Site icon SDG Move

‘ทีมผู้ลี้ภัย’ ในโตเกียวโอลิมปิก 2020 สัญลักษณ์ของความหวังและการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังในเกมกีฬา

ทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 29 คน ได้อพยพจากประเทศบ้านเกิดที่อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งและการกดขี่ข่มเหงที่ยังไม่มีท่าทีจะสิ้นสุดด้วยความยากลำบาก หนำซ้ำยังเผชิญหน้ากับอุปสรรคในการปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมใหม่ ๆ ได้เข้าสู่พิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ 2020 ที่ ๆ ซึ่งจะมอบความสงบสุขและให้พวกเขาได้แสดงความสามารถที่ฝึกฝนกันมานาน

เมื่อ 5 ปีที่แล้ว (พ.ศ. 2559) ทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัย จัดตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ร่วมกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 10 คน ซึ่งมาจาก 4 ประเทศ ประกอบด้วย ซีเรีย เซาท์ซูดาน เอธิโอเปีย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

หนึ่งในทีมนักกีฬา James Nyang Chiengjiek ผู้ซึ่งลงแข่งขันการวิ่ง 800 เมตรได้กล่าวว่า “กีฬาได้เปิดประตูให้พวกเรา และตอนนี้พวกเราได้เห็นผู้ลี้ภัยจำนวนมากที่มีความสามารถ” เขายังได้กล่าวต่อว่า “มันคือสิ่งที่ทำให้เรามีความหวังที่จะทำให้โลกเห็นพวกเราเป็นมนุษย์เหมือนกัน”

ทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยได้รับกำลังใจจากเชียร์ที่ล้นหลามเมื่อก้าวเข้าสนามใน Rio Games ปี 2016 แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้สนามกีฬา Tokyo 2020 เงียบเหงา

Yusra Mardini หนึ่งในนักกีฬาว่ายน้ำของทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยได้กล่าวว่า “กีฬาช่วยชีวิตฉันไว้” เธอได้หนีออกจากตุรกีไปยังกรีซ โดยนั่งเรือที่บรรทุกได้เพียง 6-7 คน แต่กลับมีผู้โดยสารมากถึง 20 คน และเครื่องยนต์เรือก็เสียหายด้วยเช่นกัน ทำให้เธอและน้องสาวจำเป็นต้องลงจากเรือและว่ายน้ำขนาบเรือเพื่อลดน้ำหนักบรรทุกลงจนกระทั่งถึงชายฝั่งอย่างปลอดภัย และในท้ายที่สุดเธอก็ได้ไปถึงประเทศเยอรมนีและอาศัยอยู่ที่นั่น เธอกล่าวว่า “ฉันบอกเล่าเรื่องราวเหล่านี้เพราะฉันอยากให้ผู้คนเข้าใจว่ากีฬาช่วยชีวิตฉันได้”

เมื่อวันศุกร์ที่ 23 ก.ค. 2564 ที่ผ่านมา สมาชิกของทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยได้กรีฑาเข้าสู่พิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ 2020 โดยประกอบไปด้วย 11 ประเทศภูมิลำเนา ได้แก่ อัฟกานิสถาน คาเมรูน สาธารณรัฐคองโก รัฐเอริเทีย อิหร่าน อิรัก เซาท์ซูดาน ซูดาน ซีเรีย เวเนซูเอล และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยได้ใช้ธงรูปโอลิมปิกเกมส์เป็นสัญลักษณ์ประจำทีมในการแข่งขัน ซึ่งในสำหรับพิธีเปิดโอลิมปิกปี 2020 นี่เป็นครั้งแรกที่ทีมแต่ละประเทศรวมถึงทีมผู้ลี้ภัยให้ทั้งนักกีฬาชายและหญิงถือธงนำขบวน

ซึ่งรูปธงโอลิมปิคประกอบด้วย 5 วงแหวนคล้องห่วงกันดังรูปด้านล่าง

ภาพจาก : Beinsports.com

ทั้งนี้วงแหวน 5 วงยังแสดงถึงสัญลักษณ์ตัวแทนจาก 5 ทวีป สีน้ำเงินแสดงถึงยุโรป สีเหลืองแสดงถึงเอเชีย สีดำแสดงถึงแอฟริกา สีเขียวแสดงถึงออสเตรเลีย สีแดงแสดงถึงอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้

ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล Thomas Bach ได้กล่าวต้อนรับแก่ทีมผู้ลี้ภัยว่า “ถึงทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัย ด้วยความสามารถและจิตใจความเป็นมนุษย์ของคุณ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยสร้างสิ่งใดสำหรับสังคม” เขายังได้กล่าวต่อว่า “คุณต้องหนีจากบ้านเกิดเพราะ ความรุนแรง ความหิวโหย หรือเพราะคุณแค่แตกต่าง วันนี้ พวกเราขอต้อนรับคุณเข้าสู่อ้อมอกและเสนอบ้านที่ปราศจากความรุนแรงให้แก่พวกคุณ ขอต้อนรับเข้าสู่ชุมชนโอลิมปิคอย่างเป็นทางการ”

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับคณะกรรมการโอลิมปิกสากลตั้งแต่ปีพ.ศ. 2537 เพื่อช่วยเหลือให้เด็กพลัดถิ่นให้สามารถเข้าถึงกีฬาได้มากขึ้น ซึ่งในช่วงเวลานั้นทั่วโลกได้มีจำนวนประชากรพลัดถิ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและปัจจุบันมีแนวโน้มจำนวนประชากรกว่า 82 ล้านคนที่ถูกพลัดถิ่น

นาย Filippo Grandi ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ได้กล่าวว่า “การได้เห็นทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยเหล่านี้ได้รับเกียรติและการปรบมือบนเวทีโอลิมปิก ชางเป็นช่วงเวลาแสนสำคัญในการเป็นตัวแทนของผู้ผลัดถิ่นมากกว่า 82 ล้านคนทั่วโลก และเป็นเครื่องเตือนใจแก่โลกเช่นกัน”

โตเกียวโอลิมปิก 2020 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม พ.ศ.2564

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ SDG
#SDG5 ความเท่าเทียมระหว่างเพศ
– 5.1 ยุติการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิงในทุกที่
– 5.c เลือกใช้และส่งเสริมนโยบายที่ดีและกฎระเบียบที่บังคับใช้ได้ เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการให้อำนาจแก่ผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคนในทุกระดับ
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
– 10.7 อำนวยความสะดวกในการอพยพและเคลื่อนย้ายคนให้เป็นไปด้วยความสงบ ปลอดภัย เป็นไปตามระเบียบ และมีความรับผิดชอบ รวมถึงผ่านทางการดำเนินงานตามนโยบายด้านการอพยพที่มีการวางแผนและจัดการที่ดี
#SDG16 สังคมสงบสุข และยุติธรรมสถาบันอันเป็นที่พึ่งของส่วนร่วม
– 16.1 ลดความรุนแรงทุกรูปแบบและอัตราการตายที่เกี่ยวข้องในทุกแห่งให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
– 16.3 ส่งเสริมนิติธรรมทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศและสร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมแก่ทุกคน
#SDG17 ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มา

ที่มา :

Refugee athletes stride into global spotlight as Tokyo Games begin (UNHCR)

Refugee Olympic Team: a contingent without a country


Author

  • Knowledge Communication [Intern] สนใจในการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีความรวดเร็ว มีผลกระทบต่อความยั่งยืนหรือมั่นคงในด้านต่าง ๆ อย่างไร

Exit mobile version