Site icon SDG Move

ILO รายงานสภาพการทำงานภาคเกษตรไทย พร้อมชี้แรงงานข้ามชาติ ยังเผชิญการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม

อาชีพ ‘เกษตรกร’ นับว่าเป็นอาชีพที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างช้านานและมักถูกกล่าวถึงในฐานะอาชีพ ‘กระดูกสันหลัง’ สำคัญของเศรษฐกิจไทย แต่คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของคนทำงานกลับสวนทางกับสมญานามดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะแรงงานข้ามชาติ 

เมื่อเดือนพฤษภาคม (พ.ศ. 2565) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ได้เผยแพร่ “รายงานสภาพการทำงานและการจ้างงานในภาคเกษตรของประเทศไทย: การสำรวจแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในไร่อ้อย สวนยาง สวนปาล์ม และไร่ข้าวโพด” โดยหลายปีที่ผ่านมา ภาคการเกษตรของไทยมีจำนวนแรงงานที่ลดลงและมีแนวโน้มต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ กัมพูชา สปป. ลาว และเมียนมามากยิ่งขึ้น ในการเข้ามาช่วยเสริมความต้องการของตลาดแรงงานภายในประเทศที่นับวันยิ่งเผชิญกับภาวะขาดแคลนแรงงานทางการเกษตรเพิ่มขึ้น 

แม้ว่าแรงงานกว่า 12.7 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของแรงงานทั้งหมดในประเทศไทย ยังคงทำงานอยู่ในภาคการเกษตร แต่สภาวะการขาดงานที่มีคุณค่า (decent work) หรือ ขาดงานที่สามารถตอบสนองความต้องการเกี่ยวกับชีวิตการทำงาน เป็นสถานการณ์ที่แรงงานในภาคการเกษตรทั่วโลกต่างยังต้องเผชิญ รายงานฉบับนี้เริ่มศึกษาก่อนเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยสำรวจแรงงานข้ามชาติ 528 คน ที่ทำงานในด้านเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญกับการส่งออกของประเทศทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ ข้าวโพด ปาล์ม ยางพารา และอ้อย ซึ่งจากการสำรวจ พบว่า การถูกยกเว้นไม่ให้ได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บางประการส่งผลให้แรงงานข้ามชาติจำนวนมากในภาคการเกษตรของไทยได้รับค่าจ้างต่ำและต้องเผชิญกับสภาพการทำงานที่ยากลำบาก

สรุปสาระสำคัญข้อค้นพบของรายงาน – สภาพการทำงานและการจ้างงานในภาคเกษตรประเทศไทยของแรงงานข้ามชาติ (โดยสังเขป) ได้ดังนี้

จากรายงานดังกล่าว ถือเป็นการสะท้อนสภาพการณ์ของการจ้างงานแรงงานข้ามชาติในภาคการเกษตรของประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งยังคงพบช่องว่างในด้านนโยบายและการปฏิบัติจริง ที่จำเป็นจะต้องปรับปรุงแก้ไขอยู่หลายประการ เพื่อให้ครอบคลุมทุกมิติของการจ้างงาน โดยสิทธิแรงงานที่ยังคงต้องปรับปรุงนั้น มิใช่เพียงคำนึงว่าเป็นแรงงานไทยหรือแรงงานข้ามชาติ แต่เพียงหวังว่าแรงงานทุกคน ทุกสัญชาติ ที่ทำงานเพื่อหล่อเลี้ยงชีพ จะมีโอกาสได้รับการทำงานที่มีคุณค่า มั่นคง และปลอดภัยต่อการดำรงชีวิตของทุกคน

