Universal Periodic Review (UPR) เป็นกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ที่ประเทศสมาชิกสหประชาชาติทั้ง 193 ประเทศต้องเข้าร่วมโดยไม่มีข้อยกเว้น มีเป้าหมายสำคัญคือเพื่อให้เกิดการปรับปรุงสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศ กระบวนการทบทวนนี้เกิดขึ้นในทุก ๆ 4 ปี ที่ผ่านมาได้ ไทยได้ส่งรายงานทบทวนรอบแรกเมื่อปีพ.ศ. 2555 และรอบที่สองเมื่อพ.ศ. 2559 และกระบวนการ UPR ครั้งถัดไปจะจัดขึ้นในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 และทุกขั้นตอนของกลไก UPR นั้นจะถูกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อให้เกิดความโปร่งใส
อ่านข่าวเกี่ยวกับการเตรียมความเสนอรายงานรอบที่ 3 ของรัฐบาลได้ที่นี่
รายงานฉบับนี้ มีความแตกต่างจากรายงานประเทศฉบับอื่น ๆ เนื่องจากตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคีกำหนดให้การนำเสนอรายงาน UPR ต้องนำเสนอภาพรวมสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในทุกด้าน โดยเฉพาะการดำเนินงานภายใต้ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนทั้ง 7 ฉบับ ที่ประเทศไทยเป็นภาคีทั้งหมดมารวมไว้ในรายงาน UPR ฉบับเดียวกัน ไม่ได้มีแต่เพียงภาครัฐดังที่ปรากฏในรายงานอื่น ๆ สำหรับรูปแบบการนำเสนอรายงาน UPR ถูกกำหนดให้นำเสนออย่างกระชับมีการกำหนดจำนวนหน้า ดังนี้
- รายงานของภาครัฐจำนวน 20 หน้า
- รายงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ 10 หน้า
- รายงานของภาคประชาสังคมอีก 10 หน้า
สำหรับในรอบที่ 3 สหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) ซึ่งเป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ไม่ใช่รัฐ ทํางานร่วมกับสมาชิกกว่า 192 องค์กรใน 117 ประเทศ ร่วมกับโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR) สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ได้เผยแพร่รายงานร่วม 2 ฉบับ เมื่อเดือนมีนาคม 2564 โดยมุ่งเน้นไปในประเด็นที่ต่างกัน ดังนี้
- รายงานร่วมฉบับหนึ่ง ซึ่งร่วมจัดทำโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR) นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับบทบัญญัติกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง การโจมตีและการคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชน การละเมิดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในความคิดเห็นและการแสดงออก การละเมิดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ สถานการณ์ของเยาวชน และการบังคับบุคคลให้สูญหาย
- รายงานร่วมอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งร่วมจัดทำโดยสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนองค์กรแรกของประเทศไทยมุ่งเน้นไปที่ความคืบหน้าเกี่ยวกับโทษประหารชีวิตและสภาพในเรือนจําของประเทศไทยนับตั้งแต่การทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนรอบที่สองของประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 และทําข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลของไทยให้ดําเนินการคืบหน้าเข้าสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตและการปรับปรุงพัฒนาสภาพในเรือนจํา
ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ #SDG16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็งประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ #SDG16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง
ที่มา
https://www.amnesty.or.th/latest/news/879/
Last Updated on พฤศจิกายน 8, 2021