SDG Recommends | ไม่ทิ้งผู้อพยพไว้ข้างหลัง เแนะนำผู้ใช้ข้อมูลในการแยกแยะตัวชี้วัด SDGs ตามสถานะการย้ายถิ่นฐาน โดย IOM

การอพยพ โยกย้ายถิ่นฐานเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมโลกมาโดยตลอด ปรากฏทั้งในรูปการโยกย้านถิ่นฐานโดยสมัครใจ การย้ายถิ่นฐานของแรงงานเพื่อประกอบอาชัพแสวงหาโอกาส การเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการถูกบังคับให้ต้องโยกย้ายถิ่นฐาน ซึ่งมาจากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจนไม่อาจอาศัย หรือเลี้ยงชีพจากถิ่นที่อยู่เดิมได้ ไปจนถึงการอพยพอันเป็นผลพวงจากการหลบหนีสงคราม ความไม่สงบในถิ่นที่อยู่อาศัย

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ได้เผยแพร่เอกสารแนะนำการผู้ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการแยกแยะ (Disaggregation) ข้อมูลตัวชี้วัด SDGs ตามสถานะการย้ายถิ่น มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยผู้ปฏิบัติงานในทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับของกระบวนการแยกแยะข้อมูล ตั้งแต่ในระดับเริ่มต้นเรียนรู้ทำความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการย้ายถิ่น การเลือกตำแหน่งจัดวางข้อมูลและวิธีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่สำหรับการแยกแยะ หรือพยายามสื่อสารข้อมูลที่แยกส่วนได้ดีขึ้น

การจัดระบบข้อมูลที่มาจากการเก็บแบบแบ่งจำแนกแยกประเภท (disaggregated information) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลที่มีมีส่วนตัดสินใจ พัฒนานโยบายหรือโครงการที่จัดการแก้ไขปัญหาสามารถทำความเข้าใจสถานการณ์ และให้ความช่วยเหลือได้อย่างตรงจุดเหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานทั่วทั้งรัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ หรือผู้ดำเนินการอื่น ๆ ที่ทำงานกับการย้ายถิ่นและ/หรือติดตามสถานการณ์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัด SDGs

สำหรับการย้ายถิ่นเป็นประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับ SDGs โดยตรง ดังนี้

#SDG1 เพราะแรงงานข้ามชาติจำนวนมากมีแนวโน้มที่จะอยู่ในความเสี่ยงของความยากจนมากกว่าผู้ที่ไม่ต้องอพยพย้ายถิ่น
#SDG2 แรงงานข้ามชาติมักเป็นกำลังสำคัญในการเสริมควมมั่นคงของระบบโภชนาการในแง่การเข้าไปเป็นแรงงานในระบบผลิตอาหาร แต่พวกเขาเองเป็นกลุ่มคนที่เสี่ยงต่อความไม่มั่นคงทางอาหารและภาวะทุพโภชนาการมากกว่าผู้ไม่ย้ายถิ่น
#SDG3 เนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่มักทำงานในภาวะเสี่ยง เข้าถึงการบริการสึขภาพได้ยากจึงมักจะมีความเสี่ยงสูงของภาวะสุขภาพบางอย่าง
#SDG4 เด็กพลัดถิ่นมักจะมีระดับการศึกษาที่ต่ำกว่ากว่าคนในพื้นที่และผู้อพยพที่เป็นเยาวชนมีแนวโน้มที่จะไม่ได้รับการศึกษา และการอบรมที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ หรือพัฒนาทักษะ
#SDG5 ผู้อพยพเพศหญิงมักต้องเผชิญความเสี่ยงในมิติต่าง ๆ ทั้งการถูกเลือกปฏิบัติ ยากจน ไม่เข้าถึงการศึกษา และงานที่ดีมากกว่าเพศอื่น
#SDG8 การย้ายถิ่นของแรงงานส่งเสริมการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันแรงงานต่างด้าวคือกลุ่มที่มีความเปราะบางในที่ทำงานมากกว่าผู้ไม่ย้ายถิ่น
#SDG10 ผู้อพยพจำนวนมากทั่วโลกสามารถหารายได้โดยเฉลี่ยน้อยกว่ากว่าผู้ที่ไม่ได้อพยพ
#SDG11 ผู้อพยพในเมืองจำนวนมากมีโอกาสน้อยที่จะมีที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้อพยพ
#SDG 16 แรงงานข้ามชาติจำนวนมากเผชิญกับความเกลียดกลัวชาวต่างชาติและการเลือกปฏิบัติมากขึ้น และบ่อยกว่าผู้ที่ไม่อพยพ

เข้าถึงเอกสาร Leave No Migrant Behind: The 2030 Agenda and Data Disaggregation ได้ที่นี่

Last Updated on พฤศจิกายน 8, 2021

Author

  • Pimnara Intaprasert

    Editor | คนทำงานข้ามสายที่ชอบมองภาพใหญ่และอยากเห็นงานพัฒนามองทุกศาสตร์อย่างเชื่อมโยง

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น