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
ILO ชี้ วิกฤติซ้อนวิกฤติแช่แข็งความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศพัฒนาน้อยที่สุด – SDG Move 
รายงาน ILO เผยว่า ยังมีคนอีก 1.6 พันล้านคน ในเอเชียและแปซิฟิกที่ขาดการคุ้มครองทางสังคมด้านสุขภาพ – SDG Move 
ข้อยกเว้นทางกฎหมายและการจ้างงานนอกระบบ อุปสรรคต่อการมีงานที่มีคุณค่าของแรงงานทำงานบ้าน – SDG Move 
ความพยายามขจัดการค้ามนุษย์ของไทยตกระดับมาที่ Tier 2 Watch List โดยที่ ‘การทุจริต’ เป็นหนึ่งในปัจจัยสกัดพัฒนาการ – SDG Move 
Dr. Marcella Nunez-Smith หัวหน้าทีมเฉพาะกิจด้านความเสมอภาคทางสุขภาพในยุคโควิด-19 ที่จะนำ ‘data-driven’ ให้ทุกคนและเชื้อชาติในสหรัฐฯ เข้ารับบริการสุขภาพได้อย่างถ้วนหน้า – SDG Move 
SDG Updates | โควิด-19 แพร่ระบาดไม่เลือกหน้า แต่ไทยให้ความช่วยเหลือครอบคลุมทุกคนในประเทศแล้วหรือยัง? 

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG1 ขจัดความยากจน
– (1.1) ภายในปี 2573 ขจัดความยากจนขั้นรุนแรงของประชาชนทุกคนในทุกพื้นที่ให้หมดไป ซึ่งในปัจจุบันความยากจนวัดจากคนที่มีค่าใช้จ่ายดำรงชีพต่ำกว่า $1.90 ต่อวัน
– (1.3) ดำเนินการให้ทุกคนมีระบบและมาตรการการคุ้มครองทางสังคมในระดับประเทศที่เหมาะสม รวมถึงการคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐานและบรรลุการครอบคลุมถึงกลุ่มที่ยากจนและเปราะบาง ภายในปี 2573
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
– (3.8) การมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขจำเป็นที่มีคุณภาพ และเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ ในราคาที่สามารถซื้อหาได้
#SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ
– (5.5) สร้างหลักประกันว่าผู้หญิงจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และมีประสิทธิผลและมีโอกาสที่เท่าเทียมในการเป็นผู้นำในทุกระดับของการตัดสินใจในเรื่องของการเมือง เศรษฐกิจ และกิจกรรมสาธารณะ
#SDG6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล
– (6.2) บรรลุเป้าหมายการให้ทุกคนเข้าถึงสุขอนามัยที่พอเพียงและเป็นธรรม และยุติการขับถ่ายในที่โล่ง โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อความต้องการของผู้หญิง เด็กหญิง และกลุ่มที่อยู่ใต้สถานการณ์ที่เปราะบาง ภายในปี 2573
#SDG8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
– (8.1) ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจต่อหัวประชากรมีความยั่งยืนตามบริบทของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของประเทศพัฒนาน้อยที่สุด มีการขยายตัวอย่างน้อยร้อยละ 7 ต่อปี
– (8.5) บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้มีภาวะทุพพลภาพ และให้มีการจ่ายที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน ภายในปี 2573
– (8.8) ปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงผู้ทำงานต่างด้าว โดยเฉพาะหญิงต่างด้าว และผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
– (10.3) สร้างหลักประกันว่าจะมีโอกาสที่เท่าเทียมและลดความไม่เสมอภาคของผลลัพธ์ รวมถึงการขจัดกฎหมาย นโยบาย และแนวทางปฏิบัติที่เลือกปฏิบัติ และส่งเสริมการออกกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติที่เหมาะสมในเรื่องนี้
#SDG11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
– (11.1) สร้างหลักประกันว่าทุกคนจะเข้าถึงที่อยู่อาศัยและการบริการพื้นฐานที่พอเพียงให้ปลอดภัย และในราคาที่สามารถจ่ายได้ และยกระดับชุมชนแออัด ภายในปี 2573

แหล่งที่มา:
รายงานสภาพการทำงานและการจ้างงานในภาคเกษตรของประเทศไทย: การสำรวจแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในไร่อ้อย สวนยาง สวนปาล์ม และไร่ข้าวโพด (ฉบับเต็ม) – ILO

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ภายใต้โครงการเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสุขภาพของประเทศไทย

Author

  • Knowledge Communication | มนุษย์ผู้เชื่อว่า “การสื่อสารสามารถเชื่อมต่อความรู้สึกของกันและกันได้” ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน หรือเผชิญกับอะไรอยู่ การสื่อสารจะช่วยบอกเล่าเรื่องราวส่งไปให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้

Exit mobile version