้วนในเด็กซึ่งเป็นสถานการณ์ด้านสุขภาพที่มีความท้าทายอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคยุโรป
องค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคยุโรปได้มุ่งมั่นที่จะพัฒนาวิธีการติดตามและจำกัดการตลาดหรือโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ดีต่อสุขภาพเด็ก โดยจะต้องมีการตรวจสอบนโยบายปัจจุบันรวมถึงทำงานร่วมกับอินฟลูเอ็นเซอร์บนพื้นที่ออนไลน์อย่างเหมาะสมสำหรับแนวทางการส่งเสริมสุขภาพผ่านพื้นที่บนโลกดิจิทัล
อ่านรายงาน ‘Monitoring and restricting digital marketing of unhealthy products to children and adolescents‘ โดย องค์การอนามัยโลก
อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ หนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรค NCDs เกี่ยวข้องกับ SDGs ใน #SDG3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ในประเด็น ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อ (3.4
ที่มา : WHO
Last Updated on กรกฎาคม 9, 2021