โรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งสุดท้ายที่เหลืออยู่ในสกอตแลนต์ถูกทำลายลง เป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดยุคของถ่านหินและเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างสมบูรณ์ ตามแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศให้เป็นศูนย์ภายในปี 2045
โรงไฟฟ้า Longannet ตั้งอยู่ที่เมืองริมทะเล Fife ในประเทศสกอตแลนด์ สร้างขึ้นเมื่อปี 1970 และเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปขณะนั้น ได้ยุติการทำงานไปตั้งแต่เมื่อปี 2016 ซึ่งนับเป็นการสิ้นสุดการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินในประเทศ และเมื่อวันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมา Nicola Sturgeon รัฐมนตรีคนแรกของสกอตแลนด์เป็นผู้จุดระเบิดทำลายปล่องควันของโรงไฟฟ้าความสูง 600 ฟุต
การผลิตพลังงานหมุนเวียนในสกอตแลนด์เพิ่มสูงขึ้นกว่าสามเท่าในทศวรรษที่ผ่านมา ตามข้อมูลจากรัฐบาลพบว่าในปี 2020 การใช้พลังงานทั้งหมดของประเทศ 97.4% มาจากพลังงานหมุนเวียน อาทิ พลังงานลมนอกชายฝั่งและบนบก และพลังงานน้ำ ถึงแม้จะไม่ได้ตามเป้าที่ 100% ภายในปี 2020 ก็ตาม
สกอตแลนด์ได้กำหนดเป้าหมายที่มีผลพูกพันทางทางกฎหมายเพื่อนำพาประเทศไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2045 โดยมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (energy transition) ถึง 660 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อการลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ เช่น ลังงานลมนอกชายฝั่งและพลังงานหมุนเวียนจากทะเล การดักจับไฮโดรเจนและคาร์บอน การใช้ประโยชน์ และการจัดเก็บ (carbon capture, utilization and storage: CCUS) รวมไปถึงการจ้างงานในอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย (green jobs)
ประเด็นดังกล่าว เกี่ยวข้องกับ
#SDG7 พลังงานสะอาดที่จ่ายได้
- (7.2) เพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนพลังงานของโลก (global energy mix) ภายในปี พ.ศ. 2573
#SDG13 ต่อสู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- (13.2) บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ
ที่มา :
Scotland just blew up its last coal-fired power plant – as the country transitions to renewable energy (WEForum)
Scotland marks end to coal power as Longannet chimney is blown up (The Guardian)