เมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคได้เปิดตัวรายงาน Infodemic and SDGs: Internet Freedoms in Southeast Asia มุ่งนำเสนอปัญหาจากภาวะ ‘Infodemic’ หรือการแพร่ระบาดของข่าวสาร ในระหว่างสถานการณ์ COVID-19 ว่ากระทบต่อความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมาย SDGs ใน 10 ประเทศอาเซียนอย่างไร
‘Infodemic’ เป็นคำที่องค์การอนามัยโลกใช้สื่อถึงการระบาดของข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง คลาดเคลื่อนหรือบิดเบือนเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 โดยเกิดจากการรวมคำสองคำเข้าด้วยกันคือ Information (ข่าวสาร) และ Epidemic (การระบาด) ข้อมูลในลักษณะนี้ถือเป็นความผิดปกติของข้อมูลข่าวสาร (Information Disorder) ปรากฏใน 3 รูปแบบ ได้แก่
- ข้อมูลที่ผิด (Misinformation) เป็นข้อมูลที่ปลอมขึ้นมาหรือเป็นเท็จ แต่บุคคลที่นำมาเผยแพร่เชื่อว่าเป็นความจริง
- ข้อมูลบิดเบือน (Disinformation) เป็นข้อมูลที่ถูกบิดเบือนและบุคคลที่เผยแพร่ก็รู้อยู่แก่ใจว่าไม่เป็นความจริง
- ข้อมูลที่แฝงเจตนาร้าย (Mal-information) จะเป็นข้อมูลที่มีพื้นฐานของความจริง แต่ถูกนำมาใช้เพื่อทำร้ายบุคคล องค์กร หรือประเทศ (UNESCO, 2018)
สำหรับรายฉบับนี้จะเน้นนำเสนอถึงผลพวงจาก infodemic ที่ทำให้รัฐกำหนดมาตรการในการควบคุมข้อมูลข่าวสาร และในบางมาตรการ อาทิ การออกกฎหมาย หรือแก้ไข ยกเว้น กฎบางอย่างเพื่อให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐในการสอดส่อง ควบคุมการเผยแพร่ข่าวสารโดยเฉพาะทางอินเตอร์เน็ตที่แม้จะมีวัตถุประสงค์เพื่อยับยั้งการนำเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือทำให้เกิดความสับสนหลงผิด แต่ผลพวงจากมาตรการก็อาจเป็นไปในทางจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน โดยรายงานจะนำเสนอรายงานประเด็นที่กระทบความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมาย SDGs ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเตอร์เน็ต และเสรีภาพในการแสดงออก ได้แก่
- SDG 9.c เพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีด้านข้อมูลและการสื่อสาร และพยายามที่จะจัดให้มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยถ้วนหน้าและในราคาที่สามารถจ่ายได้ ในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
- สัดส่วนของประชากรที่อยู่ในพื้นที่ที่มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำแนกตามเทคโนโลยี
- SDG 16 ตัวชี้วัดที่ 10.1 จำนวนคดีฆาตกรรม ลักพาตัว การถูกพราก การกักขังหน่วงเหนี่ยว การทรมานผู้สื่อข่าว บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสื่อ สหภาพทางการค้าและผู้ให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
- SDG 16 ตัวชี้วัดที่ 10.2 จำนวนประเทศที่มีรัฐธรรมนูญกฎหมายลำดับรอง และ/หรือนโยบายรองรับการเข้าถึงข้อมูลของสาธารณชน
เข้าถึงรายงาน “Infodemic” and SDGs: Internet Freedoms in Southeast Asia ได้ที่นี่
อ้างอิง
https://www2.rsu.ac.th/sarnrangsit-online-detail/CommArts-Article04