Site icon SDG Move

Global Food Donation Policy Atlas แพลตฟอร์มที่ชี้ให้เห็นกฎหมายและอุปสรรคของการบริจาคอาหารเพื่อลดความหิวโหย

อาหารที่ถูกผลิตขึ้นทั่วโลกมีเพียงพอสำหรับเลี้ยงปากท้องของทุกคน แต่ 1 ใน 3 ของอาหารเหล่านั้นกลับกลายเป็น ‘ขยะอาหาร’ (food waste) และยังเผชิญกับกฎหมายและข้อบังคับที่กำหนดไม่ให้นำขยะอาหารเหล่านั้นไปบริจาค ทั้งที่อาจเป็นอาหารซึ่งยังไม่เน่าเสียและอยู่ในสภาพดีพอที่จะส่งต่อไปให้คนเปราะบางที่ต้องการอาหารมากที่สุดได้

The Global Food Banking Network (GFN) จึงร่วมมือกับ Harvard Law School Food Law and Policy Clinic จัดทำแพลตฟอร์ม Global Food Donation Policy Atlas ตั้งแต่เมื่อปี 2562 ไว้เป็นแผนที่สืบค้นและเช็กกฎหมายที่เกี่ยวกับหรือกระทบกับการบริจาคอาหาร (food donation laws) ใน 14 ประเทศทั่วโลก เพื่อให้สามารถนำมาเปรียบเทียบความแตกต่าง เรียนรู้อุปสรรคของ ‘การบริจาคอาหาร’ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาและออกแบบนโยบายที่อนุญาตให้สามารถบริจาคอาหารเหลือทิ้ง/ล้นเกินเพื่อลดความหิวโหยลงได้

เข้าถึงได้ที่ : Global Food Donation Policy Atlas

โดยข้อมูลที่ปรากฏในแพลตฟอร์มนี้ ที่สนับสนุนให้นำไปใช้เพื่อขยายการรับรู้เรื่องคุณของการบริจาคอาหารมากขึ้น มีดังนี้

เข้าถึงได้ที่ : Global Food Donation Policy Atlas

● อ่านบนความที่เกี่ยวข้องที่:
SDG 101 | รู้หรือไม่? อาหารที่เรากินกับเศษอาหารเหลือทิ้งอยู่ใน SDGs คนละเป้าหมายกัน
Food Waste Index Report 2021 เผยว่า ผู้บริโภคทั่วโลกทิ้งอาหารไปเกือบ 17% โดยมาจากครัวเรือนมากที่สุด

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG2 ยุติความหิวโหย โภชนาการที่ดี ความมั่นคงทางอาหาร เกษตรกรรมที่ยั่งยืน
อ่าน SDG Vocab ที่เกี่ยวข้องที่: ความมั่นคงทางอาหาร
#SDG12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
-(12.3) ลดขยะอาหาร (food waste) ของโลกลงครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค และลดการสูญเสียอาหารจากกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว(food losses) ภายในปี 2573

แหล่งที่มา:
The Global Food Donation Policy Atlas
Food Waste Experts Highlight Policy Solutions for the Public and Private Sectors (FOODTANK)

Author

  • Editor | อยากรู้ความคิดของคนต่างพื้นเพ ต่างสังคมและวัฒนธรรม สนใจความเป็นไปของโลก ความมั่นคง และการพัฒนา แล้วนำมาถ่ายทอดร้อยเรียงเรื่องราวเล่าให้ฟัง

Exit mobile version