Site icon SDG Move

SDG Vocab | 32 – Inequality – ความไม่เท่าเทียม/ความเหลื่อมล้ำ

ตามคำอธิบายข้างต้นในรูป ความไม่เท่าเทียมนอกจากเรื่อง เศรษฐกิจ (การกระจายปัจจัยหรือทรัพยากรทางเศรษฐกิจให้ถึงปัจเจกบุคคลและกลุ่มบุคคล/ชุมชนของประชากรของประเทศ และระหว่างประเทศอย่างเท่าเทียม) ยังเป็นเรื่องของ การเข้าถึงโอกาส อาทิ โอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ โอกาสการได้ทำงานที่มีคุณค่า โอกาสที่จะได้รับการรักษาที่จำเป็นยามป่วยไข้ โอกาสที่จะได้รับโภชนาการที่ดี และสิทธิที่จะมีส่วนร่วมและตัดสินใจด้วยอำนาจทางการเมือง เหล่านี้ซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์ของความเท่าเทียม (equality of outcomes) ของสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีในชีวิต หรือสภาพทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียม โดยเผยออกมาเป็นระดับรายได้ ระดับการได้รับการศึกษา และสุขภาพของร่างกายและจิตใจ เป็นต้น กล่าวในอีกแง่หนึ่ง การเข้าถึงโอกาสเป็น ‘จุดตั้งต้น’ สู่ ‘ผลลัพธ์’ ของการทำให้ผู้คนมีความเท่าเทียมและเสมอภาคในทุกมิติ (เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง) และทุกพื้นที่

นอกจากนี้ ข้อสังเกตอีกประการของความไม่เท่าเทียมก็คือ ประเด็นปัญหาและความท้าทายในปัจจุบันของโลกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน ทั้งในระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความยากจน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน และวิกฤติทางเศรษฐกิจ

โดยแม้ว่าจะเป็นประเทศที่ร่ำรวยแล้ว ประเด็นความเหลื่อมล้ำและไม่เท่าเทียมก็ยังมีให้พบเห็นระหว่างกลุ่มคนที่ร่ำรวยและกลุ่มชุมชนที่อยู่ในความยากจน และแม้แต่ประเทศที่ดำรงอยู่ด้วยระบอบประชาธิปไตยมาอย่างยาวนานก็ยังจะต้องต่อสู้กับการเหยียดเชื้อชาติ (racism) การเกลียดคนรักเพศเดียวกัน (Homophobia) และการเกลียดกลัวคนข้ามเพศ (transphobia) โดยเฉพาะด้วยการบ่มเพาะ ‘ความอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่าง’ (tolerance) ซึ่งรวมถึงความแตกต่างของความเชื่อทางศาสนาและชาติพันธุ์

อย่างไรก็ดี มากกว่า 70% ของประชากรโลกยังประสบกับความไม่เท่าเทียม ซึ่งนอกจากจะเป็นอุปสรรคต่องานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจวบจนการขับเคลื่อนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน อาทิ ความพยายามยุติความยากจนในทุกรูปแบบในทุกที่ (#SDG1) การยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร (#SDG2) สุขภาพและสุขภาวะที่ดี (#SDG3) การศึกษาที่มีคุณภาพ เสมอภาค และครอบคลุม การเรียนรู้ตลอดชีวิต (#SDG4) ความเท่าเทียมระหว่างเพศ การเพิ่มพลังเสริมอำนาจแก้ผู้หญิงและเด็กผู้หญิง (#SDG5) ตามข้อมูลของรายงาน A Guide to Inequality and the SDGs ของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก ความไม่เท่าเทียมยังเป็นบ่อนทำลายความตระหนักถึงคุณค่าของตัวปัจเจกบุคคล ซึ่งในทางหนึ่ง ยังเป็นการเพาะเลี้ยงอาชญากรรม โรคภัย และความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม

ซึ่งทำให้เห็นว่า เราจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้เลย หากเราละเลยและทิ้งบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดบนฐานของความแตกต่างนั้นเอาไว้ข้างหลัง

ข้อมูลจาก UN ได้ระบุตัวอย่างของความไม่เท่าเทียมเอาไว้ ดังนี้

ทั้งนี้ การเดินหน้าสร้างความเท่าเทียมและลดความเหลื่อมล้ำลงนั้นเป็นไปได้ และประการแรกนั้นต้องทำให้มั่นใจว่า ‘ความแตกต่าง’ ทางเพศ เพศวิถี (sexual orientation) อายุ ความพิการ ชนชั้นทางสังคม ชาติพันธุ์ ศาสนา วัฒนธรรม ปูมิหลังครอบครัว ฯลฯ ต้องไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเข้าถึงโอกาส หรือเข้ามาเป็นตัวชี้ชะตามาตรฐานความเป็นอยู่ของคน โดยที่จะต้องมีนโยบายและกฎหมายที่ขจัดการเลือกปฏิบัติและสนับสนุนโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงโอกาสเหล่านั้นได้อย่างเสมอภาค พร้อมกับการที่ผู้คนต้องปฏิบัติต่อกันอย่างไม่เลือกปฏิบัติด้วย ขณะเดียวกัน นโยบายและกฎหมายนั้นจะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษกับความต้องการของกลุ่มชุมชนที่มักถูกเบียดขับเป็นชายขอบและมักไม่ได้รับประโยชน์หรือหลุดหล่นไปจากนโยบาย (disadvantaged and marginalized groups)

นอกจากนั้น จะต้องใช้ความพยายามแก้ไขตั้งแต่ฐานราก ตั้งแต่การขจัดความยากจนขั้นรุนแรง ความหิวโหย และลงทุนกับการสาธารณสุข การศึกษา การคุ้มครองทางสังคม และการสร้างงานที่มีคุณค่า โดยเฉพาะสำหรับเยาวชน ผู้อพยพโยกย้ายถิ่นฐาน ผู้ลี้ภัย และกลุ่มผู้เปราะบาง

โดยสำหรับ ภายในประเทศ จะต้องมุ่งเน้นที่

และสำหรับ ระหว่างประเทศ จะต้องมุ่งเน้นที่

สุดท้ายนี้ สำหรับประเทศไทย การขจัดความเหลื่อมล้ำ (โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำทางรายได้และที่ดินทำกิน) ซึ่งรวมถึงการสร้างความเป็นธรรมทางสังคม การกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม การสร้างงานและอาชีพโดยเฉพาะส่งเสริมความสามารถของชุมชน เป็นหนึ่งประเด็นสำคัญใต้ร่มยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

คำว่า Inequality ปรากฏใน ‘#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ’

Goal 10 Reduce inequality within and among countries


SDG Vocab รู้จักคำศัพท์ รู้จัก SDGs

หมายเหตุ – คำอธิบายข้างต้นสรุปโดยทีมงาน เพื่อให้อ่านแล้วทำความเข้าใจง่ายเท่านั้น
ไม่แนะนำให้นำไปอ้างอิงในเชิงวิชาการ

แหล่งที่มา :
https://www.un.org/sustainabledevelopment/inequality/
https://www.un.org/en/development/desa/policy/wess/wess_dev_issues/dsp_policy_01.pdf

Author

  • Editor | อยากรู้ความคิดของคนต่างพื้นเพ ต่างสังคมและวัฒนธรรม สนใจความเป็นไปของโลก ความมั่นคง และการพัฒนา แล้วนำมาถ่ายทอดร้อยเรียงเรื่องราวเล่าให้ฟัง

Exit mobile version