4 เหตุผลที่ระบบเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำแบบผสมผสานจะทำให้มีความมั่นคงทางอาหารและอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่ยั่งยืนขึ้น

อุตสาหกรรมอาหารทะเลกำลังถูกกดดันอย่างหนักในด้านที่จะต้องเป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (socially and environmentally sound) โดยจะต้องมีมาตรฐาน แนวทาง และข้อกำหนดสำหรับการขายสินค้าอาหารทะเลในตลาดทั่วมุมโลกให้มากขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าจะเป็นการปรับทิศทางการทำอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่ยั่งยืนขึ้น

และหนึ่งในวิธีการที่โดดเด่นในเวลานี้ที่บรรดาผู้ผลิตเลือกมาปรับใช้ในวิถีการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับความยั่งยืนรวมทั้งช่วยเพิ่มความมั่นคงทางอาหารก็คือ ระบบการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำแบบผสมผสาน (integrated aquaculture system)

บทความ What is integrated aquaculture and how can it help feed the world? เผยแพร่ในเว็บไซต์สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับระบบการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำแบบผสมผสาน ซึ่งไม่ใช่การผลิตรูปแบบใหม่แต่อย่างใดแต่กลับมีเหตุผลสำคัญที่ทรงพลัง 4 ข้อว่าทำไมระบบดังกล่าวถึงสามารถช่วยส่งเสริม ‘ความยั่งยืน’ ให้เกิดขึ้นได้ในอุตสาหกรรม

  1. เป็นวิถีการผลิตแบบดั้งเดิม ที่การผลิตอาหารเป็นการผสมผสานจากการเพาะพันธุ์พืชและสัตว์น้ำ เกษตรกรรม และปศุสัตว์รวมไว้ในระบบเดียว และอาจเรียกได้ว่าชาวเอเชียเป็นผู้ที่นำเสนอวิธีการและใช้ระบบดังกล่าวมาอย่างยาวนาน ส่งต่อวิถีการผลิตเช่นนั้นมารุ่นสู่รุ่น
  2. เป็นวิถีการผลิตที่บริหารบนฐานของการสร้างระบบนิเวศ กล่าวคือ เป็นการรวมสปีชีส์พืชและสัตว์น้ำที่หลากหลายเอาไว้ในแหล่งน้ำเดียวกัน โดยใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำเดียวกัน ตัวอย่างเช่นระบบที่เรียกว่า อควาโปนิกส์ (aquaponics) ซึ่งเป็นระบบที่พืชและสัตว์น้ำจะเติบโตในแหล่งน้ำที่อุดมไปด้วยสารอาหารแหล่งเดียวกัน ของเสียที่ขับออกจากปลาจะเป็นปุ๋ยให้พืชน้ำ หมุนเวียนอยู่ในระบบนั้น เป็นการสะท้อนปฏิสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศที่เกื้อหนุนกัน
  3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเป็นการผลิตที่ทำกำไร Rumaitha Al Busaidi ผู้เขียนบทความนี้ยกตัวอย่างประเทศที่มีปัญหาสงครามแย่งชิงน้ำอย่างในอียิปต์ และปัญหาสภาพอากาศ แหล่งน้ำ และเศรษฐกิจในโอมาน เพื่อชี้ว่าวิถีการผลิตของระบบเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำแบบผสมผสานนั้น จะช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตได้
  4. เป็นการกรุยทางสู่ Climate Smart Aquaculture (CSA) เพราะการนำระบบดังกล่าวมาใช้มีบทบาทในการลดความเปราะบาง/ความอ่อนไหวของภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเลลง และเป็นการช่วยให้ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีภูมิคุ้มกัน วิธีการหนึ่งที่นิยมคือ Integrated Multi-Trophic Aquaculture (IMTA) หรือการนำปลาที่มีครีบมาเลี้ยงร่วมกับหอยและสาหร่ายทะเล ส่วนตัวอย่างก็มีเช่นในกรณีของยุโรปที่ได้เริ่มนำแนวคิดผสมผสานมาทดลองใช้เพาะเลี้ยงกุ้งลอบเสตอร์พร้อมกับปลาแซลมอน และสร้างระบบนิเวศให้เสมือนเป็น ‘ป่าฝน’ (rainforest) ใต้มหาสมุทร ไปจนถึงความพยายามสร้างให้มันเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน (carbon capture) ให้มากขึ้นด้วย

● อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Climate-Smart Agriculture ที่นี่
● อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
ฟาร์มอาหารทะเลในเอเชียแปซิฟิก: แหล่งผลิตโปรตีนสำคัญที่ต้องทบทวนวิธีการผลิตเสียใหม่ ให้เลี้ยงคนทั้งโลกได้อย่างยั่งยืน
Ocean Rainforest ฟาร์มสาหร่ายทะเลช่วยลดโลกร้อน ดูแลสุขภาพท้องทะเล เพื่อสุขภาพคนที่ดี และสุขภาพหมูที่แข็งแรง
จากเศรษฐกิจสีเขียวสู่ ‘สีน้ำเงิน’ : ศักยภาพของท้องทะเลในอเมริกาเหนือโดยการขับเคลื่อนของแคนาดา
FAO ออกคู่มือ ‘Climate-Smart Livestock’ เป็นทางออกให้ภาคปศุสัตว์ในเอเชียแปซิฟิก เพิ่มผลิตภาพพร้อมกับลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ยกระดับโภชนาการ ส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน โดยระบบการเลี้ยงพืชและสัตว์น้ำแบบผสมผสานนั้น ถือเป็นหนึ่งในรูปแบบการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืนด้วยเช่นกัน
#SDG14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมถึงการปกป้องระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเล ความอุดมสมบูรณ์ของทะเล และเศรษฐกิจสีน้ำเงิน

แหล่งที่มา:
What is integrated aquaculture and how can it help feed the world? (World Economic Forum)

Last Updated on กันยายน 3, 2021

Author

  • Thiraphon Singlor

    Editor | อยากรู้ความคิดของคนต่างพื้นเพ ต่างสังคมและวัฒนธรรม สนใจความเป็นไปของโลก ความมั่นคง และการพัฒนา แล้วนำมาถ่ายทอดร้อยเรียงเรื่องราวเล่าให้ฟัง

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น