ดัชนีคุณภาพมหาสมุทร (Ocean Health Index: OHI) เป็นตัวชี้วัดบ่งชี้ระดับคุณภาพของระบบนิเวศทางทะเลในมิติต่าง ๆ ทั่วโลกจำนวน 221 ประเทศและดินแดน และ 15 ส่วนของทะเลหลวง คำนวณโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ทั่วโลก ถือเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ติดตามและประเมินผลสุขภาพของระบบนิเวศ-คน-มหาสมุทร โดยมีกรอบแนวคิดที่บูรณาการระหว่างตัวชี้วัดด้านต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม คะแนนดัชนี OHI พิจารณาจากหลักเกณฑ์ต่าง ๆ 10 ด้าน ดังนี้
- การจัดหาอาหาร – Food Provision
- โอกาสในการตกปลาที่เน้นการใช้ฝีมือ – Artisanal fishing opportunities
- ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ – Natural Product
- การจัดเก็บคาร์บอน – Carbon storage
- การป้องกันชายฝั่ง – Coastal Protection
- การท่องเที่ยวและสันทนาการ – Tourism & Recreation
- วิถีชีวิตและเศรษฐกิจชายฝั่ง – Coastal livelihoods & Economies
- การรับรู้ถึงอัตลักษณ์ และคุณค่าของสถานที่ – Sense of place
- น้ำสะอาด – Clean water
- ความหลากหลายทางชีวภาพ – Biodiversity
อ่านระเบียบวิธีการคำนวณคะแนนในแต่ละด้านได้ที่นี่
ดัชนีคุณภาพมหาสมุทร (OHI) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัด ของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (18) ในประเด็น การเติบโตอย่างยั่งยืน (พ.ศ. 2561 – 2580) “แผนย่อยการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล” มีเป้าหมายคือ ทำให้ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลเพิ่มขึ้น
สำหรับประเทศไทยข้อมูลล่าสุดในปี 2019 (พ.ศ. 2562) คะแนนรวมของประเทศอยู่ที่ 66/100 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 130 จาก 221 ประเทศ
เข้าถึงคะแนนและอันดับดัชนีของทุกประเทศได้ที่นี่
อ้างอิง
http://www.oceanhealthindex.org/region-scores
Last Updated on พฤศจิกายน 8, 2021