Wellcome Trust องค์กรการกุศลด้านการวิจัยทางการแพทย์ จากสหราชอาณาจักร ให้เงินทุนสนับสนุนจำนวน 2.5 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (ประมาณ 61 ล้านบาท) แก่ National University of Singapore (NUS) เพื่อก่อตั้ง ‘Asian Clinical Research Network’ (ACRN) เครือข่ายการวิจัยทางคลินิกแห่งแรกในเอเชียที่จะทำงานเพื่อพัฒนาวิธีการรักษาและป้องกันการติดเชื้อดื้อยาซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตโดยเฉพาะ
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่าการดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial resistance: AMR) เป็นหนึ่งใน 10 ภัยคุกคามด้านสาธารณสุขระดับโลกที่มนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งในปัจจุบันทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 700,000 คนต่อปี และคาดว่าจะทำให้มีผู้เสียชีวิตสูงถึง 10 ล้านคนต่อปีภายในปี 2050 และครึ่งหนึ่งของการเสียชีวิตจะเกิดขึ้นในเอเชียเนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขที่เข้มแข็งไม่พอที่จะรับมือกับภัยคุกคามด้านสุขภาพนี้
การจัดตั้ง ACRN จะช่วยพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านการวิจัยทางคลินิกในภูมิภาคเอเชียเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อดื้อยาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และที่สำคัญเครือข่าย ACRN จะพัฒนางานวิจัยเพื่อให้มั่นใจว่ากลุ่มประชากรที่มีความเปราะบางจะสามารถเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น
Hsu Li Yang ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ จาก NUS’ Saw Swee Hock School of Public Health กล่าวว่า “เครือข่ายการวิจัยทางคลินิกในเอเชียแห่งนี้ จะช่วยเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการทดลองทางคลินิกในภูมิภาคอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะส่งผลให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการติดเชื้อที่ดื้อยาที่ดีขึ้น การพัฒนาวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพิ่มความสามารถในการจัดหายาชนิดใหม่เพื่อต่อสู้กับการดื้อยาต้านจุลชีพ รวมถึงการจัดหาเงินทุนร่วมกันจะช่วยกระตุ้นความร่วมมือและการเสริมสร้างศักยภาพด้านการวิจัยทั้งในสิงคโปร์และในระดับภูมิภาคเพื่อร่วมกันพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ”
ACRN เป็นเครือข่ายการวิจัยทางคลินิกเพื่อแก้ปัญหาการติดเชื้อดื้อยาแห่งแรกในเอเชีย โดยเครือข่ายที่คล้ายคลึงกันนี้มีอยู่แล้วทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย เป้าหมายระยะยาวของ ACRN คือการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในระดับโลกดังกล่าว
ประเด็นดังกล่าว เกี่ยวข้องกับ
#SDG3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
- (3.d) เสริมขีดความสามารถสำหรับทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา ในเรื่องการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพในระดับประเทศและระดับโล