เริ่มต้นอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 32 (Tokyo 2020) มหกรรมกีฬานานาชาติที่ทั่วโลกเฝ้าคอย แม้ในปีนี้การจัดงานจะแตกต่างจากเดิมด้วยสถานการณ์การระบาดโควิด 19 แต่เจ้าภาพอย่างประเทศญี่ปุ่นก็ได้จัดพิธีเปิดออกมาอย่างน่าประทับใจ ด้วยการนำเสนอที่เรียบง่าย อัดแน่นความรู้สึกที่ส่งผ่านถึงทุกคนแม้ไม่ได้อยู่ในสนาม การให้ความสำคัญกับรายละเอียด เล็ก ๆ น้อย ๆ ตั้งแต่สัญลักษณ์ภายในงาน ไปจนถึงที่มาของดอกไม้แสดงความยินดีทำให้ทุกคนกล่าวกันปากต่อปากว่า ‘นี่มันญี่ปุ่นเอามาก ๆ’
ความจริงจังกับทุกรายละเอียดในโอลิมปิกครั้งนี้ไม่หยุดออยู่แค่พิธีเปิดเท่านั้น เมื่อญี่ปุ่นประกาศว่า “โตเกียว 2020 จะเป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ยั่งยืน” ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่นำเสนอภาพลักษณ์ หรือการตลาดแต่เข้าไปอยู่ในระดับที่เป็นจริงจับต้องได้ ตั้งแต่การคัดเลือกวัสดุก่อสร้าง ไปจนถึงสัดส่วนของเพศ อายุของอาสาสมัครผู้ดูแลการแข่งขัน โดยญี่ปุ่นตั้งเป้าหมายของการจัดงานเอาไว้ 6 ด้าน
- เป็นที่ 1 ของการปฏิบัติตามหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
- ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรนิกส์ทั้งหมดต้องเป็นทรัพยากรที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้
- 99% ของสินค้าที่นำมาต้องสามารถใช้ซ้ำ หรือรีไซเคิลได้
- Zero wasting: ต้องใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เกิดของเสียในการจัดงานให้น้อยที่สุด
- ต้องเป็นการจัดงานที่ลดการปล่อยคาร์บอนมุ่งสู่การเป็น Zero Carbon
- 65% ของของเสบในงานต้องสามารถใช้ซ้ำหรือรีไซเคิล
เพื่อให้ทุกคนสามารถติดตามว่าเจ้าภาพจะสามารถทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้หรือไม่? ระหว่างการเตรียมงานเจ้าภาพได้เผยแพร่รายงาน Sustainability Report เอาไว้ในเว็บไซต์ทางการ www.olympics.com พร้อมอัปเดตความก้าวหน้าของแต่ละด้านเป็นระยะ ๆ นอกจากนี้ยังได้นำเอาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มาเป็นธีมหลักในการกำหนดแนวทางการจัดงานโดยแบ่ง ออกเป็น 5 ธีม
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ตั้งเป้าลดคาร์บอนฟรุตปรินส์จากการจัดงาน ใช้พลังงานหมุนเวียน 100% รถยนต์ที่ใช้ในงานปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า 80 กรัมต่อกิโลเมตรเท่านั้น
- การบริหารจัดการทรัพยากร (Resource Management) เลือกใช้วัสดุหมนุนเวียน วัสดุที่สามรถใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ในทุกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน นอกจากนี้ชุดยูนิฟอร์ม เหรียญรางวัล แท่นประกาศยังผลิตจากวัสดุรีไซเคิลในญี่ปุ่นเป็นหลัก เช่น ‘เหรียญรางวัล’ ผลิตจากการรีไซเคิลเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วญี่ปุ่น
- ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวิภาพ (Natural Environment and Biodiversity) มีระเบียบจัดซื้อจัดจ้างที่กำหนดมาตราของวัตุถุดิบไม่ว่าจะเป็นปลาที่ใช่ทำอาหารเสิร์ฟผู้ร่วมงาน แนวคิด ‘ยืมไม้’ จากอุตสาหกรรมไม้ทั่วประเทศเพื่อลดการตัดไม้มาใช้เพียงชั่วคราว และลดการนำเข้าไม้จากต่างประเทศอันเป็นการส่งเสริมการตัดไม้ทำลายป่าทางอ้อม
- สิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมของแรงงาน (Human Rights, Labour and Fair Business Practices) มีการกำหนดให้อาสาสมัครในการแข่งขันกว่า 80,000 คนมีความใกล้เคียงกันของสัดส่วนเพศชาย ต่อ เพศหญิง อยู่ที่ 40:60 ขณะที่ช่วงอายุของอาสาสมัครมีตั้งแต่ 10 – 80 ปี นับว่าเปิดโอกาสให้คนทุกช่วงวัยสามารถเข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง
- สร้างความร่วมมือ การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย (Involvement, Cooperation and Communications)
สามารถอ่านรายงานแบบสรุปได้ที่นี่
การนำเอาแนวคิดความยั่งยืนเข้ามาใส่ไว้ในงานมหกรรมกีฬามิได้หมายความว่า จะทำให้งานโอลิมปิกหรือประเทศเจ้าภาพกลายเป็นประเทศที่ยั่งยืนในทันที เพราะญี่ปุ่นเองก็ได้รับเสียงวิจารณ์จากในประเทศเช่นกันว่า ‘ยังสามารถทำได้ดีกว่านี้’ แต่การที่ประเทศเจ้าภาพนำเอาแนวคิดความยั่งยืนมาใส่เข้าไปในงานทุกระดับสะท้อนความเข้าใจถึงความยั่งยืนที่ครบทุกมิติและใช้พื้นที่นี้สื่อสารกับโลกว่า ‘ความยั่งยืน ไม่เท่ากับ สิ่งแวดล้อม’ ได้เป็นอย่างดี เราจึงได้เห็นการวิ่งคบเพลิงจากผู้สูงวัย ผู้พิการ บุคลากรทางการแพทย์ เห็นกรอบแนวคิดที่คำนึงถึงสัดส่วนทางเพศของผู้มีส่วนร่วมในงาน มิได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว การทำเช่นนี้จะเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ให้การจัดงานมหกรรมอื่น ๆ ต้องยกระดับและจัดลำดับความสำคัญของประเด็นความยั่งยืนไม่แพ้ความยิ่งใหญ่อลังการ
Tokyo Olympic ถูกจดจำในฐานะประกายความหวัง และพยายามยืนหยัดแม้ในช่วงเวลาที่โลกต่างเผชิญความยากลำบาก แน่นอนว่าความสำเร็จในเชิงมูลค่าทางเศรษฐกิจ ความพึงพอใจของผู้ร่วมงานยังเป็นสิ่งที่ต้องติดตามต่อไป แต่สิ่งหนึ่งที่โอลิมปิกในปีนี้ได้ทำสำเร็จแล้วคือสร้างหมุดหมายว่า ‘โลกที่ยั่งยืน ยังเป็นโลกเกิดขึ้นได้จริง’
อ่านรายงานความยั่งยืนในโตเกียวโอลิมปิก 2020 ได้ที่
https://olympics.com/tokyo-2020/en/games/sustainability/report