เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา ณ กรุงเวนิส อิตาลี ที่ประชุมของกลุ่ม G20 ได้เตือนถึงปัญหาการเพิ่มขึ้นของสายพันธุ์ไวรัสโคโรน่า 2019 และปัญหาการเข้าถึงวัคซีนที่ด้อยคุณภาพในประเทศกำลังพัฒนา ว่าจะส่งผลให้การฟื้นฟูของเศรษฐกิจโลกเป็นไปได้ยากขึ้น
ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกมีท่าทีจะฟื้นตัวตั้งแต่การประชุมรอบล่าสุดเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เนื่องจากได้มีการเร่งฉีดวัคซีนและการออกมาตราการเยียวยาทางเศรษฐกิจ แต่วัคซีนเหล่านี้ที่มีอยู่ก็ไม่อาจจะรับมือกับสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว (อาทิ สายพันธุ์เดลต้า) ได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ก่อนหน้า อีกทั้งการฟื้นตัวในแต่ละที่ไม่ว่าจะเป็นทั้งภายในและระหว่างประเทศนั้นก็ยังไม่เท่ากัน และยังเสี่ยงต่อการกลับมาเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอีกครั้ง เนื่องจากการแพร่กระจายของไวรัสสายพันธ์ใหม่และการเร่งฉีดวัคซีนที่ไม่เท่าเทียมกัน
ทั้งนี้ สำหรับกลุ่มประเทศ G20 ก็ได้ให้คำมั่นว่าจะระดมใช้เครื่องมือทางนโยบายทั้งหมดเพื่อต่อสู้กับโรคระบาด แต่มีข้อแม้ว่านโยบายเหล่านี้จะต้องไม่เป็นการบังคับประชาชนมากเกินไป
“พวกเราได้ตกลงร่วมกันแล้วว่า จะพยายามหลีกเลี่ยงการใช้นโยบายที่จำกัดการเคลื่อนไหวและการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประวันของผู้คน”
Daniele Franco รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจของประเทศอิตาลีกล่าว
ในขณะที่แถลงการณ์ดังกล่าวเน้นย้ำการสนับสนุนการกระจายวัคซีนอย่างเท่าเทียมทั่วโลก ทว่าข้อสรุปที่ออกมาไม่ได้มีมาตรการที่ชัดเจน มีเพียงแต่การแนะนำว่าให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ธนาคารโลก (World Bank) องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การการค้าโลก (WTO) สนับสนุนทางการเงินในวัคซีน เป็นจำนวน 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
จากตัวเลขในรายงานของ Our World in Data เผยให้เห็นว่าในขณะที่ประเทศร่ำรวยส่วนใหญ่ต่างเร่งฉีดวัคซีนต่อสู้กับโควิค-19 ให้แก่ประชาชนอย่างน้อย 1 เข็มไปกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนประชากรในประเทศแล้ว ประเทศต่าง ๆ ในทวีปแอฟริกากลับมีไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ที่ได้รับวัคซีน
ซึ่งการเข้าถึงวัคซีนที่ไม่เท่าเทียมนั้นจะทำให้ความพยายามที่จะยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสนี้เป็นไปได้ยากขึ้น และนั่นหมายความว่าเศรษฐกิจโลกอาจจะสูญเสียเงินมูลค่ามหาศาล ทั้งนี้กองทุนระหว่างประเทศ (IMF) ได้คาดการณ์ไว้ว่า หากมีการร่วมมือกันระดับนานาชาติเพื่อเร่งฉีดวัคซีนทั่วโลก เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวและสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้นถึง 9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2568
ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG3 สุขภาพและสภาวะที่ดี
– (3.3) ยุติการแพร่กระจายของโรคติดต่อที่สำคัญ
– (3.8) หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การเข้าถึงยาและบริการสาธารณสุขจำเป็น
– (3.b) การวิจัยพัฒนาและการเข้าถึงวัคซีนและยา
– (3.c) เพิ่มการใช้เงินด้านสุขภาพ พัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุขให้ทั่วถึง
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ
– (10.b) ความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance – ODA) ไปยังประเทศกำลังพัฒนา
#SDG17 หุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.2) ให้ประเทศพัฒนาแล้วให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาอย่างเป็นทางการโดยเต็มที่
– (17.3) ระดมทรัพยากรทางการเงินเพิ่มเติมจากแหล่งที่หลากหลายไปยังประเทศกำลังพัฒนา
– (17.6) เพิ่มพูนความร่วมมมือระหว่างประเทศและในภูมิภาคในการเข้าถึง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
– (17.16) ยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.17) ส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม
นอกจากนี้ ความพยายามที่จะยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นการสนับสนุน #SDG8 (ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน)
#SDGWatch #HealthandWellbeing #SDG3 #SDG8 #SDG10 #SDG17
แหล่งที่มา:
https://www.reuters.com/business/finance/g20-signs-off-tax-crackdown-warns-virus-variants-2021-07-10/
https://economictimes.indiatimes.com/news/international/business/g20-warns-of-risk-to-global-recovery-from-virus-variants/articleshow/84299564.cms
https://ourworldindata.org/covid-vaccinations