Site icon SDG Move

SDG Recommends | Aging and the Labor Market in Thailand รายงานจากธนาคารโลกเผยว่า ไทยมีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่คนส่วนมากยังยากจน

ธนาคารโลกเผยแพร่รายงาน Aging and the Labor Market in Thailand เพื่อรายงานถึงสถานการณ์ประชากรสูงวัยในประเทศไทย และความท้าทายที่จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะต่อผลกระทบในภาคแรงงาน รวมถึงสภาวะที่ประชากรสูงวัยส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย และจะต้องพึ่งพิงการช่วยเหลือจากรัฐอย่างมากในอนาคต รายงานนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจ เช่น

ประเด็นเกี่ยวกับตลาดแรงงาน รายงานเผยว่า ความซับซ้อนของตลาดแรงงานเกิดจากจำานวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งหมายถึงจำานวนแรงงานที่จะมีจำานวนน้อยลงในอนาคต สัดส่วนของประชากรวัยทำางานในไทยคาดว่าจะลดลงจากร้อยละ 71 ในปี 2563 เป็นร้อยละ 56 ในปี 2603 ซึ่งเทียบเท่ากับการลดลงของประชากรวัยทำางานเกือบถึงร้อยละ 30 ซึ่งเป็นสัดส่วนการลดลงที่มากที่สุดเป็นอันดับสามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียแปซิฟิก รองจากญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ในขณะเดียวกันสัดส่วนของประชากรวัย 65 ปีขึ้นไป ก็คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13 ในปี 2563 เป็นร้อยละ 31 ในปี 2603 ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 22 ของโลก จำานวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยประชากรวัย 65 ปีขึ้นไปในประเทศไทยเพิ่ม
ขึ้นเป็นสองเท่าระหว่างปี 2543 ถึงปี 2563 และจะเพิ่มขึ้นอีกสองเท่าในปี 2583เป็นร้อยละ 26 ของประชากรทั้งหมด

ภาพอินโฟกราฟฟิกแสดงความท้าทายของการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัยในแต่ละประเทศ
ภาพจาก ธนาคารโลก

ในบรรดาประเทศที่มีประชากรสูงวัยอยู่ในระดับเดียวกัน ประเทศไทยมีความมั่งคั่งน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ทำให้มีทรัพยากรที่จะช่วยจัดการกับความท้าทายของสังคมผู้สูงวัยน้อยกว่า

ความตอนหนึ่งจากบทสรุปผู้บริหาร

ารนำเทคโนโลยีมาใช้ อาจเป็นทางออก ภาวะประชากรสูงวัยส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดแรงงานไทยและการ
พัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม จำานวนประชากรวัยทำางานที่ลดลงของประเทศไทยส่งผลให้รายได้เฉลี่ยของบุคคลในประเทศเติบโตลดลง และหากไม่มีการปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร คาดการณ์ว่าจะส่งผลให้การเติบโตของ GDP ต่อหัวลดลงอีกร้อยละ 0.86 ในทศวรรษ 2020

นอกจากนี้รายงานยังระบุว่า หากอัตราการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานนั้นคงที่ตามอายุและเพศแล้ว โครงสร้างประชากรของประเทศไทยจะเปลี่ยนไปโดยคาดการณ์ว่าจะส่งผลให้อัตราการมีส่วนร่วมของแรงงานโดยรวมจะลดลงประมาณร้อยละ 5 ระหว่างปี 2563 ถึงปี 2603 และจำานวนแรงงานลดลงถึง 14.4 ล้านคน ทั้งนี้จำานวนแรงงานที่ลดลงอาจส่งผลให้ประเทศ
อยู่ในภาวะขาดแคลนแรงงานซึ่งอาจขัดขวางโอกาสในการเติบโตของประเทศไทยได้ อย่างไรก็ตามการนำาเทคโนโลยีออโตเมชั่น และเทคโนโลยีอื่นๆ ในอุตสาหกรรม 4.0 เข้ามาใช้ อาจช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้บางส่วน ในขณะที่ผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ อาจทวีความรุนแรง เนื่องจากความต้องการแรงงานที่มีทักษะความชำานาญในด้านนี้เพิ่มมากขึ้น

รายงานฉบับนี้เผยแพร่ฉบับเต็มเป็นภาษาอังกฤษ สามารถเข้าถึงรายงานได้ที่นี่

เข้าถึงบทสรุปผู้บริหารฉบับภาษาไทยได้ที่นี่

Author

  • Editor | คนทำงานข้ามสายที่ชอบมองภาพใหญ่และอยากเห็นงานพัฒนามองทุกศาสตร์อย่างเชื่อมโยง

Exit mobile version