บริษัทและกลุ่มสมาคมผู้นำด้านอุตสาหกรรมในสหราชอาณาจักร ตั้งเป้าหมายเพื่อสรรหาหน่วยงานท้องถิ่นที่จะเข้าร่วมในโครงการใหม่ FPF FlexCollect ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง ระยะเวลา 3 ปี ที่เน้นสร้างความเข้าใจในวิธีการเก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์ของสินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือนที่ทำมาจากพลาสติกอ่อนตัว (flexible plastics) ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก จากการให้บริการเก็บรวบรวม (collection services) ที่มีอยู่เดิมทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการนำเข้าสู่กระบวนการแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เป็นการพัฒนาวิธีการ/แนวปฏิบัติในการเก็บรวบรวม ก่อนที่จะร่วมมือกับภาครัฐในการนำเสนอวิธีการเก็บรวบรวมพลาสติกอ่อนตัวมาแปรรูปใช้ใหม่ ให้ทั่วสหราชอาณาจักรใช้วิธีการ/แนวปฏิบัติเดียวกันภายในปี พ.ศ. 2570
โครงการดังกล่าวได้เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นที่เป็นอาสาสมัครจำนวนหนึ่ง ซึ่งรวมถึง Cheltenham Borough Council เพื่อผลักดันโครงการนำร่องใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมและแปรรูปใช้ใหม่บรรจุภัณฑ์ในครัวเรือนที่ทำจากพลาสติกอ่อนตัว ตั้งแต่ปีนี้ไปจนถึงปี พ.ศ. 2568
แม้ว่าจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2563 ทั้งหมดเป็นพลาสติกอ่อนตัวเพียง 22 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่กับพบว่ามีเพียงแค่ 8 เปอร์เซ็นต์ ที่ถูกนำมาแปรรูปใช้ใหม่ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่นำมาแปรรูปใช้ใหม่ได้น้อยนั้น พบว่า มาจากการให้บริการและความสามารถในการแปรรูปใช้ใหม่ที่จำกัด พลาสติกอ่อนตัว (flexible plastics) จะพบในบรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทอาหาร เช่น ถุงสำหรับบรรจุขนมขบเคี้ยว ถุงสำหรับอาหารแช่แข็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นขยะพลาสติกที่พบเป็นจำนวนมากจากครัวเรือน โดยพลาสติกอ่อนตัวมีคุณสมบัติที่นำมาหลอมเหลวใหม่ได้ง่าย เมื่อผ่านความร้อนจะอ่อนตัวง่ายและสามารถนำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อีกครั้ง
พลาสติกอ่อนตัว (flexible plastics) จะพบในบรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทอาหาร เช่น ถุงสำหรับบรรจุขนมขบเคี้ยว ถุงสำหรับอาหารแช่แข็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นขยะพลาสติกที่พบเป็นจำนวนมากจากครัวเรือน โดยพลาสติกอ่อนตัวมีคุณสมบัติที่นำมาหลอมเหลวใหม่ได้ง่าย เมื่อผ่านความร้อนจะอ่อนตัวง่ายและสามารถนำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อีกครั้ง
Jo Churchill รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและการจัดการขยะ กล่าวว่า “FlexCollect จะเป็นหลักฐานอันมีค่าต่อการสนับสนุนข้อเสนอของรัฐบาล” เธอกล่าวว่า “ฟิล์มพลาสติกและบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว มีสัดส่วนมหาศาล และเราทุกคนต้องการเห็นขยะเหล่านี้ นำกลับมาใช้ใหม่ได้เพิ่มมากขึ้น โดยแผนการของเรา คือ การส่งเสริมให้เกิดเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้มากขึ้น ผ่านการขยายความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility: EPR) ซึ่งจะช่วยลดปริมาณพลาสติกที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติได้เพิ่มมากขึ้น”
สุดท้ายนี้ Claire Shrewsbury ผู้อำนวยการฝ่ายข้อมูลเชิงลึกและนวัตกรรมของ WRAP กล่าวว่า
“จากการทดลองที่มีอยู่ทั่วสหราชอาณาจักรนั้น เรายังคงต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดต่อการดำเนินการต่อไป” กล่าวเพิ่มเติมว่า “การนำร่องก่อนกำหนดถือเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับหน่วยงานท้องถิ่นในการประกาศดำเนินงาน เพื่อการดำเนินงานที่สอดคล้องต่อกลยุทธ์สำหรับข้อตกลงพลาสติกแห่งสหราชอาณาจักร (UK Plastics Pact)”
● อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
– SDG Insights | ขยะพลาสติกในทะเล: ความพยายามของภูมิภาคอาเซียน
– เมื่อพลาสติกถูกกังขา กระดาษที่มีอายุการใช้งานนานแต่ย่อยสลายได้จะเป็นทางเลือก – SDG Move
–พลาสติกจากการเกษตรตกค้างในดิน เป็นอันตรายต่อความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม – SDG Move
ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และอุตสาหกรรม
– (9.4) ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและปรับปรุงอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและการใช้เทคโนโลยีและกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยทุกประเทศดำเนินการตามขีดความสามารถของแต่ละประเทศ ภายในปี 2573
#SDG12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
– (12.4) บรรลุการจัดการสารเคมีและของเสียทุกชนิดในวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตลอดทั้งวงจรชีวิตของสิ่งเหล่านั้น ลดการปลดปล่อยสิ่งเหล่านั้นออกสู่อากาศ น้ำ และดินอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อที่จะลดผลกระทบทางลบที่จะมีต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด ภายในปี 2563
– (12.5) ภายในปี 2573 จะต้องลดการเกิดของเสียโดยให้มีการป้องกัน การลด การแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และการนำกลับมาใช้ซ้ำ
แหล่งที่มา:
– Pilot launched for household collection of flexible plastic (Businessgreen).
– UK’s largest flexible plastic household collection and recycling pilot launches(CircularOnline ).
– Flexible Packaging หรือ บรรจุภัณฑ์อ่อนตัว คืออะไร มีข้อดีอย่างไร – Riccoprint
ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ภายใต้โครงการเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพของประเทศไทย