Site icon SDG Move

“หมอซินเธีย” อาสาสมัครไร้สัญชาติ รับรางวัล ‘Gwangju Prize for Human Rights’

อนาคตของชาวเมียนมา แสงแห่งความหวังในการมีระบบสุขภาพที่ดี ซินเธีย หม่อง แพทย์อาสาไร้สัญชาติ ผู้ก่อตั้ง ‘แม่ตาวคลินิก’ หรือ Mae Tao Clinic สถานพยาบาลขั้นปฐมภูมิแห่งอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้รับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิสิทธิมนุษยชน (Gwangju Prize for Human Rights: GPHR) ประจำปี 2565 เพื่อยกย่องการทำกิจกรรมด้านมนุษยธรรมในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวเมียนมาและแรงงานข้ามชาติ ซึ่งมีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับรางวัล Gwangju Prize for Human Rights อันเป็นรางวัลที่มอบให้แก่นักต่อสู้ด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลก มอบโดยองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนของเกาหลีใต้ “มูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก” หรือ “May 18 Memorial Foundation” เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ทางการเมืองของชาวเกาหลีใต้ที่ออกมาต่อต้านการปกครองเผด็จการทหาร เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2523 (ค.ศ. 1980) ซึ่งมีการเริ่มมอบรางวัลแก่นักสิทธิมนุษยชนเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา ให้แก่ “บุคคล กลุ่ม หรือสถาบันในเกาหลีและต่างประเทศที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และสันติภาพผ่านการดำเนินงานของพวกเขา” 

ซินเธีย หม่อง หรือ “หมอซินเธีย” แพทย์อาสาผู้ลี้ภัยสงครามกลางเมืองจากประเทศเมียนมา ผู้ก่อตั้งแม่ตาวคลินิก อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้เริ่มทำงานในฐานะแพทย์ผู้รักษาคนไข้ที่ยากจนตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา รวมถึงประชากรในพื้นที่ แรงงานข้ามชาติ และผู้ลี้ภัยที่เข้าไม่ถึงระบบสาธารณสุขของประเทศ มาเป็นเวลานานกว่า 33 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งแม่ตาวคลินิกขึ้นในปี 2532 โดยแต่ละปีแม่ตาวคลินิก ต้องรักษาผู้ป่วยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 100,000 คน และนับจากจำนวนนี้เป็นการทำคลอดราว 2,300 ราย นอกจากนี้ แม่ตาวคลินิกยังเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านสาธารณสุขให้แก่อาสาสมัครและบุคลากรด้านสาธารณสุขขั้นพื้นฐานมาแล้วมากกว่า 2,000 คนอีกด้วย

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 จากการสนับสนุนระบบสาธารณสุขตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา มาอย่างยาวนานนี้เอง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนกวางจู จึงมอบรางวัลอันทรงเกียรติให้เเก่เธอ ด้วยเหตุผลว่า “หมอซินเธียนั้นทำกิจกรรมเพื่อมนุษยธรรมเเละช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวเมียนมาและแรงงานข้ามชาติมาอย่างต่อเนื่อง”

 โดยที่ผ่านมา มีคนไทยที่เคยได้รับ ‘รางวัลกวางจูเพื่อสิทธิสิทธิมนุษยชน’ มาแล้วเช่นกัน ได้แก่

เช่นนั้น สิทธิมนุษยชน (Human Rights) นับว่าเป็นเรื่องของเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใคร หรืออยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะมีความเชื่ออะไร หรือใช้ชีวิตแบบไหนก็ตาม สิทธิมนุษยชนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความยุติธรรม ความเท่าเทียม ความเคารพ และเสรีภาพนั้น เป็นสิ่งที่มิควรถูกพรากไปได้ โดยสิทธิมนุษยชนนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่แนวคิดที่เป็นนามธรรมเท่านั้น แต่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายด้วย

● อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
SDG Updates | Right to know สิทธิได้รู้ : การเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างไรต่อการบรรลุ SDGs 
SDG Updates | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ – เมื่อโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง กำหนดสถานะสุขภาพและอายุขัยของคุณไว้แล้วตั้งแต่ยังไม่เกิด – SDG Move 
นิวัฒน์ ร้อยแก้ว นักเคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์แม่น้ำโขง รับรางวัล Goldman Environmental Prize ประจำปี 2565 – SDG Move
รายงาน ILO เผยว่า ยังมีคนอีก 1.6 พันล้านคน ในเอเชียและแปซิฟิกที่ขาดการคุ้มครองทางสังคมด้านสุขภาพ – SDG Move

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
– (3.8) บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขจำเป็นที่มีคุณภาพ และเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ ในราคาที่สามารถซื้อหาได้
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
– (10.2) ให้อำนาจและส่งเสริมความครอบคลุมด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ ความบกพร่องทางร่างกาย เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ แหล่งกำเนิด ศาสนา หรือสถานะทางเศรษฐกิจหรือสถานะอื่น ๆ ภายในปี 2573
#SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง
– (16.7) สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ ครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความเป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ

แหล่งที่มา
2022 Gwangju Prize for Human Rights Winner Announcement   
‘หมอซินเธีย’ ได้รับรางวัล ‘กวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน’ ในฐานะผู้ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย | ประชาไท Prachatai.com 
BREAKING: มอบรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน ให้ ‘อานนท์ นำภา’ ทนายความและนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยไทย – THE STANDARD 

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ภายใต้โครงการเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพของประเทศไทย

Author

  • Knowledge Communication | มนุษย์ผู้เชื่อว่า “การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกของกันและกันได้” ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน หรือเผชิญกับอะไรอยู่ การสื่อสารจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่งไปให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้

Exit mobile version